ข้อมูลโดย สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ
ศูนย์เยอรมันและยุโรปศึกษา
เครือข่ายวิชาการไร้พรมแดน
ขยายภาพ
(© Jan Greune)
ในฐานะสถาบันหลักเพื่อการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับประเทศเยอรมนีและ ยุโรป และเป็นกลไกขับเคลื่อนการสร้างนักวิชาการที่ล้ำหน้า ศูนย์เยอรมันและยุโรปศึกษา 15 แห่งใน 11 ประเทศได้ส่งเสริมการศึกษาวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวกับ เหตุการณ์ปัจจุบันโดยไม่จำกัดสาขา วัตถุประสงค์หลักของศูนย์เยอรมันฯ คือการสร้างผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่เกี่ยวกับประเทศเยอรมนีและยุโรปที่อุทิศตน เพื่อความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างนานาประเทศ โดยการผสมผสานความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การเมืองและการสาธารณะของประเทศตนเองในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเยอรมนีและ ยุโรป ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธ์สารณรัฐเยอรมนีรับหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก ผ่านองค์กรความร่วมมือแลกเปลี่ยนทางวิชาการ (DAAD) ในกรอบนโยบายต่างประเทศ
ขยายภาพ
(© Jan Greune)
สิบเอ็ดประเทศ สิบห้าเมืองมหาวิทยาลัยชั้นนำจากปารีสถึงโตเกียว รวมพลังสร้างเครือข่ายศูนย์เยอรมันและยุโรปศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนหลักจาก มหาวิทยาลัยในแต่ละประเทศซึ่งเป็นที่ตั้ง นอกจากนี้ เยอรมนียังให้การสนับสนุนทางการเงินในช่วงสิบปีแรกของการก่อตั้งศูนย์ฯ จากงบประมาณด้านวัฒนธรรมและการศึกษาของกระทรวงการต่างประเทศ โดยศูนย์เยอรมันฯ แต่ละแห่งจะมีความชำนาญ ลักษณะเฉพาะทางวิชาการและหัวข้อหลักในการวิจัยแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความชำนาญที่หลากหลาย ศูนย์เยอรมันฯ นี้ยังคงความเป็นเอกภาพผ่านทางภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นภาษาทางการและลักษณะร่วมกันหลายประการ โดยลักษณะร่วมที่สำคัญที่สุดคือ วัตถุประสงค์ของศูนย์ ที่ต้องการสร้างนักวิชาการรุ่นใหม่ให้มีความรู้เกี่ยวกับประเทศเยอรมนีและ ยุโรปเป็นอย่างดี เป็นการรับประกันความร่วมมืออันแน่นแฟ้นระหว่างเยอรมนีและประเทศพันธมิตร ศูนย์เยอรมันฯ มีหน้าที่อุทิศตนเพื่อการค้นคว้าและศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมุ่งเน้นหัวข้อวิจัยที่ทันสมัย สามารถเชื่อมโยงกับรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์รวมทั้งภาษาและวรรณคดีเยอรมันเข้าด้วยกัน มุมมองที่เปิดกว้างไม่จำกัดสาขานี้ ทำให้การทำงานของศูนย์ฯ มีความสนุกสนาน น่าตื่นเต้นและน่าสนใจ
รูปแบบสหวิชาเช่นนี้ ดึงดูดนักวิชาการรุ่นใหม่มากมาย ศาสตราจารย์เบียงกา คูห์เนลผู้อำนวยการศูนย์เยอรมันศึกษา จากมหาวิทยาลัยฮิบรู กรุงเยรูซาเล็มเผยว่า “นักศึกษาให้ความสนใจกับสาขานี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่คนที่ไม่เคยข้องเกี่ยวกับประเทศเยอรมนีมาก่อนเลย ยุโรปมีความสำคัญต่ออิสราเอลมาก ดังนั้น ศูนย์เยอรมันและยุโรปศึกษาจึงสำคัญสำหรับเรา เนื่องจากวิชาการเป็นรากฐานสำคัญของความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น” ศาสตราจารย์คริสทอฟ รุคนีวิชนักประวัติศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์วิลลี-บรันด์ (WBZ) ในกรุงวรอตซวาฟก็ต้องการให้ศูนย์ฯ “มีบทบาทในการสานสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและโปแลนด์ เพราะเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะไม่ทำงานกันเฉพาะบนโต๊ะทำงาน” นอกจากการค้นคว้าและศึกษาแล้ว ศูนย์วิลลี-บรันด์ในโปแลนด์ ยังให้ความสำคัญต่อการถ่ายทอดวิชาการและการให้คำปรึกษาทางการเมืองอีกด้วย
ขยายภาพ
(© Jan Greune)
ศูนย์ CIERA-Centre interdisciplinaire d’etudes et de recherches sur l’Allemagne ในกรุงปารีสมีบทบาทสำคัญเป็นพิเศษในฐานะศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยและศูนย์ วิจัยสิบแห่งของฝรั่งเศส ด้วยหลักสูตรปริญญาเอกสหศาสตร์ที่ล้ำหน้า ทำให้ CIERA พัฒนาตัวเองเป็นกลไกทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศส ศาสตราจารย์มิชาเอล แวร์เนอร์ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ยังทึ่งกับศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญเยอรมันที่ CIERA สร้างขึ้น โดยกล่าวว่า “การแบ่งแยกรัฐชาติต่างๆ ไม่มีความหมายสำหรับคนรุ่นใหม่เหล่านี้อีกต่อไป พวกเขาสามารถพูดได้สองหรือสามภาษา พัฒนาอัตลักษณ์ของตนเป็นชาวยุโรปและสามารถรับบทบาทที่สำคัญในกระบวนการถ่าย ทอดวิชาการทุกรูปแบบได้เป็นอย่างดี” กล่าวอีกนัยหนึ่ง พวกเขาคือคนรุ่นใหม่ ผู้ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ความรู้ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายของผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์เยอรมันฯ เหล่านี้นั่นเอง
บทความ: ยาเน็ท ชายาน/สำนักพิมพ์ Societäts
สถิติและข้อมูล
ปัจจุบัน
DAAD เป็นผู้ให้การสนับสนุนศูนย์เยอรมันและยุโรปศึกษา 15 แห่งทั่วโลก
ตั้งแต่ปี ค.ศ.
1991มีศูนย์และโครงการสหศาสตร์เกี่ยวกับเยอรมันและยุโรปศึกษาที่ได้รับการ
สนับสนุนรวมทั้งสิ้น 18แห่ง//
ศูนย์เยอรมันและยุโรปศึกษาในสหรัฐอเมริกาแห่งแรก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี
ค.ศ.1991//
ศูนย์เยอรมันและยุโรปศึกษาแห่งใหม่ล่าสุดทั้งสองแห่งในอิสราเอลก่อตั้งขึ้น
เมื่อปี ค.ศ. 2007// เยอรมนีให้การสนับสนุนศูนย์ฯ
เหล่านี้สำหรับช่วงสิบปีแรกของการก่อตั้งเป็นจำนวนเงินกว่า
250,000ยูโรต่อปี
ขยายภาพ
(© Jan Greune)
จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
30 ตุลาคม 2013
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น