มด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่ง มีอยู่ในทุกที่ในโลก ไม่เว้นแม้ในบ้านคน มีขนาดเล็กมาก อยู่รวมกันเป็นฝูง ช่วยกันหาอาหาร มีวินัยสูง แบ่งหน้าที่กันทำอย่างชัดเจน เช่น มดงาน , มดทหาร และนางพญามด ซึ่งเป็นตัวเมียทั้งหมด ส่วนมดตัวผู้มีไว้ทำพันธุ์และก็ตาย มักได้รับการนำไปเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความขยัน มีทั้งชนิดที่กัดคน เช่นมดแดง , มดคันไฟ และไม่กัดคน เช่นมดดำ เป็นสัตว์ที่กินได้ทุกอย่างในโลกนี้ ไม่เว้นแม้แต่พวกเดียวกัน และเช่นเคย คนก็ยังอุตสาห์จับมันมากินทั้งตัว ทั้งไข่ของมัน
ภาษาสเปน Hormiga (โอรฺมิกะ)
ภาษาโปรตุเกส Formiga (โฟรฺมิกะ)
ภาษาอิตาลี Formica (โฟรฺมิกะ)
ภาษาฝรั่งเศส Fourmi (ฟูหมิ)
ภาษาเยอรมัน Ameise (อาไมเสอะ)
ภาษารัสเซีย Муравей (มู่ราเวีย)
ภาษากรีก Μυρμήγκι (มีรฺมิกกิ)
นางพญามด มีอายุยืนที่สุด มดงานจะมีอายุราว 6-7 ปี แต่มดนางพญาสามารถออกลูกได้แม้เมื่ออายุ 10 ปี มดนางพญา ยิ่งอายุยืน ยิ่งเป็นผลดีต่ออาณาจักรมด เพราะเมื่อนางพญามดตาย อาณาจักรมดนั้นจะูสูญสิ้นตาม มดตัวอื่นจึงให้ความสำคัญต่อมดนางพญามาก พากันเก็บซากมดนางพญาที่ตายแล้วไว้จนกระทั่งไม่ค่อยมีซากเหลือ และในที่สุด อาณาจักรมดนั้นก็แตกสลายลงเอง เพราะไม่มีมดงานและมดทหารทดแทนส่วนที่ล้มตายไป
Hormiga reina (โอรฺมิกะ เรยฺหนะ)
Formiga-rainha (โฟรฺมิกะ ไฮนหยะ)
Formica regina (โฟรฺมิกะ เรจิหนะ)
Reine des fourmis (เครฺเหนอะ เด ฟุคมี)
Ameisenkönigin (อาไมเซนคูนนิเกิ่น)
Королева муравьев (การาเลี้ยหวะ มูราเวียฟ)
Βασίλισσα μυρμήγκι (วาซี้ลิสสะ มีรฺมิกกิ)
ข้อมูลโดย สุทัศน์ ยกส้าน
มดเป็นแมลงชนิดหนึ่งในตระกูล Formicidae เราพบเห็นมดในทุกหนแห่ง นอกจากใน
ทวีปแอนตาร์กติกาที่มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี มดเป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถหลายด้าน
และมีพฤติกรรมที่น่าสนใจมาก ถึงระดับที่ทำให้มันเป็นสัตว์ที่คนสนใจศึกษามากที่สุด
ถึงแม้มดจะมีน้ำหนักตัวเบาเมื่อเทียบกับคนก็ตาม แต่ถ้าเราชั่งน้ำหนักของมดทั้งโลก
เราก็จะพบว่ามันมีน้ำหนักพอๆ กับคนทั้งโลกทีเดียว
นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่ามดมีวิวัฒนาการจากแมลงดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตเป็นกา
ฝากตามตัวแมลงชนิดอื่น และถือกำเนิดเกิดมาบนโลกเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว
แต่ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมานี้ D. Agosti แห่ง American Museum of Natural History ที่ New York ในสหรัฐอเมริการและคณะได้รายงานว่าเขาได้
พบซากฟอสซิล ของมดที่มีอายุถึง 92 ล้านปี ซึ่งนับว่าดึกดำบรรพ์กว่าที่คิดเดิมถึง 2 เท่าตัว
ในยางสนของต้นไม้ต้นหนึ่งในรัฐ New Jersey สหรัฐอเมริกา ซากมดที่เขาพบนี้เป็นซากของ
มดงานตัวเมีย 3 ตัว และตัวผู้ 4 ตัว มดกลุ่มนี้มีอวัยวะและต่อมาของร่างกายที่ชัดเจนว่าเป็น
มด เช่น มีต่อม metapleural ที่ทำหน้าที่ขับสารปฏิชีวนะออกมาเพื่อปกป้องมดมิให้เป็น
