ทุกวันนี้... ผู้คนพยายามจะอธิบายทุกสิ่งทุกอย่าง
แต่ถ้าใครสามารถอธิบาย "ภาพเขียน" ได้ ภาพนั้นก็จะ
ไม่เป็นงานศิลป์อีกต่อไป ...ผมจะบอกให้นะว่า
"คุณสมบัติ" อะไรที่สำคัญสำหรับงานศิลปที่สำหรับงานศิลปที่แท้จริง?
ภาพเขียนต้องไม่สามารถอธิบายได้...
มิอาจลอกเรียนแบบได้...
งานศิลปต้องจับคนดูไว้
โอบล้อมเขาและนำพาเขาล่องลอยไป
ศิลปินจะใช้ภาพเขียนเป็นเครื่องมือสื่ออารมณ์ของเขา...
เป็นพลังอันเริงเริงที่เขาเปล่งรัศมีออกมา
และดึงดูดผู้ชมให้สัมผัสอารมณ์ของเขา
แต่ถ้าใครสามารถอธิบาย "ภาพเขียน" ได้ ภาพนั้นก็จะ
ไม่เป็นงานศิลป์อีกต่อไป ...ผมจะบอกให้นะว่า
"คุณสมบัติ" อะไรที่สำคัญสำหรับงานศิลปที่สำหรับงานศิลปที่แท้จริง?
ภาพเขียนต้องไม่สามารถอธิบายได้...
มิอาจลอกเรียนแบบได้...
งานศิลปต้องจับคนดูไว้
โอบล้อมเขาและนำพาเขาล่องลอยไป
ศิลปินจะใช้ภาพเขียนเป็นเครื่องมือสื่ออารมณ์ของเขา...
เป็นพลังอันเริงเริงที่เขาเปล่งรัศมีออกมา
และดึงดูดผู้ชมให้สัมผัสอารมณ์ของเขา
ปิแยร์ โอกูสตฺ เรอนัวร์ (Pierre-Auguste Renoir)
ระหว่างวัยเยาว์นั้นเรอนัวร์เดินเข้าออกในพิพิธภัณฑ์ลูฟด้วยความชื่นชอบผลงานของศิลปินฝรั่งเศสในอดีตหลายคนเช่น วาโต บูแชร์ และฟราโกนาร์ด ระหว่างปี 1870 ระหว่างเกิดการเคลื่อนไหวอันสำคัญของศิลปินหัวก้าวหน้าที่ต้องการบันทึก เรื่องราวในสังคมที่เกิดในปัจจุบันและใช้สีสันที่สดใสกว่าภาพของศิลปินในอดีต โดยการนำของศิลปินรุ่นพี่ที่สำคัญอันได้แก่ มาเนและกูรเบท์ในปี 1862 เรอนัวร์ตัดสินใจเข้าศึกษาศิลปะอย่างจริงจังที่สถาบันศิลปะ ดิเอธิเลียเกลอร์ [TheAtelier Gleyre] ได้รู้จักกับเพื่อนร่วมสถาบันได้แก่ โมเน ซิสลี และบาซิลี
ภายหลังได้รวมหัวกันลาออกเพื่อศึกษาแนวทางศิลปะตามความเชื่อของตัวเอง ผลงานของเรอนัวร์ระยะแรกได้รับิอิทธิพลจากศิลปินรุ่นพี่คือกูรเบท์และมา เนเรอนัวร์รับเทคนิคการวาดภาพด้วยใบมีดจากกูรเบท์ภายหลังเขาได้พัฒนาเป็น เอกลักษณ์ของตัวเอง ในปี 1860 เรอนัวร์ยากจนมากไม่มีเงินแม้จะซื้อสีระหว่างปี 1866-1867 ผลงานของเขาถูกปฏิเสธจากกรรมการซาลอง แต่อีกสองปีต่อมาผลงานของเขาชื่อ Lise
เรอนัวร์พยายามพัฒนาเทคนิคการวาดภาพโดยการศึกษาจากศิลปินรุ่นพี่อีกหลายคน เช่นเดอลากรัว และกามีร์โกโร โดยเฉพาะเทคนิคของเดอลากรัวเห็นชัดเจนจากภาพของเขาชื่อ โอดาลิสก์ [Odalisque, 1870]
