ขอขอบคุณข้อมูลจาก Blog Dr.Tham
นักเศรษฐศาสตร์ที่โด่งดังขึ้นมาได้จากการบัญญัติคำศัพท์ง่ายๆ แต่มีความหมายขึ้นมา จนชาวโลกสามารถจดจำได้นั้นมีอยู่แทบนับคนได้ หนึ่งในนั้นที่เกือบทุกคนจะนึกถึงเป็นท่านแรกๆ ได้แก่ ร็อคเกอร์แห่งวงการเศรษฐศาสตร์การเงิน นาม Dr.Jim O'neill อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ จากธนาคาร Goldman Sachs
ผลงานหนังสือเล่มล่าสุดของเขาที่มีชื่อว่า The Growth Map กล่าวถึงการมองย้อนกลับไปหลังจากที่เขาให้กำเนิดชื่อย่อสุดฮิต BRICs มากว่า 10 ปี
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับการอ่านให้ได้ไอเดียของบทบาทกลุ่มประเทศ BRICs ในทศวรรษนี้ รวมถึงยังจับตาดูม้ามืดกลุ่มประเทศใหม่ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาตนเองขึ้นมาใกล้เคียงกับรุ่นพี่อย่าง BRICs อีกด้วย
Jim O'neill เปิดฉากหนังสือเล่มนี้ด้วยการชี้ให้เห็นถึงสองปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการแปลงสภาพ
ของประเทศจาก กำลังพัฒนา ไปสู่ ประเทศที่พัฒนาแล้ว อันได้แก่
โครงสร้างของประชากร และ ผลิตภาพหรือประสิทธิภาพในการผลิตของประเทศ โดยเขาแนะนำให้มองข้ามปัญหา ระยะสั้นเช่น การเมือง หรือ การขาดการพัฒนาสาธารณูปโภคไปก่อน เพราะท้ายสุดแล้ว จำนวนประชากรที่มากกว่า จะยังเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุด
เริ่มจากปัจจัยแรก จากการที่จำนวนประชากรของ BRICs ทั้งหมด มี
อยู่เกือบครึ่งหนึ่ง ของประชากรโลกนั้น ทำให้นาย O'neill เชื่อว่าสิ่งนี้
ถือเป็นความได้เปรียบหรือแต้มต่อชนิด ที่ประเทศอื่นๆไม่สามารถลอกเลียนได้
โดยชี้ให้เห็นว่าเพียงแค่ประเทศจีนและอินเดีย หากมีประสิทธิภาพในการผลิตเพียงแค่หนึ่งในสี่ของสหรัฐ
เศรษฐกิจของทั้งคู่ก็จะโตทันสหรัฐแล้ว นอกจากนี้เขายังมองว่าการที่
ยุโรปต้องเสียแชมป์ทางเศรษฐกิจให้กับสหรัฐในช่วง 50 ปีนี้
ส่วนใหญ่ก็เนื่องจากจำนวนประชากรของยุโรปน้อยกว่าของสหรัฐนั่นเอง
ที่เห็นได้ชัดล่าสุด ร้านกาแฟ สตาร์บัคส์ ได้ประกาศว่าจีนจะเป็นประเทศที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทเป็นอันดับสอง รองจากสหรัฐในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยเหตุผลของการเป็นตลาดที่ใหญ่มาก แม้จำนวนสาขา ของร้านจะยังมิได้ขยายไปทั่วประเทศเลยก็ตาม
ปัจจัยที่สอง ได้แก่ ประสิทธิภาพหรือผลิตภาพในการผลิต
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างสูง กับปัจจัยแรก
โดยนาย O'neill ย้ำว่าประสิทธิภาพของประเทศต่างๆทั่วโลก ไม่ได้วัดกันที่สินค้าทุนหรือเทคโนโลยี แต่จะแตกต่างกันด้วยจำนวนประชากรในแง่ที่ว่า
ใครจะมีประชากรวัยทำงานมากน้อยกว่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเวลาที่มี
การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี โดยนาย O'neill ฟันธงว่าในปี 2050
จีนจะแซงหน้าสหรัฐเป็นประเทศ ที่มีขนาดเศรษฐกิจโตเป็นอันดับหนึ่งของโลก พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตว่าอินเดียและบราซิลในช่วงปี 2050 จะมาแรงกว่าประเทศอื่น เนื่องจากมีประชากรวัยทำงานอยู่เยอะที่สุด
หนังสือเล่มนี้ มีจุดเด่นตรงที่ สร้างกลุ่มดัชนีที่เรียกว่า Growth Environment Score (GES)
สำหรับใช้ประเมินกลุ่มประเทศที่จะเป็นม้ามืดหลัง BRICs
ด้วยการแบ่งดัชนีออกเป็น 2 กลุ่ม คือ หนึ่ง กลุ่มที่ใช้วัดเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ สองดัชนีที่เกี่ยวข้องกับ คุณภาพประชากร อันได้แก่ จำนวนการใช้โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ท การศึกษา อายุขัยของประชากร และ กฎหมาย ซึ่งจากผลของการร่อน ตะแกรงดังกล่าว
ปรากฎว่า มีกลุ่มประเทศคัดสรรจากภูมิภาคต่างๆทั่วโลกซึ่งจะเจริญรอยตาม BRICs ที่เรียกว่า Next Eleven (N-11) ได้แก่ เม็กซิโก
จาก ทวีปละตินอเมริกา ตุรกี จาก ชายแดนของเอเชียและยุโรป
อียิปต์และอิหร่านจากตะวันออกกลาง ไนจีเรียจากแอฟริกา และ
หกประเทศจากเอเชีย ได้แก่ บังคลาเทศ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ปากีสถาน
ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม ซึ่งนาย O'neill คิดว่า อินโดนีเซีย เม็กซิโก ตุรกี
และเกาหลีใต้ น่าจะมีโอกาส มากกว่าเพื่อนที่จะสามารถขยับขึ้นมาร่วมแถวเดียวกับ BRICs ได้
สำหรับในมุมของการให้น้ำหนักแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ น่าสังเกตว่า มุมมองของนาย O'neill จะมุ่งไปที่เศรษฐศาสตร์แบบ Supply-side
ซึ่งมุ่งเน้นความเพียงพอของปริมาณทรัพยากร
เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของโลก
รวมถึงเน้นถึงการมองหาความได้เปรียบของปริมาณอุปสงค์
ที่จะมาใช้ในการสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว
เพื่อชิงความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
ต้องยกเครดิตให้กับนาย O'neill ที่สามารถมอง
การณ์ไกลกว่า 10 ปี จนมาถึงวันนี้ BRICs ได้มีการประชุมภูมิภาคเป็นของตนเอง
จนกระทั่งมีการตั้งธนาคารในกลุ่มของตนเอง ตามคำแนะนำของนาย Robert Zoellick ประธานธนาคารโลกคนปัจจุบันที่กำลังจะครบวาระ
จอมณรงธร ศรีิอริยนันท์ (ตี๋)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น