วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หนู ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร

     หนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ฟันแทะ ขนาดเล็ก ออกลูกคราวละมากมาย เมื่อพูดถึงมัน ก็มีความเห็นหลากหลาย บางคนก็ว่ามันเป็นพาหะนำโรคบ้าง เป็นสัตว์ทดลองบ้าง เป็นสัตว์เลี้ยงที่ดูน่ารักน่าเอ็นดูบ้าง แต่คราวเราลองมาดูกันว่า หนูในภาษาตะวันตกพูดว่าอะไรกันบ้าง

ภาษาสเปน                      Ratón (ราโตน) หนูตัวผู้ , Rata (ร้าตะ) หนูตัวเมีย
ภาษาโปรตุเกส               Rato (คราตู)
ภาษาอิตาลี                     Ratto (รัตโตะ)
ภาษาฝรั่งเศส                  Rat (ครา)
ภาษาเยอรมัน                  Ratte (รัทเทอะ)
ภาษารัสเซีย                    Крыса (กรือสะ)
ภาษากรีก                       Αρουραίος (อารูไรโอส)

ข้อมูลจาก kapook.com
          
           แกสบี้เป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาเป็นร้อย ๆ ปี เชื่อกันว่า หนู คาปิบาร่า เป็นต้นตระกูลของหนูแกสบี้ มีลักษณะตัวใหญ่ และขนสั้นหยาบมาก

           มีความเชื่อว่า หนู แกสบี้ เริ่มอัพเลเวลจากสัตว์ป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยงระหว่าง 9,000 และ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อชนชาวพื้นเมืองในอเมริกาใต้ คือพวกอินคา ใช้เนื้อของแกสบี้เป็นอาหาร โดยนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพื่อใช้ประกอบอาหาร และเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา


           ต่อมาหนูแกสบี้ ก็ย้ายสำมะโนครัวไปยุโรปโดยชาวดัตช์มากว่า 300 ปีแล้ว และนับจากนั้นมาหนูแกสบี้ก็ถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงและเป็นอาหาร มีการคัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้ลักษณะสวยงาม และสีสันใหม่ ๆ เพื่อการประกวดมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระหว่างและหลังปี ค.ศ. 1600 หนูแกสบี้เป็นที่นิยมมากในเหล่าขุนนางและขนชั้นสูงของยุโรป แม้กระทั่งพระนางเจ้าเอลิชาเบธที่ 1 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ก็ยังทรงเลี้ยง ๆ ไว้ดูเล่น

           ในราวศตวรรษที่ 19 ชาวอังกฤษก็ได้อพยพเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้นำเอาหนูแกสบี้ที่ได้เพาะพันธุ์และมีพัฒนาจนมีความสวยงาม ย้อนกลับเข้าไปในทวีปอเมริกาเหนือจนเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ มาจนปัจจุบัน โดยได้มีการจัดตั้งสมาคมของผู้เลี้ยงหนูแกสบี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1910 ที่รู้จักกันดีในนามของ สมาคมผู้เพาะพันธุ์หนูกินนี่พิกแห่งอเมริกา (American Cavy Breeders Association หรือ ACBA) ในปัจจุบันยังมีมาตรฐานทางยุโรปอีกที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายใน สมัยแรก ๆ แกสบี้มีลักษณะขนที่สั้นและหยาบ ในไทยคิดถึงหนูขวัญ หนูตะเภาบ้านเราในสมัยก่อนก็ได้ ที่ขนเส้นใหญ่และหยาบ เทียบได้กับไม้กวาดบ้าน แต่สมัยนี้ แม้แต่ขนหนูขวัญ และตะเภาก็นิ่มขึ้นแล้วนะคะ 



           บรีดเดอร์บ้านเราเอาแกสบี้ไปลงผสมค่ะ แต่จะด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ไม่ทราบ แต่ปัจจุบันนี้ หนูขวัญและหนูตะเภา มีโครงสร้างที่ใหญ่มากขึ้น และสีสันสวยงามมากขึ้นไม่แพ้แกสบี้

           แกสบี้ในสมัยแรก ๆ ก็มีขนเส้นใหญ่พอ ๆ ก็หนูขวัญบ้านเราเลยค่ะ แต่กาลเวลาที่ผ่านไปหลายร้อยปี ยีนมีการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดยีนด้อยออกมาตัวหนึ่ง ซึ่งทำให้หนูขนหยาบ ๆ ธรรมดากลายเป็นหนูขนไฟเบอร์งามวิ๊บวับขึ้นมาได้ในสมัยก่อนที่หลินจะเกิด หรือเกิดมาแล้ว แต่ตายแล้วเกิดใหม่มาเป็นทาสคุณหนูในชาตินี้ก็ไม่รู้ การที่ได้หนูซาตินแต่ละตัว เรียกได้ว่า หายากมาก ๆ ถือเป็นของแปลก ก็แน่ล่ะใครเห็นชาติตัวจริง รับรองเงาติดตากลับไปนอนฝันถึงเลยล่ะ การที่จะได้มาแต่ละตัวถือว่าฟลุกมาก และยังขาดองค์ความรู้ในการพัฒนาสายพันธุ์ให้ดีพอ


           บรีดเดอร์สมัยก่อนโน่น คาดว่าก่อนเมนเดล บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ จะค้นพบเรื่องยีนเด่น ยีนด้อยมีความเชื่อว่า ต้องเอาซาตินผสมกับซาติน เท่านั้นถึงจะได้ซาติน ซึ่งที่จริงก็ไม่ผิดอะไร เพราะยีนซาตินเป็นยีนด้อย เมื่อนำยีนด้อยลงผสมด้วยกัน ก็ต้องได้ยีนด้อยเท่านั้น แต่ผลปรากฏว่า ลูกหนูซาตินที่ได้จากพ่อแม่ที่เป็นซาตินทั้งคู่มักได้ โครงสร้างที่เล็ก ตัวเล็ก และมันอายุไม่ยืน หรือสุขภาพไม่แข็งแรง จึงทำให้หนูตินไม่เป็นที่นิยมกันมากและทำได้ยาก เพราะผสมได้น้อย

           สมัยใหม่กับองค์ความรู้ที่ได้พัฒนามา ทำให้รู้ว่า เราสามารถทำหนูขนซาตินได้จากการผสมหนูซาตินกับหนูขนธรรมดา ได้หนูลูกครึ่งที่เราเรียกว่า “สปริทย์ซาติน” ซึ่งโดยจะมีลักษณะขนนิ่ม เงางาม มากขึ้น และการนำหนูสปริทย์ไปลงผสมกับหนูซาติน หรือหนูสปริทย์ด้วยกันเอง ก็มีโอกาสได้ซาตินที่มีโครงสร้างและมีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น


จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56 
กลุ่ม "รวมบาป"
20 พฤศจิกายน 2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น