ข้อมูล http://www.olympicthai.or.th/Olympic.asp และ
กีฬาโอลิมปิก
http://th.wikipedia.org/wiki/กีฬาโอลิมปิก
กีฬาโอลิมปิก
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Games) หรือ โอลิมปิกส์
(Olympics) เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จากหลายประเทศทั่วโลก
โดยจัดขึ้นทุก 4 ปี และมีการแบ่งออกเป็น โอลิมปิกฤดูร้อน
และ โอลิมปิกฤดูหนาว
โอลิมปิค
จน กระทั่งปี 1892 นักศึกษาชาวฝรั่งเศส Pierre de Coubertin ได้ฟื้นฟูกีฬาโอลิมปิคขึ้นมาใหม่ แนวความคิดของ Coubertin เกี่ยวกับการรื้อฟื้นกีฬาโอลิมปิคนี้ได้ก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้นเมื่อมีการ ประชุมสหภาพกีฬาสมัครเล่น แนวความคิดเกี่ยวกับกีฬาได้กระจายออกไปทั่วยุโรป และในที่สุดในปี 1894 แนวคิดเรื่องกีฬาโอลิมปิคสากลก็ได้เป็นความจริงขึ้นมา
ใน ปี 1896 ผู้แทนนักกีฬาจากหลายประเทศได้เดินทางมาร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิคสากลแนวใหม่ ในครั้งนี้ รวมทั้งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโอลิมปิคสากลขึ้นเพื่อดูแลและจัดการแข่ง ขัน
ในการรื้อฟื้นกีฬาโอลิมปิคขึ้นมาใหม่ในครั้งนี้ Coubertin ได้พยายามให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตคนไม่ใช่ชัยชนะแต่เป็นการต่อสู้ เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงควรมีวิธีการที่ถูกต้องในการต่อสู้มีความเป็นนักกีฬา
แนว ความคิดของ Coubertin ได้ถูกพิสูจน์อยู่ตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นการบอยคอต การคดโกงในการแข่งขันด้วยวิธีต่าง ๆ ความโลภมากของผู้เกี่ยวข้อง
สมาชิก
ในปัจจุบัน ประเทศทั่วโลกเป็นสมาชิกโอลิมปิก 197 ประเทศ แต่บางประเทศไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน เพราะเป็นประเทศเล็ก ขาดความพร้อมในเรื่องตัวนักกีฬา บารอน ปิแอร์เดอ ดูเบอร์แตง ได้ให้นิยามการเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกว่า ผู้เข้าร่วมการแข่งขันนั้นไม่เลือกผิวพรรณ ศาสนา ลัทธิการปกครอง แต่อย่างใด ความหมายการแข่งขันเพื่อให้นักกีฬาชาติต่าง ๆ ได้มาร่วมชุมนุมกัน ตัวนักกีฬาเปรียบเสมือนทูตสันถวไมตรีส่งมาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ร่วมเล่นสนุกสนานด้วยความเห็นอกเห็นใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดทั้งสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน อันนำมาซึ่งความสามัคคีและเพื่อสันติภาพของโลก การแพ้หรือชนะไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การเข้าร่วม”
คบเพลิงโอลิมปิก
โคมไฟโอลิมปิก เมื่อมีการแข่งขันโอลิมปิกจะมีการจุดไฟกองใหญ่ขึ้นบนยอดเขาโอลิมปัส
เพื่อให้ความสว่างไสว และเพื่อเป็นสัญญาณประกาศให้คนทั่วไปได้ทราบว่า
การเฉลิมฉลองได้เริ่มขึ้นแล้ว พิธีการจุดไฟนั้น เริ่มแรกทำบนยอดเขาโอลิมปัส
โดยใช้แว่นรวมแสงอาทิตย์ไปยังเชื้อเพลิง เมื่อติดไฟแล้ว
จึงนำตะเกียงต่อเอาไว้ ไฟกองใหญ่จะคงลุกโชติช่วงต่อไปจนตลอดงานฉลอง
