ข้อมูลโดย Wikipedia
ภาษาโปรตุเกส Cavalo (กาฟาลู)
ภาษาอิตาลี Cavallo (กาวั้ลโหละ)
ภาษาฝรั่งเศส Cheval (เชอวัล)
ภาษาเยอรมัน Pferd (เฝรียด)
ภาษารัสเซีย Лошадь (โล้ชิด)
ภาษากรีก Άλογο (อ้าโลโกะ)
ข้อมูลโดย ธนะรัตน์
วาฟราจัดพิมพ์ผลงานภาพถ่ายยูนิคอร์นลงในหนังสือภาพชื่อ " Unicorn I Have
Known " ( ยูนิคอร์นที่ชั้นรู้จัก ) ภาพถ่ายยูนิคอร์นแต่ละภาพนั้นคมชัด
และมีความงามอย่างน่าทึ่ง จนขนาดนิตยสาร LIFE
ที่มีชื่อเสียงนานนับสิบปีของอเมริกายังทึ่งในฝีมือถ่ายภาพของเขาและได้นำ
ภาพถ่ายยูนิคอร์นมาลงตีพิมพ์เผยแพร่ลงในนิตยสาร
ส่วนภาพถ่ายจะจริงหรือปลอมนั้นก็ลองให้ท่านผู้อ่านลองสังเกตสอดส่องจับผิดดู ล่ะกันครับ ตัวนายวาฟราคนถ่ายลงทุนสาบานเลยว่าภาพทุกภาพของจริงทั้งหมด ไม่ได้แต่งเพิ่มเสริมแต่งหลอกคนดู แต่ถึงนายวาฟราจะจับม้ามาแต่งหลอกคนนี่ก็ขอยอมรับเลยครับว่าฝีมือพี่แก เนี๊ยบจริง ๆ และในสมัยนั้นก็ยังไม่มีคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมแต่งภาพเกิดขึ้นมาเลย ก็ขอให้ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูเอาเองล่ะกันครับ
Unicornio (อูนิโก้รฺนิโอะ)
Unicórnio (อูนิโก้รฺนิอุ)
Unicorno (อูนิโก้รฺโหนะ)
Licorne (ลิกอครฺเหนอะ)
Einhorn (อายโฮร์น)
Единорог (ยีดินนาโรก)
Μονόκερως (โมโน้เกโรส)
ยูนิคอร์นหมอบพักในทุ่งดอกป๊อบปี้
ยูนิคอร์นกำลังยืนระวังภัยในป่าละเมาะ
ยูนิคอร์นคู่กำลังยืนหลบในป่าสน
ยูนิคอร์นคู่ตัวผู้เมียกำลังเกี้ยวกันอยู่บริเวณฝั่งทะเล
ข้อมูลโดย Zybern
“เพกาซัส” (Pegasus) มีลักษณะเป็นม้าที่ลำตัวสีขาวสะอาด มีปีกขนาดใหญ่เหมือนนกสีขาว แต่ก็มีบางทีก็มีคนวาดให้ปีกของเพกาซัสเป็นสีทอง เพกาซัสเป็นม้าที่มีความฉลาดปราดเปรื่อง เป็นเครื่องหมายแห่งความบริสุทธิ์ ความสว่าง พลังแห่งดวงอาทิตย์ และแน่นนอนว่าเป็นพาหนะของพวกพระเอกเท่านั้น!…
Pegaso (เปก้าโสะ)
Pégaso (เป้กาสุ)
Pegaso (เปก้าโสะ)
Pégase (เป้กาเสอะ)
Pegasos (เพ้กาซอส)
Пегас (ปีกัส)
Πήγασος (ปี๊กาซอส)
…. นอกจากนี้ความหมายของชื่อเพกาซัสยังมีความหมายว่า ‘springs of ocean’ ซึ่งแปลว่าผู้เกิดมาจากน้ำ (ภาษาไทยก็มีนะ แต่เป็นผู้หญิงอ่ะ หากใครรู้จักตำนานการกวนเกษียรสมุทรเพื่อทำน้ำทิพย์จะรู้ว่ามีสิ่งวิเศษที่ ผุดออกมาจากฟองคลื่น หนึ่งในนั้นคือพระลักษมีซึ่งต่อมากลายเป็นพระชายาของพระนารายณ์ และนอกจากนั้นก็มีมีพวกนางอัปสรทั้งหลายผุดขึ้นมาจากน้ำอีกด้วย เพราะฉะนั้น คำว่า “อัปสร” “อัปสรา” และ “อัจฉรา” ที่หมายถึงนางฟ้า จึงมีความหมายดั้งเดิม คือ “ผู้ที่เกิดมาจากน้ำ” เหมือนกัน) ความสามารถของเพกาซัสคือ ความไว การสร้างน้ำพุ และยังแข็งแรงขนาดที่ฝ่าพายุขนาดบินอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างสบายๆ