อันตรายจากการถูกจุลินทรีย์คุกคาม จึงทำให้มันสามารถดำรงชีพอยู่ใต้ดินหรือตามต้นไม้ที่
เน่าเปื่อยได้สบายๆ และยังใช้สารเคมีที่ขับออกมาจากต่อมนี้ในการติดต่อสื่อสารถึงกัน อันมี
ผลทำให้มันเป็นสัตว์สังคมที่ดีที่สามารถ ในที่สุด Agosti และคณะจึงคาดคะเนว่า มดคงถือ
กำเนิดเกิดมาบนโลกเมื่อ 130 ล้านปีก่อน ซึ่งยุคนั้นเป็นยุคที่นักธรณีวิทยาเรียกว่ายุค
Cretaceores และเป็นยุคที่ไดโนเสาร์ยังครองโลกอยู่ แต่มดก็มิได้มีบทบาทสำคัญทันทีทันใด
มดเริ่มมีความหลากหลายทางชีวภาพในยุคต่อมาคือยุค Tertiary คือ เมื่อไดโนเสาร์สูญพันธุ์
ไปจนหมดสิ้นแล้ว ปัจจุบันมดมีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลกมาก โดยเฉพาะในบริเวณ
เขตร้อนของโลกป่าดงดิบ ในเขตนี้จะขาดมดไม่ได้เลย
นักชีววิทยาได้ศึกษาธรรมชาติของมดมานานกว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว และได้พบว่ายิ่ง
ศึกษามดมากขึ้นเพียงใด เขาก็ยิ่งทึ่งในความสามารถของมันมากขึ้นเพียงนั้น เมื่อ 5 ปีก่อน
นี้ B.Holldobler และ E.O. Wilson ได้เขียนวรรณกรรม The Ants บรรยายธรรมชาติของมด
ตั้งแต่วิวัฒนาการตลอดจนพฤติกรรมทุกรูปแบบของมดจนทำให้หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัล
pulitzer ของอเมิรกา และใครที่อ่านหนังสือเล่มนี้มักจะคิดว่ามนุษย์รู้จักมดดีแล้วแต่ความ
จริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเรากำลังได้รับความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับมดอยู่ตลอดเวลา เช่น
C.Errand แห่งมหาวิทยาลัย Paris ได้เคยรายงานไว้ในวารสาร Animal Behavior เมื่อ 2 ปี
ก่อนนี้ว่า มดที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกันจะมีความสนิทสนมกันและคุ้นเคยกันโดยอาศัย
กลิ่นจากสารเคมี pheromone ที่มดขับออกมาจากร่างกาย เพราะหลังจากที่ได้ทดลองเลี้ยง
มดให้อยู่ด้วยกันนาน 3 เดือน แล้วจับแยกกันนาน 18 เดือน มันก็ยังจำเพื่อนของมันได้
ส่วนมด Formica selysi นั้น Errand ก็ได้พบว่าตามธรรมดาเป็นมดกาฝากที่ชอบเกาะมด
อื่นๆ กิน ราชินีของมดพันธุ์นี้มักจะใช้ความสามารถในการปลอมกลิ่นบุกรุกเข้ารังมดพันธุ์อื่น
แล้วฆ่าราชินีมดเจ้าของรัง จากนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชินีมดเจ้าของรัง จากนั้นก็
สถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชินีแทน แล้วบังคับมดงานทั้งหลายให้ทำงานสนองความต้องการ
ของตนเองทุกรูปแบบ
เมื่อไม่นานมานี้นักชีววิทยากลุ่มหนึ่งได้ศึกษามด Polygerus ที่ทำรังอยู่ตามลุ่มน้ำ
อะเมซอนในบราซิล และได้พบว่ามดพันธุ์นี้มีความเชี่ยวชาญในการล่าทาสมาก คือเวลามัน
ทำสงครามมดชนะมันจะบุกเข้ายึดรังมดที่แพ้สงครามแล้วจับมดทาสที่ประจำอยู่ในรังนั้นมา
เป็นทาสรับใช้มัน จากนั้นมันจะขนไข่มดที่แพ้สงครามกลับไปพักที่รังมันทันทีที่ไข่สุกลูกมด
ใหม่จะมีจิตใจเป็นทาสยินยอมรับใช้มด Polygerus โดยไม่ต้องสั่ง มดทาสนั้นตามปกติมีฐานะ
ทางสังคมต่ำสุด มันจึงไม่มีสิทธิ์สืบพันธุ์ใดๆ ดังนั้นเวลามดทาสตาย มดนายก็ต้องออก
สงครามเพื่อล่ามดทาสมารับใช้มันอีก เพราะถ้าไม่ออกศึกหาทาสมันก็จะอดอาหารตายเมื่อ
มีมดทาสแล้ว วันๆ มันจะนั่งอ้อนขออาหารจากมดทาสตลอดเวลา