ส่วนตะเกียงนั้นจะมีการวิ่งถือไปทั่วทุกนครรัฐ ด้วยการส่งต่อกันไปเป็นทอด ๆ
จากนักวิ่ง คนละ 2 ไมล์
หากผ่านทะเลหรือแม่น้ำก็จะลงเรือข้ามฟากโดยไฟไม่ดับ ไฟนี้ชาวกรีก
ถือว่าเป็นไฟศักดิ์สิทธิ์ และความสงบสุขของชาวกรีก
ซึ่งพระเจ้าจะทรงพระพิโรธต่อบุคคลที่ไม่สนใจในกิจการนี้
โอลิมปิกในปัจจุบัน ยังคงรักษาประเพณีเรื่องการจุดไฟไว้ดังเดิมทุกประการ กล่าวคือ ก่อนจะมีการแข่งขันจะมีพิธีจุดไฟ ณ เขาโอลิมปัส
ผู้จุดคือ สาวพรหมจารีย์ผู้บริสุทธิ์
เป็นผู้ต่อไฟจากแว่นรวมแสงของดวงอาทิตย์ด้วยคบเพลิง
และไฟนี้จะถูกแจกจ่ายไปยังประเทศสมาชิกทั่วโลก
และข้ามน้ำข้ามทะเลไปสู่ประเทศเจ้าภาพ
และมีการวิ่งถือคบเพลิงส่งต่อกันไปจุดที่กระถางใหญ่บริเวณงานในวันแรกของ
พิธีเปิดการแข่งขัน ไฟจะต้องไม่ดับตั้งแต่เริ่มจุด ณ ภูเขาโอลิมปัส
จนกว่าจะสิ้นสุดการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนั้น ๆ
สัญลักษณ์โอลิมปิก
ธงโอลิมปิกมีผืนธงเป็นสีขาว ขนาดมาตรฐานยาว 3 เมตร กว้าง 2 เมตร
ส่วนเครื่องหมายห้าห่วงคล้องกันอยู่บนกลางธง ขนาด 2 เมตร คูณ 0.60 เมตร
มีสีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเขียว สีแดง ตามลำดับจากซ้ายไปขวา
คล้องไขว้กันอยู่ตรงกลางสองแถว แถวบน 3 ห่วง แถวล่าง 2 ห่วง
ห่วงสีที่คล้องกันอยู่ตรงกลางธงบนพื้นธงสีขาว รวมเป็น 6 สี โดยแท้จริงแล้ว
ห้าห่วงหมายถึง ห้าส่วนของโลกที่อยู่ในโอบอ้อมของ “โอลิมปิกนิยม”
มิเจาะจงเป็นห้าทวีปในโลกอย่างที่เข้าใจกัน
แต่บังเอิญห้าทวีปนี้ก็เป็นห้าส่วนของโลกก็เลยอนุโลมกันไปเช่นนั้น
ส่วนสีที่ห่วง 5 สี มิได้หมายถึงสีประจำทวีป ซึ่งสีทั้งหมด 6 สี
รวมทั้งสีขาวที่เป็นพื้นธง หมายความว่า ธงชาติของประเทศต่าง ๆ
ในโลกประกอบด้วยสีใดสีหนึ่งหรือมากกว่านั้นในจำนวนหกสีนั้น
และไม่มีธงชาติของประเทศใดที่มีสีนอกเหนือไปจากหกสีนี้
ด้านล่างของห่วงมีคำอยู่ 3 คำ ซึ่งเป็นภาษาโรมัน แต่ละคำมีความหมายดังต่อไปนี้
- Citius (swifter) : ความเร็ว ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องวิ่งให้เร็วที่สุด
- Altius (higher) : ความสูง ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องทำให้สูงที่สุด
- Fortius (stronger) : ความแข็งแรง ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีความแข็งแกร่งที่สุด
บันทึกการแข่งขัน
Athensโอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 1 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ระหว่างวันที่ 6-15 เมษายน 1896 (พ.ศ.2439)
กีฬาโอลิมปิคสมัยใหม่ได้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี
ค.ศ.1896 หลังจากที่การแข่งขันโอลิมปิคเกมส์ยุคเก่าได้หยุดไปเป็นเวลานาน
โดยการเริ่มต้นใหม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ที่สนามกีฬา
Olympic Stadium ซึ่งได้เคยถูกทำลายไป
โดยทหารฝรั่งเศสในอดีตและมีการปรับปรุงขึ้นมาใหม่ มี 14 ชาติเข้าร่วมแข่ง 9
ชนิดกีฬา 43 เหรียญทองที่มีการชิง จากนักกีฬาทั้งหมด 245 คน
และเป็นการเล่นของนักกีฬาชายล้วน ๆ
และเหรียญทองเหรียญแรกเป็นของนักกีฬาสหรัฐอเมริกา เจมส์ บี.
