ข้อมูลโดย moohin.com
ภาษาสเปน Oso (โอ้โสะ)
ภาษาโปรตุเกส Urso (อู้รฺสุ)
ภาษาอิตาลี Orso (โอรฺโสะ)
ภาษาฝรั่งเศส Ours (อูครฺ)
ภาษาเยอรมัน Bär (แบร์)
ภาษารัสเซีย Медведь (มิดหวิด)
ภาษากรีก Αρκούδα (อารฺกูดะ)
ข้อมูลโดย http://karn.tv
หมีขั้วโลก เป็นนักล่าแห่งดินแดนขั้วโลกเหนือที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพชีวิตกลางน้ำแข็ง ธรรมชาติสร้างให้หมีขาวแตกต่างจากหมีพันธุ์อื่น คือ มีขนคลุมอุ้งเท้า นิ้วเท้าสั้น เล็บโค้งงอเพื่อ ให้ยึดน้ำแข็งได้อย่างมั่นคง ในขณะเดียวกันก็มีท่อนขาขนาดใหญ่เพื่อเฉลี่ยน้ำหนักมหาศาล เพื่อสามารถเดินบนน้ำแข็งบางๆ ได้ มีถิ่นที่อยู่บริเวณอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ แต่ไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน พบในอลาสกา แคนาดา รัสเซีย เดนมาร์ก (กรีนแลนด์) และนอร์เวย์ เป็นสัตว์สปีชีส์หนึ่งของโลกที่กำลังถูกคุกคาม ปัจจุบันหมีขั้วโลกมีจำนวนประมาณ 22,000-27,000 ตัว อยู่ในแคนาดามากที่สุดคือราว 15,000 ตัว ซึ่งการดำรงชีวิตให้อยู่รอดในแถบอาร์กติกที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ทำให้สัตว์หลายๆ ชนิดใช้เวลายาวนานในการวิวัฒนาการจนมีขนสีขาว หรือเปลี่ยนสีขนในฤดูหนาวจนกลมกลืนกับหิมะ ซึ่งเป็นการพรางตัวที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และหาอาหาร
โดยเฉพาะหมีขั้วโลก ที่ใช้เวลาประมาณ 2 แสนปี พัฒนา และมีวิวัฒนาการจากหมีสีน้ำตาลมาเป็นหมีขาวในทุกวันนี้
หมีขั้วโลก
Oso polar (โอ้โสะ โปลาร์)
Urso polar (อูรฺโสะ โปลาครฺ)
Orso bianco (โอรฺโสะ เบี้ยงโกะ)
Ours blanc (อูครฺ บลอง)
Polarbär (โพลารฺแบ)
Белый медведь (เบี้ยลลือ มิดหวิด)
Πολική άρκτος (โพลิกี้ อ้ารฺกโตส)
ข้อมูลโดย คลังปัญญาไทย
หมีเเพนด้า คือสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน
ชอบกินใบไผ่ ลักษณะที่โดดเด่นของ หมีแพนด้า คือมีขนสีดำและสีขาว บริเวณหัว คอ ตะโพก
จะมีสีขาว ส่วนรอบๆ ตาทั้งสองข้าง หู ไหล่ ขาหน้า และขาหลังจะมีสีดำ
หัวของหมีแพนด้าจะใหญ่กว่า เมื่อเทียบกับสัดส่วนของตัว หมีชนิดอื่นๆ
เท้าหน้ามี 6 นิ้ว พร้อมที่จะกางกว้างออกเมื่อปะทะกัน หรือปีนต้นไม้
ส่วนมากหมีแพนด้าจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ยกเว้นหมีแพนด้าแม่ลูกอ่อน
ในช่วงฤดูกาลให้นมลูก หมีเพศผู้จะต่อสู้กัน เพื่อแย่งเข้าไป หากลุ่มแม่หมี จำนวนลูกที่คลอดออกมาในแต่ละครั้ง จะมีเพียง 1-3 ตัว โดยปกติจะมีชีวิตรอดเพียงตัวเดียว มีวิธีดึงดูดเพศตรงข้ามสามวิธี วิธีแรก จีบด้วยกลิ่น โดยแพนด้าจะใช้ก้นถู ๆ ตามโคนต้นไม้
ก้อนหิน และบนพื้นให้กลิ่นติด และโชยไปแตะจมูกฝ่ายตรงข้าม
หรือวิธีที่สองจีบด้วยเสียงเพลง โดยขึ้นไปร้องเพลงรักไม่ซ้ำแบบบนต้นไม้บ้าง
บนพื้นบ้าง เพื่อดึงดูดความสนใจของอีกฝ่าย เพลงยอดฮิตก็คือ
เลียนเสียงร้องของนก หรือเสียงแพะ และวิธีการจีบกันจะแสดงออกด้วยท่าทาง
โดยบางตัวอาจแสดงออกด้วยอาการหงุดหงิด อยู่ไม่สุข กัดกิ่งไม้บ้างตามประสา
ฝากรอยข่วนไว้ตามต้นไม้ เพื่อให้เตะตาฝ่ายตรงข้าม
เมื่อทั้งสองต่างปิ๊งกันก็เข้าหอกันในทุ่งกว้างตามเชิงเขา
ก็มีบางตัวที่หนีขึ้นไปบนต้นไม้
ภาษาสเปน โปรตุเกส และอิตาลี ใช้คำว่า "Panda" (ปั๊นดะ)
ภาษาฝรั่งเศส Panda (ปองดะ)
ภาษาเยอรมัน Panda (พันดะ)
ภาษารัสเซีย Панда (ปันดะ)
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
13 ธันวาคม 2012
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น