ตำนานการเกิดของเพกาซัสมีอยู่หลายตำนาน แต่ที่เป็นหลักๆ มีอยู่ 2 เรื่อง คือ….1. ตำนานที่กล่าวว่าเพกาซัสเป็นบุตรของเทพโพเซดอน (Poseidon) กับนางเมดูซ่า (Medusa) ซึ่งในขณะที่โพเซดอนลอบเข้าหานางเมดูซ่าได้แปลงกายอยู่ในลักษณะของม้า จึงทำให้ลูกที่เกิดมาเป็นม้าด้วย! (โอ้! แม่เจ้า คนกะม้า ! ความพยายามล้ำเลิศจริงๆ )
….2. ตำนานที่กล่าวว่าเพกาซัสเกิดจากหยดเลือดของนางเมดูซ่าขณะที่เพอซุส (Perseus) (จะอ่านว่า เพอซุส หรือ เพอซิอุสก็ได้ ตามความถนัด) ตัดหัวนางออกมา
….เอาล่ะ เรามาเริ่มที่ตำนานแรกกันเลย มีเรื่องเล่าว่าโพเซดอนซึ่งเป็นเจ้าแห่งท้องสมุทร หรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่าเนปจูน (Neptune) เกิดไปหลงรักสาวน้อยนางหนึ่งที่ชื่อว่า เมดูซ่า โดยเมดูซ่าเป็นบุตรของเทพฟอร์ซีส (Phorcys) กับ นางซีโต(Ceto) และเป็น 1 ใน 3 พี่น้องกอร์กอน (Gorgons) โดยเมดูซ่ามีรูปโฉมที่งดงามมาก จนโพเซดอนอดใจไม่ไหวแอบแปลงเป็นม้าเข้ามากุ๊กกิ๊กกับเมดูซ่าในบริเวณวิหาร ของเทพีเอเธน่านั่นแหละ ซึ่งถือเป็นการหลบหลู่กันอย่างแรง เพราะสมญานามของพระนางนอกจากจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ก็ยังครองตำแหน่งเทพีแห่งพรหมจรรย์อีกด้วย จะไม่ให้โกรธได้อย่างไรเมื่อเล่นหยามหน้ากันเข้ามากุ๊กกิ๊กกันในวิหารศักดิ์ สิทธ์ของพระนาง แถมไอ้หนุ่มนั่นก็ไม่ใช่ใครที่ไหนเป็นลุงแท้ๆ ของตัวเองซะอีก
….เมื่อเอาผิดกับลุงของตัวเองไม่ได้ เทพีเอเธน่าจึงหันมาเล่นงานเมดูซ่าแทน (คงถือคติตบมือข้างเดียวไม่ดัง ประมาณว่าถ้าเมดูซ่าไม่สมยอมเรื่องก็คงไม่เกิด) เมดูซ่าจึงรับกรรมไปคนเดียวเต็มๆ พระนางสาปให้เมดูซ่าที่เคยเป็นสาวงามกลายเป็นอสูรกายหน้าตาอัปลักษณ์ เส้นผมสีดำที่เคยเป็นเกลียวสวยงามก็กลายเป็นงูเต็มหัวไปหมด และเมื่อนางมองสิ่งมีชีวิตใดก็ตาม สิ่งนั้นก็จะกลายเป็นหินไป จากหญิงสาวธรรมดาก็กลายเป็นปิศาจร้ายที่มีจิตอันชั่วร้าย จากนั้น ก็ส่งตัวเมดูซ่าไปอยู่เกาะกอร์กอน (Gorgons) เพื่อตัดขาดจากโลกภายนอกไปเลย
….จากนั้นเพอซุสก็ได้ออกตามหาเมดูซ่าโดย ได้รับความช่วยเหลือจากเทพีเอเธน่า ทั้งคำบอกใบ้ไปเกาะกอร์กอน แถมให้ยืมโล่ห์ของพระนางอีกด้วย (แสดงว่าแค้นนี้ยังฝังใจ) แล้วก็ยังมีดาบที่เทพแห่งการสื่อสารเมอร์คิวรีที่ได้มอบไว้ให้ ซึ่งดาบนี้เป็นดาบวิเศษที่ไม่มีวันหักเป็นของแถมให้อีกต่างหาก แล้วในที่สุดเพอซุสก็ได้พบกับเมดูซ่าจนได้ เพอซุสได้ใช้โล่ห์ที่เอเธน่ามอบให้เพื่อป้องกันตัว และใช้วิธีเหลือบมองเงาของนางเมดูซ่าผ่านโล่ห์วิเศษ