คอนนัลลีย์(James B. Connolly) ที่ชนะการเขย่งก้าวกระโดด ในวันที่ 6 เมษายน
1896 ถือว่าเป็นแชมป์โอลิมปิคเกมส์คนแรกในยุคสมัยใหม่
และการเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันในหนแรกครั้งนี้นับเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของ
ชาวกรีซไม่ใช่แค่เพียงได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งแรกนี้
เท่านั้นแต่เพราะนักกีฬากรีกได้นำชัยชนะมาให้กรีซในการแข่งขันวิ่งมาราธอน
ซึ่งถือเป็นกีฬาสัญลักษณ์ของโอลิมปิค
ชัยชนะของนักกีฬากรีกในครั้งนั้นโดยเฉพราะอย่างยิ่ง สไปรีดอน หลุยส์ (Spyridon Louis) ผู้ชนะในการวิ่งแข่งขันมาราธอน ได้กลายเป็นขวัญใจของคนทั้งประเทศ และ ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ ต้องการเป็นผู้จัดกีฬาโอลิมปิคเกมส์ในครั้งต่อ ๆ ไปบ้างรวมทั้งเป็นรากฐานให้บรรดานักกีฬาทั้งหลาย เกิดความทะเยอทะยานที่จะเป็นขวัญใจของคนทั้งประเทศด้วยการนำชัยชนะมาสู่ ประเทศของตน
กีฬาที่จัดแข่งขัน 9 ชนิดกีฬาคือ ยิมนาสติก, ว่ายน้ำ, ฟันดาบ, ยิงปืน, กรีฑา, มวยปล้ำ, เทนนิส, จักรยาน และ ยกน้ำหนัก
ชัยชนะของนักกีฬากรีกในครั้งนั้นโดยเฉพราะอย่างยิ่ง สไปรีดอน หลุยส์ (Spyridon Louis) ผู้ชนะในการวิ่งแข่งขันมาราธอน ได้กลายเป็นขวัญใจของคนทั้งประเทศ และ ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ ต้องการเป็นผู้จัดกีฬาโอลิมปิคเกมส์ในครั้งต่อ ๆ ไปบ้างรวมทั้งเป็นรากฐานให้บรรดานักกีฬาทั้งหลาย เกิดความทะเยอทะยานที่จะเป็นขวัญใจของคนทั้งประเทศด้วยการนำชัยชนะมาสู่ ประเทศของตน
กีฬาที่จัดแข่งขัน 9 ชนิดกีฬาคือ ยิมนาสติก, ว่ายน้ำ, ฟันดาบ, ยิงปืน, กรีฑา, มวยปล้ำ, เทนนิส, จักรยาน และ ยกน้ำหนัก
Paris 1900
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 2 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 14 กันยายน - 28 ตุลาคม 1990 (พ.ศ.2443)
จริง ๆ
แล้วในช่วงเริ่มต้นได้มีความพยายามที่จะให้มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคขึ้นใน
กรีซ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ เดอ คูแบร์แตง (Coubertain)
ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดกีฬาโอลิมปิคสมัยใหม่ขึ้นได้
ยืนยันเจตนารมณ์เดิมที่จะให้มีการแข่งขันเวียนไปตามประเทศต่าง ๆ
ที่มีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬา จึงได้ลงที่ฝรั่งเศส มี 24 ชาติเข้าร่วมแข่ง
และมีจำนวนนักกีฬา 1,225 คน
เป็นนักกีฬาหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเป็นครั้งแรกจำนวนรวม 19 คน
ซึ่งจากการบันทึกนั้นนักกีฬาหญิงคนแรกที่ได้เหรียญทองจากโอลิมปิคเกมส์ คือ
ชาร์ล็อตต์ คูเปอร์ (Charlotte Cooper) จากเกาะอังกฤษในกีฬาเทนนิส
การแข่งขันในครั้งนี้ชัยชนะในกีฬาประเภทต่าง ๆ กระจายกันไปในหมู่นักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ จากที่เจ้าภาพฝรั่งเศสนั้น จัดแข่งมากถึง 18 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย ฟุตบอล, โปโล, เรือใบ, รักบี้ฟุตบอล, ยิมนาสติก, คริกเก็ต, ว่ายน้ำ, ฟันดาบ, ชักเย่อ (Tug of War), ยิงธนู, เรือพาย, ยิงปืน, กรีฑา, เทนนิส, จักรยาน กอร์ฟ,ขี่ม้า, และ Croquet(การตีลูกลอดห่วง)