ส่วนมด Aolenopsis invicta ซึ่งเป็นมดคันไฟที่มีชีวิตอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และขณะนี้กำลัง
คุกคามผู้คนและที่อยู่อาศัยในทวีปอเมริกาเหนืออยู่ R. Hickling แห่งมหาวิทยาลัย Mississippi ในสหรัฐอเมริกา ได้พบว่ามันสามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงและกลิ่นได้ โดยเขาได้ถ่ายภาพมดชนิดนี้และบันทึกเสียงของมดและเขาได้พบว่าเวลามดตกใจมันจะส่ง
เสียงดังหรือเวลาศัตรูปรากฏตัวให้เห็นอย่างทันทีทันใดมันก็จะส่งเสียงอื้ออึงเหมือนกัน
เพราะเหตุว่าเสียงเดินทางได้เร็วกว่าโมเลกุล Pheromone ของกลิ่น ดังนั้นมดจะใช้เสียง
เฉพาะในกรณีสำคัญๆ เท่านั้น
|
ส่วนมด Pheidole palidula เวลาถูกศัตรูข่มขู่จะโจมตี มันจะสร้างไข่อ่อนที่จะให้กำเนิด
มดทหารมากกว่าปกติเพื่อมาปกป้องรังของมัน ให้รอดพ้นจากการถูกโจมตีและเมื่อใดที่มด
วรรณะหนึ่งๆ ถูกศัตรูฆ่าตายหมดทุกตัวแล้วมดวรรณะอื่นก็จะเข้ามาทำหน้าที่แทนและนั่นก็
หมายความว่ามดชนิดนี้เปลี่ยนวรรณะทางสังคมของมันได้เมื่อมีความจำเป็น |
การที่มดมีการแบ่งชั้นวรรณะเช่นนี้ ได้ทำให้นักชีววิทยาบางคนคิดว่า มดเป็นสัตว์ที่มี
สติปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่งกว่าลิง การมีสติปัญญาที่สูงในสมองที่เล็กนี้ได้ทำให้มันมีวัฒนธรรม
หนึ่งที่ประเสริฐยิ่งกว่าคน คือความรู้สึกสามัคคีทุกหมู่เหล่าของมดเพราะสังคมมดเป็นสังคม
สหชีวิตที่ชีวิตทุกชีวิตมีความหมายต่อทุกชีวิตอื่น อย่างที่เรียกกันว่า altruism ที่สังคมคนไม่มี
ครับ
นอกจากนี้มดยังจำทิศทางได้เป็นอย่างดี นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ศึกษาถึงวิธีการที่มดจำทิศทางกลับไปยังแหล่งอาหาร โดย
วางกรวยสีดำสูงประมาณ 10 เซนติเมตรบนโต๊ะ และวางน้ำตาลไว้ใกล้ๆ มดแต่ละตัวจะถูก
ปล่อยให้ออกจากรังเพื่อไปยังน้ำตาลตัวละเที่ยว เขาพบว่าขณะกลับรังหลังจากพบน้ำตาลแล้ว
มดจะหันหลังไปดูกรวยสีดำ และน้ำตาลบ่อยๆ เมื่อกลับมาที่น้ำตาลอีกครั้งมดจะเดินมาใน
แนวทางเดิม
เนื่องจากมดมีสมองที่เล็กมาก (น้อยกว่า 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร) การมองเห็นไม่ดี ระบบ
การมองเห็นเป็นแบบง่ายๆ ตาของมดไม่สามารถหมุนรอบได้ ดังนั้นภาพที่ตกบนจอรับภาพ
(เรตินา) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวมดเมื่อหยุดมองสิ่งที่สังเกตมดจะจำวัตถุนั้นๆ ได้อย่างที่ตา
เคยมองเห็น ถ้าเห็นวัตถุนั้นอีกแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมอื่น มดจะจำวัตถุนั้นไม่ได้ เมื่อให้มด
ไปยังน้ำตาลและกลับรังหลายๆ ครั้ง มดจะหาสิ่งที่เป็นสังเกตมากขึ้น มดที่รู้แหล่งอาหารแล้ว
เมื่อจะกลับไปที่แหล่งอาหารอีกก็จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่าฟีโรโมนไปตามทางที่เกิน เพื่อให้
มดที่เหลือนั้นตามไปได้ถูกทาง มดที่เดินตามโดยอาศัยฟีโรโมนก็หาสิ่งที่เป็นสังเกตสำหรับ
ตนเองเช่นกัน ทำให้ในการไปแหล่งอาหารครั้งต่อไปทำได้เร็วขึ้น
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
2 ธันวาคม 2012
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น