…. และในที่สุดเพอซุสก็ตัดหัวเมดูซ่าได้สำเร็จ เลือดของเมดูซ่าที่หยดต้องน้ำของมหาสมุทรก็บังเกิดกลายเป็นม้าวิเศษขึ้นมา ทันที ซึ่งม้าตัวนี้ได้รับการพรรณนาว่าเป็นสัตว์วิเศษที่มีความสวยงามอย่างที่โลก ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน จากนั้นเพกาซัสก็บินรับเพอซุสไปส่งขึ้นฝั่ง แล้วเพกาซัสก็บินตรงไปที่เขาเฮลิคอน (Helicon) ที่มีเทวีแห่งศิลป์ทั้ง 9 นาง หรือที่เรียกว่า Muses (มิวซิส) คอยให้การดูแลเพกาซัสต่อมา พูดง่ายๆ ก็คือเป็นพี่เลี้ยงนั่นเอง (ตรงนี้บางตำนานบอกว่าเทพีเอเธน่าเป็นผู้นำไปมอบให้เทวีแห่งศิลป์ที่เขาเฮลิ คอนด้วยตัวเอง)
….จากนั้นเพอซุสก็ได้ปราบมังกรทะเลและช่วย เจ้าหญิงอันโดรเมด้า (Andromeda) แห่งเมืองเอธิโอเปีย ก็ได้ไปรับพระมารดาและพากันไปตั้งเมืองใหม่ที่ชื่อว่าไมซีเน่ (Mycenae) ส่วนหัวของนางเมดูซ่าเทพีเอเธน่าก็นำมาติดบนโล่ห์ประดับโก้ๆ ซะเลย
….แต่อีกตำนานก็บอกว่าเพกาซัสเกิดมาจาก เลือดของเมดูซ่าอย่างเดียว โปเซดอนไม่มีเอี่ยว เรื่องนี้มีอยู่ว่าในบรรดาสามศรีพี่น้องกอร์กอน เมดูซ่าถึงจะไม่ได้เป็นอมตะเหมือนพี่สาวทั้งสอง แต่ก็มีความงามเป็นเลิศ และนางก็บังอาจท้าทายความงามของนางกับเทพีเอเธน่า จนทำให้พระนางโกรธจึงสาปให้เมดูซ่ามีรูปลักษณ์ที่น่าเกลียด มีเส้นผมเป็นงูอย่างที่เคยเล่าให้ฟังแล้ว จากนั้นก็นำตัวสามศรีพี่น้องตัวแสบไปขังไว้ที่เกาะกอร์กอน ส่วนเรื่องราวหลังจากนั้นก็ลงท้ายเหมือนกัน
….กลับมาที่เรื่องของเพกาซัสต่อนะ หลังจากที่มาอยู่ที่เขาเฮลิคอนแล้วเพกาซัสก็ซุกซนเหมือนเด็กๆ ทั่วไป แต่มันต่างกันตรงที่เขาเป็นม้า แถมบินได้ เพกาซัสก็เลยชอบไปๆ มาๆ ระหว่างโลกมนุษย์และเขาโอลิมปัส (Olypus) ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพทั้งหลายหรือเรียกง่ายๆ ว่าสรรค์นั่นแหละ บางทีก็ชอบบินท่องไปในมหาสมุทร กระโดดกระหยองกระแหยงไปตามเรื่อง
….ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งคณะเทวีแห่งศิลป์ได้ ประกวดร้องเพลงกับ พีเอริซ (Pierises) ทำให้เขาเฮลิคอนพองตัว เทพโพเซดอนจึงให้เพกาซัสใช้กีบเท้าแทงเขาเฮลิคอนเพื่อที่จะทำให้เขากลับสู่ สภาพเดิม จากนั้นมาจุดที่เพกาซัสใช้ขาแทงเขาเฮลิคอนก็หลายเป็นน้ำพุขึ้นมา เรียกว่า Hippocrene (ฮิปโปครีน) หรือ Horse Spring (น้ำพุอาชา) ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำพุนี้มีพลังวิเศษ หากใครได้ดื่มน้ำจากน้ำพุนี้จะทำให้มีพรสวรรค์ในด้านศิลปะขึ้นมาทันที