ชาร์ล็อตต์ คูเปอร์ (Charlotte Cooper) จากเกาะอังกฤษในกีฬาเทนนิส
การแข่งขันในครั้งนี้ชัยชนะในกีฬาประเภทต่าง ๆ กระจายกันไปในหมู่นักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ จากที่เจ้าภาพฝรั่งเศสนั้น จัดแข่งมากถึง 18 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย ฟุตบอล, โปโล, เรือใบ, รักบี้ฟุตบอล, ยิมนาสติก, คริกเก็ต, ว่ายน้ำ, ฟันดาบ, ชักเย่อ (Tug of War), ยิงธนู, เรือพาย, ยิงปืน, กรีฑา, เทนนิส, จักรยาน กอร์ฟ,ขี่ม้า, และ Croquet(การตีลูกลอดห่วง)
St. Louis 1904
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 3 ที่เซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 1 กันยายน – 23 พฤศจิกายน 1904 (พ.ศ.2447)
การแข่งขันในครั้งนั้นมีนักกีฬาเข้าแข่งขันเป็นชาย 681 คน เป็นหญิง 6 คน
London 1908
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 4 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 27 เมษายน – 31 ตุลาคม 1908 (พ.ศ.2451)
ในการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้มีนักกีฬาจำนวนมากจากหลายประเทศมาเข้าร่วมการ แข่งขันโดยมาจาก แอฟริกาใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย ซึ่งจัดว่าเป็นการแข่งขันนานาชาติครั้งแรกจริง ๆ การแข่งขันครั้งนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมทั้งหมด 2,036 คน เป็นนักกีฬาชาย 2,000 คน หญิง 36 คน และ การแข่งขันครั้งนี้เป็นการแข่งขันครั้งแรกที่ผู้ชนะการแข่งขันกีฬาในแต่ละ ประเภทได้รับเหรียญทอง ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ชนะจะได้รับเป็นเหรียญเงิน
Stockholm 1912
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 5 ที่กรุงสตอร์กโฮล์ม ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม – 22 กรกฎาคม 1912 (พ.ศ.2453)
แต่ต่อมา Thorpe ได้ถูกยึดเหรียญชัยชนะคืนมาหลังจากที่ IOC (คณะกรรมการโอลิมปิคสากล) หลังจากพบว่าเขาอยู่ในทีมนักเบสบอลอาชีพในปี ค.ศ. 1909 แต่หลังจากนั้นต่อมา 73 ปี Thorpe ก็ได้รับเหรียญรางวัลกลับคืนมาด้วยความสนับสนุนจากผู้ที่นิยมและเห็นอกเห็น ใจ Thorpe แต่ก็หลังจากที่เขาได้เสียชีวิตไปแล้ว
โอลิมปิคเกมส์ 1912 ถูกจัดว่าเป็นครั้งที่ดีที่สุดครั้งหนึ่ง สวีเดนซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพได้มีการเตรียมพร้อมให้การแข่งขันในครั้งนี้ออก มาสมบูรณ์ที่สุด ในส่วนของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน มีนักกีฬาจาก 28 ประเทศ จำนวนนักกีฬา 2,547 คนมาร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ เป็นนักกีฬาชาย 2,490 คน นักกีฬาหญิง 57 คนมีการแข่งขันกีฬา 13 ชนิด
ปี ค.ศ. 1916 ไม่มีการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์ เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ยังให้มีการนับปีดังกล่าว เป็นการแข่งโอลิมปิคเกมส์ครั้งที่ 6 แม้ว่าจะไม่มีการจัดจริงก็ตาม
Antwerp 1920
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 7 ที่กรุงอันท์เวิร์ป ประเทศเบลเยี่ยม ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม – 12 กันยายน 1920 (พ.ศ.2463)
Paris 1924
