วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สิงโต ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร

สิงโต สัตว์กินเนื้อที่ได้รับฉายาจากคนว่าเป็นจ้าวป่า เพราะตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาวดูมีสง่าราศี แต่ตัวเมียจะไม่มีขนคอและมีขนาดเล็กกว่า ไม่มีลาย ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง จัดอยู่ในต้นตระกูลเดียวกันกับแมว เวลาหาอาหารจะเป็นหน้าที่ของสิงโตตัวเมีย ส่วนตัวผู้มีหน้ารอกินอย่างเดียว และได้กินก่อนด้วย (แมนมาก) ปัจจุบันมีจำนวนน้อยลง อย่างน่าใจหาย สาเหตุสำคัญก็มาจากคนนั่นแหละ ที่ออกล่าเพื่อเป็นกีฬา หรือนำชิ้นส่วนของสิงโตมาประดับบ้าน หรือนำไปขาย หรือจับมาแสดงละครสัตว์ หลายคนบอกว่า สิงโตเป็นสัตว์อันตราย แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า คนนี่แหละ เป็นสัตว์ที่สร้างความเสียหาย และอันตรายต่อสิ่งเเวดล้อมได้มากที่สุด
 
ภาษาสเปน                              León (เลโอน)
ภาษาโปรตุเกส                       Leão (เลอาว)
ภาษาอิตาลี                             Leone (เลโอ้เหนะ)
ภาษาฝรั่งเศส                         Lion (ลียง)
ภาษาเยอรมัน                         Löwe (ลือเหวอะ)
ภาษารัสเซีย                           Лев (เลียฟ)
ภาษากรีก                               Λέων (แอโอน)
  
 รายงานโดย Jennifer Lazuta เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท

ประชากรสิงโตในแอฟริกาลดลงมากกว่า 60% ส่วนหนึ่งเพราะถูกมนุษย์ล่าแต่นักวิชาการบอกว่ายังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มอนุรักษ์อย่างจริงจัง

อาจารย์ Stuart Pimm นักวิชาการกล่าวว่าการลดลงของจำนวนสิงโตเกิดขึ้นในสัดส่วนใกล้ๆกันกับการลด ลงของพื้นที่อาศัยของสัตว์ในทุ่งหญ้า Savannah

การศึกษาที่เผยแพร่สัปดาห์นี้พบว่าจำนวนประชากรสิงโตในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาลดลงถึง 2 ใน 3 ขณะที่จำนวนพื้นที่ที่อยู่อาศัยของสัตว์ในทุ่งหญ้า Savannah ลดลง 75% ในช่วงใกล้ๆกัน

อาจารย์ Pimm กล่าวว่าการลดลงของพื้นที่เขต Savannah เกิดขึ้นโดยที่หลายคนไม่ค่อยได้สังเกตเพราะ Savannah กว้างใหญ่ไพศาลมาก เท่าๆกับครึ่งหนึ่งของทวีปอเมริกาที่เป็นแผ่นดินใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปมารู้อีกทีน่าตกใจว่าทุ่งหญ้า Savannah เหลือเพียงแค่ 25%

สถานการณ์น่าเป็นห่วงมากขึ้นเมื่อมีการคาดการณ์ว่าประชากรของคนในแอฟริกาจะ เพิ่มเป็น 2 เท่าภายในปี ค.ศ. 2050 เพราะจะมีการขยายพื้นที่เมืองและพื้นที่การเกษตร

อาจารย์ Pimm กล่าวว่า ขณะนี้ยังสามารถวางยุทธศาสตร์เพื่อช่วยหยุดยั้งการลดจำนวนสิงโตได้ โดยใช้ข้อมูลดิบ เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งชาวบ้านสามารถใช้เทคโนโลยีง่ายๆเพื่อป้องกันไม่ให้ สิงโตเข้าทำร้ายปศุสัตว์ของคนในพื้นที่ และช่วยให้คนกับสิงโตอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
 

นอกจากนั้นคนในพื้นที่ควรเข้าใจด้วยว่าบริเวณใดที่ใกล้สิงโตจะดึงดูดนักท่อง เที่ยวและเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน


จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป" 
23 ธันวาคม 2012
 


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น