Santiago de Chile
เมืองนักบุญเตียโก้ แห่งประเทศชิลี (San ภาษาสเปน แปลว่า "นักบุญ") ข้อมูลโดย wikipedia และ thaiembassychile.org
ซาน เตี้ยโกะ เด ชิเล เป็นเมืองหลวงของประเทศชีิลี ซึ่งเกือบสามศตวรรษแล้ว
ที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้เปลี่ยนให้ซาน เตี้ยโกะ เป็นเขตนครหลวงที่สมัยใหม่ที่สุดแห่งหนึ่งในลาตินอเมริกา
VIDEO
พร้อม ๆ กับการพัฒนาเขตชานเมืองอย่างกว้างขวาง ศูนย์การค้าหลายสิบแห่ง
และสถาปัตยกรรมที่น่าประทับใจ
รวมทั้งมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของลาตินอเมริกาเป็นที่
เชิดหน้าชูตา เช่น ซาน เตี้ยโกะ เมโทร (Santiago Metro) และระบบใหม่
"โกสตาเนรา นอร์เต (Costanera Norte - ชายฝั่งทางตอนเหนือ)" เป็นระบบขนส่งของย่านกลางกรุง
เชื่อมระหว่างด้านตะวันออกสุดไปด้านตะวันตกสุดของเขตเมืองภายในเวลา 15 นาที
ประวัติความเป็นมา
กรุงซาน เตี้ย โกะ เป็นเมืองหลวงของประเทศชิเล และ เป็นเมืองใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศ มีพลเมืองอาศัยอยู่มากกว่า 6 ล้านคน ซาน เตี้ย โกะ ตั้งอยู่บนความสูง 543 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
อยู่ในเขตภาคกลางของประเทศที่เป็นที่ราบในหุบเขาของเทือกเขา อันเดส
ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 40 กิโลเมตร
และอย่างจากชสยฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเพียง100 กิโลเมตร
กรุงซา น เตี้ยโกะ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1541 โดยเปโดร เด บัลดิเบีย ( Pedro de Valdivia) นายทหารชาวสเปน ซึ่งเป็นชาวยุโรปที่เดินทางมาถึงที่นี่ บัลดิเบียได้ขี่ม้าขึ้นไปบนเนินเขาที่มีชื่อว่าอูเล็น ( Huelen) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นซันตาลูเซีย ( Santa Lucia) และมองลงมาจะเห็นแม่น้ำมาโปโช ( Mapocho) กับทิวทัศน์ของหุบเขาที่งดงาม จึงตกลงใจสร้างเมืองขึ้น โดยตั้งชื่อว่า ซา น เตี้ยโกะ เดล นวยโบ เอกซ์เตรโม ( Santiago del Nuevo Extremo) ตามชื่อนักบุญ ซา น เตี้ยโกะ หรือเซนต์เจมส์ ผู้คุ้มครองสเปน ส่วนเอกซ์เตรโม มาจากชื่อเมืองเอกซ์เตรมาดูรา ( Extremadura) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา โดยในครั้งแรกมีบ้านเรือนเพียง 200 หลัง ประชากรชาวสเปน 700 คน และคนรับใช้กับคนงานอีก 1 ,000 คน นอกจากนี้ผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานยังต้องเผชิญกับการคุกคามของชาวอาราวกาเนียน ( Araucanian) ซึ่งเป็นเจ้าของถิ่นดั้งเดิม
สถาปัตยกรรม
อาคารยุคแรกของกรุง ซา น เตี้ยโกะ ออกแบบโดยเปโดร เด กัมบัว ( Pedro de Gamboa) สถาปนิกชาวสเปนที่มีชื่อเสียง โดยมีการวางผังเมืองเป็นอย่างดี สถาปัตยกรรม ดั้งเดิมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ ได้แก่ พลาซา เด อาร์มัส ( Plaza de Armas) หรือจตุรัสกลางเมือง ศาลาว่าการเมือง ( Cabildo) ทำเนียบผู้ว่าการเมือง สภาเมือง วิหารใหญ่ ( Cathedral) รวมทั้งอาคารที่พัก ร้านค้า และตลาด
ในยุคอาณานิคม ระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17
กรุง ซา น เตี้ยโกะ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
และได้มีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสำคัญได้แก่ ลา โมเนดา ( La Moneda) ซึ่งปัจจุบันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี และทำเนียบรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทำการไปร ษณีย์กลาง ในรูปแบบนีโอคลาสสิก
สิ่งสำคัญซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวอาณานิคมได้แก่ศาสนา กรุง ซา น เตี้ยโกะ เองก็มีการสร้างวิหาร โบสถ์ และสำนักคอนแวนต์ เป็นจำนวนมาก
รวมทั้งมหาวิทยาลัยในความดูแลของคณะสงฆ์ ตามแบบสถาปัตยกรรมของสเปน
กรุง ซา น เตี้ยโกะ เคยเผชิญอุบัติภัยจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในปี 1647
ซึ่งทำลายอาคารเก่าแก่อันงดงามพังทลายลงเป็นจำนวนมาก
และเมื่อเริ่มศตวรรษที่ 19
ซันติอาโกก็กลายเป็นสมรภูมิของสงครามประกาศเอกราช
ระหว่างกองทัพประชาชนกับกองทหารอาณานิคมของสเปน
ซึ่งยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายกู้เอกราช และตามมาด้วยการสถาปนา ระบบสาธารณรัฐ สถาปัตยกรรมในยุคนี้มีความทันสมัยและเป็นอิสระทางความคิดขึ้น
ปัจจุบัน กรุง ซา น เตี้ยโกะ มีประชากรกว่า 6 ล้านคน
และเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ทั่วไป ที่เต็มไปด้วยตึกสูง อาคารที่กรุกระจก
การจราจรที่คับคั่ง ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ประชากรจำนวนมาก
และมลพิษต่าง ๆ แต่กรุงซา น เตี้ยโกะ ก็ยังคงมีเสน่ห์ในตัวเอง ทั้งภูมิประเทศ
สถาปัตยกรรมเก่า และเรื่องราวในอดีต ให้ค้นหาและชื่นชม
นอกจากนี้ กรุงซา น เตี้ยโกะ ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทสำคัญหลายแห่งและเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของภูมิภาคอีกด้วย
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
27 กุมภาพันธ์ 2013