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 8 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม – 27 กันยายน 1924 (พ.ศ.2467)
การแข่งขันโอลิมปิคเกมส์ที่ปารีสในครั้งนี้ Harold Abrahams นักกีฬาจากอังกฤษชนะเลิศการแข่งขันวิ่ง 100 เมตร แต่ภายหลังได้พบว่า Abrahams ใช้ยาต้องห้าม หรือ ยาโด๊ป
นักว่ายน้ำจากอเมริกา Johnny Weismuller ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นดารา ที่ชนะเลิศการว่ายน้ำถึง 3 เหรียญทอง และ 1 เหรียญทองแดง มีนักกีฬาทั้งหมด 3,092 คน ชาย 2,956 คน หญิง 136 คน จาก 44 ประเทศที่ส่งแข่งขัน 17 ชนิดกีฬา ชิง 126 เหรียญทอง
Amsterdam 1928
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 9 ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 12 สิงหาคม 1928 (พ.ศ.2471)
นักกีฬาเด่นที่ถูกบันทึก คือ Paavo Nurmi นักกรีฑาจากประเทศฟินแลนด์ ที่ได้รับการยกย่องเป็นเจ้าแห่งการแข่งขันวิ่งระยะไกลอีกครั้งหนึ่ง ส่วนสหรัฐอเมริกาได้ครอบครองเหรียญทองเป็นจำนวนมากจากการแข่งขันว่ายน้ำ โอลิมปิคเกมส์ในครั้งนี้มีประเทศที่เริ่มฉายแววทางกีฬาเพิ่มขึ้นมาคือ ญี่ปุ่น นักกีฬาของชาวอาทิตย์อุทัย โชว์ความเก่งกาจได้ดีเช่น Mikio Oda คว้าแชมป์เขย่งก้าวกระโดด Yoshiyuki Tsuruta ชนะว่ายน้ำประเภทกบ 200 เมตร ส่วนประเทศอินเดีย ก็ดีใจเมื่อได้เหรียญทองแรกจากทีมฮอกกี้ชาย นอกจากนี้ในปีนี้ยังเป็นปีแรกที่มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทลู่ – ลานหญิง โดยมีนักกีฬาที่เข้าแข่งขันทั้งหมด 3,014 คน จาก 46 ชาติ เป็นนักกีฬาหญิง 290 คน
Los Angeles 1932
การแข่งขันหนนี้ได้ใช้ช่วงเวลา เพียงแค่ 16 ตามที่ IOC
ได้หารือและได้กำหนดออกมาเป็นครั้งแรก
และปรากฎว่าไม่มีเมืองของประเทศได้เสนอตัวเข้าแข่งขันกับนครลอสแองเจลีส
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 10 ที่นครลอสแองเจลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม 1932 (พ.ศ.2475)
ลอสแองเจลีส มีเวลาในการเตรียมความพร้อมในการจัดกีฬาโอลิมปิคครั้งนี้ถึง 9 ปี ได้ทำการก่อสร้าง Coliseum ขนาด 100,000 ที่นั่งขึ้นซึ่งในปี 1984 ได้ใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นที่จัดแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง ปีนี้เป็นปีริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ หลายอย่าง อาทิ มีจัดค่าเดินทางให้แก่นักกีฬาต่างประเทศที่มาร่วมการแข่งขัน มีการสร้างหมู่บ้าน “Olympic Village” นักกีฬาเพื่อให้นักกีฬาจากแต่ละประเทศมาอยู่ร่วมกัน แต่หนนี้หมูบ้านนักกีฬารองรับได้เฉพาะ นักกีฬาชาย ส่วนนักกีฬาหญิงก็จัดให้พักที่เฉพาะคือที่โรงแรม LUXURY ทั้งหมด
โดยมีนักกีฬาที่เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 1,408 คน เป็น ผู้หญิง 128 คน จากทั้งหมด 37 ชาติ 14 ชนิดกีฬา และ ชิงชัย 116 เหรียญทอง
Berlin 1936
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 11 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ระหว่างวันที่ 1 – 16 สิงหาคม 1936 (พ.ศ.2479)
การแข่งขันในครั้งนี้มีนักกีฬามาร่วมการแข่งขันรวมทั้งหมดจาก 49 ประเทศ จำนวน 4,066 คน เป็นชาย 3,738 คน หญิง 328 คน
สำหรับปี 1940 และ ปี 1944 ไม่มีการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์
เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็ยังนับครั้งที่แข่งขัน
ที่ไม่ได้จัดแข่งใน 2 ปีนั้น เป็นโอลิมปิคเกมส์ครั้งที่ 12 และครั้งที่ 13
London 1948
ลอนดอน ลอนดอนฟันฝ่าคู่แข่งที่ขอแย่งเป็นเจ้าภาพได้สำเร็จอีกครั้ง
โดยคู่แข่งขันตอนนั้นคือ บัลติมอร์ (สหรัฐ) , โลซาน (สวิตเซอร์แลนด์),
ลอสแองเจลีส (สหรัฐ) และ ฟิลาเดลเฟีย (สหรัฐ)
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 14 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม 1948 (พ.ศ.2491)
โอลิมปิคเกมส์หนนี้ เป็นครั้งที่ 2 ที่มีการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ทางวิทยุไปทั่วโลก และ พิธีเปิดใช้สนามเวมบลีย์ ที่เรารู้จักกันดี เป็นสถานที่จัด รวมทั้งมีการใช้นักกีฬาเพื่อนำปฏิญานตนเป็นหนแรกด้วย ในครั้งนี้มีนักกีฬาสหรัฐอเมริกา Bob Mathias ได้กลายเป็นขวัญใจโดยสามารถครองเหรียญทองจากการแข่งขัน Decathlon (ทศกรีฑา) ซึ่งจัดว่าเป็นกีฬาที่ยากที่ต้องอาศัยความแข็งแรง และ ความอดทนอย่างสูง นอกจากนั้น ในการแข่งขั้นครั้งนี้ เยอรมัน และ ญี่ปุ่นผู้พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขัน
โอลิมปิคเกมส์ที่ลอนดอน มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันจาก 59 ประเทศ ชาย 3,714 คน หญิง 385 คน แข่งขันกัน 17 ชนิดกีฬา 136 เหรียญทอง
Helsinki 1952
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟิลแลนด์ ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 1952 (พ.ศ.2495)
Emil Zatopek จากเชคโกสโลวะเกียได้กลายเป็นดาวเด่นในหมู่นักกีฬาในปี 1952 เมื่อเขาได้ชัยชนะในการแข่งขันวิ่งระยะไกล 10,000 เมตร และ 5,000 เมตร รวมทั้งจากการแข่งขันวิ่งมาราธอน และ ภรรยาของเขาก็ได้เหรียญทองจากการพุ่งแหลมครั้งนี้ครั้งแรกที่สหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ รวมทั้งประเทศไทยก็เข้าแข่งขันครั้งนี้เป็นครั้งแรกเช่นกัน
มีนักกีฬาจาก 69 ชาติ จำนวน 4,925 คน เป็นผู้หญิงมากถึง 518 คน เข้าแข่งขันทั้งหมด 17 ชนิดกีฬา ชิง 149 เหรียญทอง
สำหรับครั้งแรกของประเทศไทยนี้ ส่งร่วมการแข่งขันเพียงชนิดเดียวคือ กรีฑา และเป็นเพียงนักกีฬาชายเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าร่วมครั้งแรกจากนักกีฬาของประเทศไทย โดยมีทีมกรีฑาจากไทยที่เดินทางไปประกอบด้วย พงศ์อำมาตย์ อำมาตยกุล, กำธร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, สมภพ สวาทะนันท์, อรุณ แสนโกสิก,สอ้าน ชำนิการ, อดุลย์ วรรณสถิตย์, บุญเติม ขวัญเจริญ, ปัจจัย สมาหาร, บุญเติม พรรคพ่วง, พยนต์ มหาวัจน์ และ สถิต เลี้ยงถนอม
แม้ทีมนักกีฬาไทยจะไม่ประสบความสำเร็จมากมายนักแต่ก็ถือว่าเป็นการเปิด ประเทศให้ทั่วโลกได้รู้จักจากการมีส่วนร่วมในเกมส์โอลิมปิคเกมส์หนแรกนี้
Melbourne 1956
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 16 ที่นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน – 8 ธันวาคม 1956 (พ.ศ.2499)
แต่อย่างไรก็ดีกีฬาขี่ม้าต้องจัดแข่งที่ สตอร์กโฮล์ม ของสวีเดนแทน เพราะมีความพร้อมมากกว่า และมี 29 ชาติที่ส่งนักกีฬาขี่ม้าไปแข่งที่สตอร์กโฮล์ม
ส่วนที่เมลเบิร์นนั้น มีนักกีฬา 67 ชาติ จำนวน 3,184 คน ไปแข่งขัน 17 ชนิดกีฬาชิง 151 เหรียญทอง
