ข้อมูลโดย Wikipedia
ภาษาสเปน Buitre (บุ้ยเตระ)
ภาษาโปรตุเกส Vulture (วุลตู้รี)
ภาษาอิตาลี Vulture (วุลตู้เหระ)
ภาษาฝรั่งเศส Vautour (โวตูครฺ)
ภาษาเยอรมัน Geier (ไกเยอร์)
ภาษารัสเซีย Стервятник (เซตรียเวียนิก)
ภาษากรีก Γύπας (ยี้ปาส)
ในวัฒนธรรมและความเชื่อของนกแร้ง
นกแร้งในความเชื่อของมนุษย์ แทบทุกวัฒนธรรมจะถือว่าเป็นนกที่อัปมงคล เพราะพฤติกรรมที่กินซากศพและรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดน่ากลัว ในความเชื่อของคนไทย แร้งเป็นนกที่นำมาซึ่งความอัปมงคลเช่นเดียวกับนกแสก เมื่อสมัยอดีต ประเพณีการปลงศพในบางพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญหรือในบางวัฒนธรรม บางครั้งจะทิ้งซากศพไว้กลางแจ้ง มักจะมีแร้งมาเกาะคอยรอกินศพอยู่บริเวณรอบ ๆ นั้นเสมอ ๆ และเมื่อครั้งที่เกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างร้ายแรง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในพระนคร การเผาศพทำไม่ทัน จนต้องมีศพกองสุมกันที่วัดสระเกศ มีแร้งลงมาจิกกินเป็นที่น่าสังเวชแก่ผู้พบเห็น จนมีคำกล่าวว่า "แร้งวัดสระเกศ" คู่กับ "เปรตวัดสุทัศน์"
แต่ในบางวัฒนธรรม แร้งก็มีความหมายที่แตกต่างออกไป เช่น ในสมัยอียิปต์โบราณ อักษรเฮียโรกริฟฟิกที่เป็นอักษรภาพตัวหนึ่ง (ในภาพ) หมายถึง "แม่" ในวัฒนธรรมของทิเบต มีพิธีศพที่เรียกว่า "การฝังศพกับฟากฟ้า" ที่ญาติผู้ตายจะให้สัปเหร่อนำร่างผู้ตาย ไม่ใส่โลง ไม่ใส่เสื้อผ้า ทำพิธีสวดมนต์ส่งวิญญาณ ก่อนที่สัปเหร่อจะหามร่างของผู้ตายขึ้นไปบนภูเขาสูง พร้อมใช้มีดแล่เนื้อของผู้ตายเป็นชิ้น ๆ แล้วให้แร้งกิน เชื่อว่าแร้งจะเป็นผู้นำทางวิญญาณผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์
ปัจจุบัน แร้งแทบทุกชนิดตกอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์และหายาก เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ประเพณีการปลงศพก็ไม่ได้ทำอย่างในอดีต ทำให้แร้งจำนวนหนึ่งต้องตายลงเนื่องจากไม่มีอาหารกิน และในอนุทวีปอินเดีย แร้งหลายตัวต้องตายลงเนื่องจากไปกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น