….หลังจากที่เพอซุสปราบเมดูซ่าไม่กี่ปี เทพีเอเธน่าก็ยกเพกาซัสให้กับเบลเลอโรฟอน (Bellerophon) โดยมอบบังเหี ยนสีทองให้อันหนึ่ง ซึ่งบังเหี ยนนี้มีความสามารถทำให้เพกาซัสเชื่องได้ แล้วเบลเลอโรฟอนก็ไปดักรอเพกาซัสที่น้ำพุ ในขณะที่เพกาซัสกำลังดื่มน้ำจากน้ำพุพีเรเนียน (Pyrenean spring) น้ำพุนี้ก็ made by เพกาซัสเหมือนเดิม คือใช้กีบเท้ากระทุ้งให้น้ำพุ่งขึ้นมา เมื่อเห็นจังหวะเหมาะเบลเลอโรฟอนก็กระโดดขึ้นหลังเพกาซัสปุ๊บ ครอบบังเหียนปั๊บ เพกาซัสก็เลยต้องกลายเป็นม้ามีเจ้าของไปโดยปริยาย
….หลังจากนั้นเพกาซัสและเบลเลอโรฟอนก็ไป ปราบตัวคิเมร่ากัน (Chimaera) ซึ่งตัวคิเมร่านี่มีหัวเป็นสิงห์ ตัวเป็นแพะ และมีหางเป็นมังกร ซึ่งหลังจากนั้นทั้ง เบลเลอโรฟอนและเพกาซัสก็ได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่มากันตลอด แต่ช่วงสุดท้ายของวีรบุรุษคนนี้กลับน่าเศร้านัก เมื่อการที่เขาทำศึกครั้งใดก็ชนะตลอดเพราะมีม้าวิเศษอย่างเพกาซัส ทำให้เขาผยองจนลืมตัว คิดจะขึ้นไปพบปะเทพบนสวรรค์โดยขี่หลังเพกาซัสมุ่งตรงไปยังเขาโอลิมปัส ทำให้ทวยเทพรู้สึกไม่พอใจ และแน่นอนว่าเทพซุส (Zeus) ก็ให้บทลงโทษที่แสนสาหัสกับความโอหังครั้งนี้อย่างสาสม เทพซุสปล่อยแมลงใส่เพกาซัส
….เมื่อเพกาซัสโดนเหล็กไนของแมลงนั้นก็ เจ็บปวดจนเผลอสะบัดเบลเลอโรฟอนจนตกจากหลังของมัน ถ้าเป็นคนธรรมดาคงตายไปแล้ว แต่ด้วยความเมตตาของเทพีเอเธน่าจึงแค่บันดาลให้พื้นดินตรงนั้นอ่อนนุ่ม จึงทำให้เบลเลอโรฟอนแค่ขาหักและตาบอดไป ชีวิตช่วงสุดท้ายของวีรบุรุษคนนี้จึงน่าอนาถนัก ต้องเร่ร่อนไปทั่วแผ่นดินเพื่อจะตามหาม้าวิเศษ ในที่สุดเขาก็ตายอย่างเดียวดาย
….ส่วนเพกาซัสก็กลายเป็นม้ารับใช้ของเหล่า เทพไป โดยเพกาซัสได้ไปที่เขาของเทพธิดาเอ-ออส (Eos) หรือ ออโรร่า (Aurora) ซึ่งเป็นเทพธิดาในการดูแลของเทพอพอลโล (Apollo) เทพแห่งดวงอาทิตย์ เพื่อช่วยนางในการทำให้ตะวันตกดิน และก็ช่วยเทพอพอลโลในการทำให้พระอาทิตย์ขึ้น นอกจากนี้บางทีเพกาซัสก็รับใช้เทพซุสด้วย โดยจะเป็นผู้นำสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธประจำกายของเทพซุสมาส่งให้เมื่อองค์มหา เทพต้องการ
….หลังจากนั้น เพกาซัสก็ได้รับการสถาปนาขึ้นบนท้องฟ้าให้กลายเป็นกลุ่มดาวเพกาซัส ซึ่งดาวกลุ่มนี้จะปรากฎขึ้นทางทิศใต้ในฤดูใบไม้ร่วง โดยเรียกดาวกลุ่มนี้ว่า “Square of Pegasus” หรือ สี่เหลี่ยมเพกาซัส ซึ่งกลุ่มดาวเพกาซัสนี้มีตำแหน่งอยู่ติดๆ กับกลุ่มดาวอันโดรเมด้าอีกด้วย
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
30 ธันวาคม 2012
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น