ข้อมูลโดย ครูเศรษฐ
ทีม วิจัยที่มหาวิทยาลัย York ในนคร Toronto ประเทศแคนาดา วิเคราะห์ประวัติทางการแพทย์ของคนไข้ 228 รายที่คลีนิครักษาโรคความจำเสื่อมแห่งหนึ่ง เปรียบเทียบกับความสามารถทางด้านภาษาของแต่ละคน
คนไข้เหล่านี้ถูกแพทย์วินิจฉัยแล้วว่ามีอาการโรคความจำหรือเชาว์ปัญญาเสื่อม หรือเป็นโรค Alzheimer’s
ผล การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ที่รู้เพียงภาษาเดียวต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการบำบัดรักษาอาการโรค Alzheimer’s หรือความจำเสื่อม เร็วกว่าผู้ที่รู้อย่างน้อยสองภาษาขึ้นไปถึงสี่ปี
แต่นักวิจัยย้ำว่า การรู้ภาษามากกว่าคนอื่นๆ มิได้ป้องกันหรือชลอการเป็นโรค หากแต่ช่วยบรรเทาอาการของโรค ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าเป็นเพราะการพูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาขึ้นไปนั้น เกี่ยวโยงกับความสามารถของสมองในการควบคุมส่วนของสมองที่ทำงานในด้านการรับ รู้และเรียนรู้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นความสนใจ ซึ่งผู้ที่พูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาขึ้นไปต้องสามารถทำได้ เมื่อเปลี่ยนการพูดจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง
นักวิจัยยังไม่แน่ ใจว่า การเรียนรู้ภาษาที่สองนั้น มีกำหนดหรือไม่ว่าจะต้องเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย หรือเรียนตอนอายุมากๆได้ และก็ยังไม่รู้ด้วยว่า จะต้องสามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่ว และพูดทุกวันหรือเปล่า
ทำให้มีข้อสรุปได้หนึ่งข้อในชั้นนี้ กล่าวคือ ผู้อยู่ในวัยทอง หรือที่คิดว่าอยู่ในวัยทองที่ตั้งหน้าตั้งตาทำปริศนาอักษรไขว้ หรือเลขไขว้ เพื่อกันอาการสมองเสื่อมนั้น ควรจะหันมาเรียนภาษาต่างประเทศกันดีกว่า เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุ และไม่ต้องตั้งเป้าสูง เรียนพอแค่สั่งอาหารได้ ช็อปปิ้งได้ ก็พอแล้ว
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
18 สิงหาคม 2012
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น