ในปี 1869 เรอนัวร์ออกไปวาดภาพนอกสถานที่เคียงคู่กับโมเนที่สถานตากอากาศริมแม่น้ำเซน ผลงานยุคนี้เริ่มเข้าสู่เอกลักษณ์ของลัทธิประทับใจนักวิจารณ์ศิลปะชื่อ โฟเบ พูล [Phoebe Pool]ได้เขียนบันทึกไว้ว่า "เขาคือเรอนัวร์และโมเนที่ได้ค้นพบว่าในเงามืดไม่ได้เป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ อย่างที่ศิลปินในอดีตเคยวาด แต่เป็นสีที่เกิดจากสีแวดล้อม แต่สีในตัววัตถุย่อมเปลี่ยนแปลงตามแสงที่เรามองเห็น ซึ่งเกิดจากการสะท้อนจากสีในวัตถุอื่น ๆ หรือเกิดจากการตัดกันของสีข้างเคียง ปี 1874 เรอนัวร์ได้ร่วมนิทรรศการผลงานอิมเพรสชั่นนิสม์ร่วมกับเพื่อนศิลปิน คนอื่น ๆ ตั้งแต่ปี 1870เป็นต้นมาผลงานเรอนัวร์ได้รับความสนใจจากนักสะสมหลายคน ผลงานของเขาเริ่มขายได้และได้รับวาดภาพครอบครัวของนักสะสมเหล่านี้หลายภาพ เช่นภาพของครอบครัวชาร์เพนเทียร์ [The Charpentiers]
ระหว่างนี้เรอนัวร์ได้สร้างผลงานที่บันทึกชีวิตผู้คนในอิริยาบทที่กำลังพัก ผ่อน หรือกำลังรื่นเริงตามสถานบันเทิง ที่รู้จักกันมากที่สุดคือภาพชื่อ งานบอลล์ที่มูแลงเดอกาเล [The Swing and The Ball at The Moulinde Gallette]
เรอนัวร์ได้แสดงภาพความงดงามของผู้คนในงานรื่นเริงเหล่านี้โดยเฉพาะภาพ ผู้หญิงสวยที่อวดเนื้อหนังที่ขาวอวบสมบูรณ์งดงาม ตั้งแต่ปี 1880 เป็นต้นมาเรอนัวร์พยายาพัฒนาสไตล์ของตัวเองที่แปลกแยกกว่าแบบอิมเพรสชั่น นิสม์เดิม ภาพระยะหลังส่วนใหญ่เป็นภาพผู้หญิงที่เน้นรูปทรงและเส้นรอบนอกที่ชัดเจนซึ่ง เขาได้รับอิทธิพลจากศิลปะแนวคลาสิกโดยเฉพาะผลงานของราฟาเอลซึ่งเรอนัวร์ชื่น ชมภายหลังที่ได้เดินทางไปชมงานที่อิตาลี ผลงานในยุคสุดท้ายภายหลังปี1880 เป็นต้นมาผลงานส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความงามของสตรีเพศในอิริยาบท ต่าง ๆ เช่น ภาพผู้หญิงเปลือย ภาพผู้หญิงอาบน้ำ ผู้หญิงอ่านหนังสือ
ผลงานในยุคนี้นับว่าเรอนัวร์ประสบผลสำเร็จอย่างสูงทั้งทางด้านชื่อเสียงและ ทางการเงิน ผลงานหลังปี 1903 มีลักษณะฝีแปรงที่หยาบรูปทรงของผู้หญิงมีทรวดทรงอวบอ้วนเกินพอดีเหตุมาจาก โรคไขข้ออักเสบ จนมือไม่สามารถจับพู่กันเขาต้องใช้เศษผ้ามามัดพู่กันกับมือ เรอนัวร์เสียชีวิตวันที่ 3 ตุลาคม 1919 ที่เมืองคาเยสเซอร์เมอร์
นับว่าเรอนัวร์ได้พยายามต่อสู้เพื่อสร้างสรรค์งาน ศิลปะ ต่อสู้กับความจนแม้จะได้รับชัยชนะเขาต้องมาสู้กับสุขภาพของตัวเองสุดท้ายก็ ต่อพ่ายแพ้ต่อสังขาร แต่ชัยชนะของเขาคือผลงานของเขาชื่อ มาดามยอร์จ ชาร์เพนเทีย ทางรัฐบาลซื้อเพื่อนำมาแสดงถาวรที่พิพิธภัณฑ์ลูฟตั้งแต่เขายังมีชีวิต
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
15 ตุลาคม 2012
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น