การแข่งขันครั้งนี้ประเทศที่พิชิตเหรียญทองกีฬาว่ายน้ำได้มากที่สุดคือ ออสเตรเลียเจ้าภาพ โดยมี Dawn Fraser นักกีฬาว่ายน้ำหญิงเป็นผู้ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดเพราะนอกจากจะ พิชิตเหรียญทองได้แล้วยังสร้างสถิติเวลาใหม่และไม่มีผู้ใดทำลายได้เป็นเวลา ถึง 15 ปี
ในการแข่งขันครั้งนี้มีเหตุการณ์ทางกีฬาที่มีผลมาจากการเมืองในบางประเทศที่ เข้าร่วมการแข่งขัน โดยได้ก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้นระหว่างนักกีฬาจากโซเวียดกับฮังการี ในระหว่างการแข่งขันโปโล
ทีมไทยส่งเข้าร่วมประกอบด้วย กรีฑา – ไพบูลณ์ วัชพรรณ, วันจักร วรดิลก, ผล ใจสว่าง, มนัญ บำรุงพฤกษ์, มนตรี ศรีนาคา, เสน่ห์ วงศ์ชะอุ่ม, สมศักดิ์ ทองอร่าม, สมนึก ศรีสมบัติ
บาสเก็ตบอล – กิรินทร์ ชวาลย์วงศ์, วิสิตย์ ชัยเจริญ, วิชิต อิ่มน้อย, โสภณ จุลมณี,มงคล อิ่มมโนรมย์, สุรกิจ ลกพานิชย์, จันทร แซ่ลิ้ม, คุณ แซ่ลิ้ม, กวง แซ่ลิ้ม, ชลอ สุนทร, อำพล สาระนนท์
มวยสากล – สืบ จุลฑะเกาศลย์, ผจญ เมืองสนธ์, วิชัย ลิ้มเจริญ, นนทศิลป์ ธยานศิลป์, จุล ปัตตพงษ์
ฟุตบอล มี 13 คน รายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทยชุดเมลเบิร์น ซึ่งถือเป็นชุดประวัติศาสตร์ หนแรกของทีมชาติไทยที่มีโอกาสที่ดีเช่นนี้ และรายชื่อถูกบันทึกไว้จำนวน 13 คน คือ เกษม ใบคำ, ตุ๊ สุวณิชย์, ประทีป เจิมอุทัย, สุกิจ จิตรานุเคราะห์, บำเพ็ญ ลัทธพิมล, วันชัย สุวารี, สุรพงษ์ ชุติมาวงศ์,
โนภณ หะยาจันทรา, สำรวย (สำเริง) ไชยยงค์, นิตย์ ศรียาภัย, ประสันต์ สุวรรณสิทธิ์, สุชาติ มุทุกัณฑ์, และวิวัฒน์ มิลินทจินดา (หัวหน้าทีม) โดย นายกอง วิสุทธารมณ์ เป็นผู้จัดการทีม และนายบุญชู สมุทรโคจร เป็นผู้ควบคุมทีม
โอลิมปิคเกมส์หนนี้ การแข่งขันฟุตบอลรอบสองหรือรอบ 16 ทีมสุดท้ายใช้การจับสลากประกบคู่ ซึ่งทีมแพ้จะตกรอบทันที และวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 ณ สนาม นครเมลเบิร์น ทีมชาติไทยลงสนามพบทีมชาติอังกฤษ และเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อทีมชาติอังกฤษ 0-9 ทำให้ตกรอบไปทันที
Rome 1960
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม – 11 กันยายน 1960 (พ.ศ.2503)
โดยการแย่งชิงก่อนที่กรุงโรม จะได้รับการเลือกก็มีเมืองที่เสนอตัวคือ โลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ดีทรอยส์ จากสหรัฐอเมริกา, บูดาเปสต์ ประเทศฮังการี, บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม, เม็กซิโกตี้ ประเม็กซิโก และ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สำหรับเกมส์หนนี้ มีนักกีฬา 83 ชาติเข้าแข่งขันรวมทั้งสิ้น 5,346 คน เป็นนักกีฬาหญิง 610 คน แข่งขัน 17 ชนิดกีฬา ชิง 150 เหรียญทอง
นักกีฬาไทยประกอบด้วย
กรีฑา – ไพบุลย์ วัชรพรรณ, มนัญ บำรุงพฤกษ์, สุทธิ มัณยากาศ, ธีระ คล้ายอ่างทอง, บุญส่ง อาจทวีกุล, สมศักดิ์ ทองอร่าม, สมนึก ศรีสมบัติ, ประจิม วงศ์ สวรรค์
มวยสากล – สวง มงคลฤทธิ์, กิจจา พูนผล, โพธิ์ สุขน้อย, ธงชัย เทพธานี, เสริมศักดิ์ อินทร์สว่าง
ยิงปืน – กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา, อมร ยุกตะนันท์, สาโรจน์ ศิลพิกุล, สุมน สุมนเตมี
