ภาษาโปรตุเกส Circo (ซีรฺกุ)
ภาษาอิตาลี Circo (ซีรฺโกะ)
ภาษาฝรั่งเศส Cirque (ซีครฺเกอะ)
ภาษาเยอรมัน Zirkus (เซอร์คุส)
ภาษารัสเซีย Цирк (ซือรฺค)
ภาษากรีก Τσίρκο (ทีรฺโกะ)
ข้อมูลโดย เปิดโลกพิศวง
ในระหว่างประเภทมหรสพต่างๆนั้น คงไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่ไปกว่า ละครสัตว์
เพราะนอกจากจะมีสัตว์ แสนรู้หลากหลายชนิดมาสร้างความบันเทิงให้เราดูแล้ว
ก็ยังมีนักแสดงโลดโผนที่เก่งกาจ มีตัวตลกที่โผล่หน้ามาทีไรได้หัวร่อ งอหาย
มีการใช้อุปกรณ์ประกอบมากมาย จนการที่คณะละครสัตว์เรียกตนเองว่าเป็น การแสดง ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก (The Greatest Show on Earth)
คงไม่ผิดไปจากความจริงเท่าใดนัก
ถ้างั้น เรามารู้จักประวัติและเรื่องราวของพวกเขากันบ้างดีมั้ยครับ
ด้วย
เหตุนี้แหละครับ พอออกจากทหารเขาจึงแต่งงานกับ สาวลอนดอน
ซึ่งก็ชำนาญการขี่ม้าเช่นกัน ทั้งสองซื้อม้าตัวเล็กๆ แต่แสนรู้ ชื่อ
บิลลีย์ แล้วหาที่ทางกว้างๆ จัดการปักเสาสี่มุมขึงเชือก พาดกั้นเป็นวง
จากนั้นก็เปิดการแสดงโชว์ขี่ม้า โดยแต่ละบ่าย
เขาจะขี่ม้าอยู่บนสะพานแลมเบ็ธ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสนาม
แล้วป่าวร้องประกาศการแสดง พร้อมกับชี้ดาบไปยังสนามโชว์
ซึ่งก็มีผู้สนใจไปดูพอประมาณ
พอ
ได้รับความนิยม แอสตลีย์ก็เพิ่ม การแสดงเข้าไปอีก โดยเริ่มมี ตัวตลก
มาประกอบ มีนักแสดงกายกรรมโลดโผน จนกระทั่งการแสดงของเขา เรียกเต็ม
ปากว่าเป็น ?ละครสัตว์? ที่แท้จริงได้
ปี
ค.ศ.1778 เขาได้สร้างแอสตลีย์-แอมพิเธียเตอร์ขึ้นในลอนดอน
เพื่อเปิดแสดงอย่างถาวร ซึ่งโรงมหรสพแห่งนี้โด่งดัง
เป็นตำนานอย่างหนึ่งของวงการละครสัตว์
หากทว่า แอสตลีย์ไม่เคยเรียกการแสดง ของเขาว่า ?เซอร์คัส? (ที่ใช้เรียก ละครสัตว์ทุกวันนี้) แต่เป็น ชาร์ลส์ ฮิวส์ ซึ่ง เป็นเจ้าของคณะโชว์ที่โด่งดัง ไม่แพ้กัน โดยเขาใช้ชื่อคณะว่า ?รอแยล เซอร์คัส (ROYAL CIRCUS)? เมื่อเปิดการแสดงในปี ค.ศ.1782
ยิ่ง
นานวัน ก็ยิ่งมีการแสดงแบบอื่นๆเพิ่มขึ้น อาทิ การไต่เชือก การต่อตัวโลดโผน
การโยนสิ่งของสลับมือ (juggling) และมีบันทึกว่า ในปี ค.ศ.1791
ได้มีการนำเอาเสือมาร่วมแสดง โดยลากรถไปรอบๆสังเวียน แต่ดูเหมือนว่า
อีตอนนั้น ไม่ใช่เสือจริงหรอกครับ แต่เป็นมนุษย์ที่แฝงอยู่ในหนังเสือ
พอ
ย่างเข้าศตวรรษที่ 19 มีคณะละครสัตว์ใหญ่ๆ ถือกำเนิดขึ้นในอเมริกา เช่น
พี.ที. บาร์นัม (P.T. Barnum) ซึ่งได้นำเอามนุษย์พิกลพิการแปลกๆมา โชว์
ที่ลือลั่นที่สุดก็คือมนุษย์จิ๋ว ชาร์ลส์ แสตรท- ตัน ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ
?นายพลทอม ธัมบ์? นอกจากนี้ก็มีคณะของ เจมส์ เบลีย์ (James Bailey) ซึ่ง
ตอนที่เขาแห่ขบวนพาเหรดก่อนแสดงไปตามถนนในนิวยอร์ก ปี ค.ศ.1881 นั้น
มีม้าร่วมขบวนถึง 350 ตัว ช้าง 20 เชือก อูฐ 14 ตัว นักแสดง 400 คน
และวงดนตรีเครื่องเป่าอีก 4 วง มโหฬารตระการตาอย่างยิ่ง
แต่
ทั้งสองคณะนี้ ภายหลังไปไม่รอดครับ ต้องมายุบรวมกับคณะละครสัตว์เจ้าใหม่
ริงกลิง (Ringling Circus) กลายเป็นคณะ Ringling Brothers and Barnum &
Bailey อันยิ่งใหญ่และยืนยงมาถึงปัจจุบันนี้
เมื่อ
เป็นคณะแสดงมโหฬาร จะไปเปิด แสดงที่ไหนทีก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากวุ่นวาย
ดังนั้น จึงต้องมีการบริหารจัดระเบียบ ที่ดีในการขนย้าย ก็ราวๆกับการยกทัพ
นั่นแหละครับ คณะแสดงใหญ่ๆ นี้จะมีขบวนรถไฟของ ตนเอง
แต่ละโบกี้จะมีโต๊ะยาวสองข้าง ด้านบนวางโปสเตอร์โฆษณาและผ้าใบ
ด้านล่างเป็นพวกอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีแท็งก์นํ้าไว้ดื่มไว้ใช้
มีการส่งทีมแรกออกไปก่อน หนึ่งหรือสองวัน เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์
ซึ่งถ้าหากเมืองที่ไปนั้นมีคณะอื่น ไปเปิดแสดงก่อนหน้านี้
ก็ต้องส่งทีมไปปลดแผ่นโฆษณาขาดๆ วิ่นๆเดิมนั้นออก และปิดใบโฆษณาของเราไปแทน
สำหรับ
คณะแสดงนั้น มักเดินทางมาถึงราวตีห้า ทีมแรกเป็นพวกเต็นท์ อาหารและเสบียง
ทีมกระโจมใหญ่จะเดินทางหลังจากนั้นราวหนึ่งชั่วโมง
จัดการปักหลักตั้งเสากางกระโจม พอเสร็จสรรพคณะแสดงกับสัตว์ต่างๆก็มาถึงราว 8
โมงครึ่ง จัดแจงวางตั้งกรงสัตว์ ตั้งเก้าอี้นั่งชม กางกระโจมแต่งตัว
ห้าโมงครึ่งทุกอย่างเรียบร้อย กินอาหารกลางวัน
แล้วเปิดแสดงรอบแรกเวลาบ่ายสองโมงครึ่ง พอใกล้จะเลิกแสดงตอนห้าโมงเย็น
เต็นท์อาหารที่กางเป็นเต็นท์แรกก็จะรื้อถอนแล้วแพ็กขึ้นรถไฟ
ถัดมาคือคณะแสดงประกอบ ซึ่งพอคณะแสดงหลักในกระโจมใหญ่จบการแสดง เต็นท์
เล็กเต็นท์น้อยทั้งหลายก็หายไปหมดแล้ว
และในระหว่างที่ทั่นผู้ชมเดินออกยังไม่ทันพ้นโรง
กระโจมใหญ่ก็เริ่มรื้อถอนแล้ว
ก็
เป็นชีวิตประจำวันของคณะละครสัตว์ที่เหน็ดเหนื่อยเอาการ
และทุกคนต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ เพื่อให้การทั้งหลายลุล่วงทันเวลา
วันไหนที่ไม่ได้เปิดแสดงก็ไม่ได้ว่างหรอกครับ ต้องฝึกฝนสัตว์
หรือนักแสดงห้อยโหนก็ต้องฝึกตนตลอดเวลา นอกจากนั้น
การเดินทางโยกย้ายก็ยังอาจประสบอุบัติเหตุ เช่นว่า ในปี ค.ศ.1994 ไม่ถึง 10
ปีมานี่เอง ขบวนรถไฟของคณะริงกลิงฯพลิกควํ่าที่ฟลอริดา ผู้แสดงตาย 2 คน
ส่วนเรื่องกระโจมพัง หรือสัตว์ร้ายหลุดนั้นนับไม่ถ้วนครับ
ทีนี้ เรามาดูการแสดงภายใต้กระโจมใหญ่กันมั่ง
ถัด
มาก็คือนักแสดงบนพื้น (Ground Act) พวกนี้ประกอบด้วยนักตีลังกาหกหน้าหกหลัง
นักโยนข้าวของสลับมือ นักกล้ามพลังมหาศาล
ซึ่งพวกหลังนี้จะเป็นเรี่ยวแรงในการขนของ โยกย้ายได้อย่างเยี่ยมครับ
แล้ว
ก็มีนักแสดงกับเชือกและเส้นลวด
โดยแรกๆนั้นก็เป็นการเดินทรงตัวบนเชือกที่ผูกโยง ไว้สูงลิ่ว
มีการทำท่าเหมือนจะร่วงลงมาให้คนดู วี้ดว้าย เสียวไส้เล่น
ส่วนเส้นลวดนั้นเริ่มมีใช้ในราวปี ค.ศ.1830 สำหรับการแสดงที่มีนํ้าหนักมากๆ
อย่างเช่น ขี่แมงกะไซค์ไต่ลวด เป็นต้น
รายการ
ที่สร้างความเสียวไส้ให้คนดูมากที่สุด ก็คือการห้อยโหนโยนรับตัวกลางอากาศ
(Flying Trapeze) ทั่นผู้อ่านที่เคยดูภาพยนตร์ เรื่อง ?THE TRAPEZE?
คงจำได้นะครับ ที่มีฉากไอ้หนุ่มโทนีย์ เคอร์ติส
แกว่งชิงช้าอากาศตีลังกากลับตัวสามรอบ ให้เบิร์ต แลงคาสเตอร์
รับโดยไม่มีตาข่ายรองเบื้องล่าง ตื่นเต้นสุดๆ
เมื่อ
ประสาทเขม็งจากการแสดงห้อยโหนแล้ว ก็ต้องคลายเครียดด้วยทีมตลก (clowns)
ซึ่งจะขาดเสียมิได้ ที่จริงนักแสดงตลกนั้นมีความสามารถเชี่ยวชาญในหลายๆด้าน
สร้างเสียงหัวเราะเบิกบานให้กับเด็กๆ แค่เห็นหน้าก็ฮาตึงแล้ว
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
22 ธันวาคม 2012
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น