เรือใบ – บำเพ็ญ ชมวิทย์
Tokyo 1964
มีเมืองต่างๆ ที่เสนอตัวเข้าแข่งขันคือ ดีทรอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา,
เวียนนา ประเทศออสเตรีย และ บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
แต่การเลือกก็กลายเป็นความสมหวังของชาวอาทิตย์อุทัย และ ชาว เอเชีย
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 10 – 24 ตุลาคม 1964 (พ.ศ.2507)
ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย ที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ หลังจากที่สร้างประเทศขึ้นมาอย่างรวดเร็วเพราะเหตุจากการประสบปัญหาในสงคราม โลกครั้งที่ 2 กีฬายูโด และ วอลเล่ย์บอล ได้ถูกบรรจุเข้าแข่งขันหนแรกทำให้กีฬาที่มีแข่งขันขึ้นไปเป็น 19 ชนิดกีฬา มี 93 ชาติที่ร่วมแข่งขัน จำนวนนักกีฬามีมากถึง 5,140 คน ชิง 163 เหรียญทอง
การแข่งขันครั้งนี้มีนักกีฬาดาวรุ่งเกิดขึ้นหลายราย คนแรกคือ Bob Hayes ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นนักอเมริกันฟุตบอลดังในทีม Dallas Cowboys คนต่อมาคือ Joe Frazier ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันชกมวยสากลอาชีพ และ Abebe Bikila จากเอธิโอเปียก็ชนะการวิ่งมาราธอนเป็นครั้งที่ 2 และเหตุการณ์ที่สำคัญสำหรับ วงการกีฬาไทย ก็คือการส่งนักกีฬาหญิงเข้าร่วมโอลิมปิคเกมส์เป็นครั้งแรกในหนนี้
นักกีฬาไทยประกอบด้วย
กรีฑา – มนัญ บำรุงพฤกษ์, สมศักดิ์ แก้วกัณฑา, สุทธิ มัณยากาศ, ธีระ คล้ายอ่างทอง, ฉนม ศิริรังษี, อินทรโชติ วัชรีวงศ์, ชลิต คนิษฐ์สุด, อดิศร วิสุทธิ์ธรรมกุล, สมศักดิ์ ทองสุก, ไมตรี วิไลกิจ,นิพนธ์ เพ็ญสุวภาพ, ทวีสิทธิ์ อาจทวีกุล, บุษบง ยิ้มพลอย, กุศลวรรณ โสรัจจ์ (ไชยสาม), ปรียา เดชดำรงค์, ทิพาพรรณ ลีนะแสน, สำรวย จรางกูร
มวยสากล – วีระพันธ์ โกมลเสน, นิยม ประเสริฐสม, ศักดา ส่องแสง, ยศ แสงเทียน
จักรยาน – สมชาย จันทรสัมฤทธิ์, ปรีดา จุลละมณฑล, ถาวร จิระพันธ์, พิทยา เกิดทับทิม, สมัยศึก กฤษณะสุวรรณ, ชูชาติ วรายุทธ, สุวรรณ เกิดอ่อน, ชัยณรงค์ โสภณพงษ์, วิฑูรย์ เจริญรัตน์, ภักดี ชินจินดา
ยกน้ำหนัก – ชัยยะ สุขจินดา, สนั่น เทียนเสริฐ, วิสิต รัตนสุขโสภา
ยูโด – เอี่ยม หัสสรังสี, อุดม รัศมีลงกรณ์, พิพัฒน์ สิงห็เสนี
ว่ายน้ำ – สมชาย ลิมปิชาติ, สมชาย เผือกใจแก้ว, ณรงค์ โชคอำนวย, วีนะยุทธ คุ้มบรรจง
ยิงปืน – กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา, ชุมพลไชยเนตร, ตุรงค์ ทรรพวสุ, ทวีศักดิ์ กสิวัฒน์, ชาญ ปัญจรัตน์ไพฑูรย์ สมุทรานนท์,อมร ยุกตะนันท์, ไศล ศรีสาทร
เรือใบ – พระองค์เจ้าพีระฯ, ประสาน บุนนาค, รชฎ กาญจนวณิชย์
Mexico City 1968
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่เม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 12-27 ตุลาคม 1968 (พ.ศ.2511)
เกมส์การแข่งขันหนนี้มีการเริ่มการตรวจเพศนักกีฬาหญิง เพราะมีการถกเถียงถึงความชัดเจนเรื่องเพศหญิงจากที่ผ่านมามีความสงสัยในฮี่ โร่หญิงที่เกิดขึ้นหลาย ๆ คน และยังมีการตรวจพบนักกีฬาของสวีเดนใช้สารต้องห้ามลงแข่งขันด้วย
การแข่งขันครั้งนี้มีนักกีฬาจาก 112 ประเทศจำนวน 5,530 คนเข้าร่วมแข่ง 18 ชนิดกีฬา ชิง 172 เหรียญทอง
นักกีฬาไทยประกอบด้วย
มวยสากล – ประพันธ์ ด้วงชะอุ่ม, เชิดชัย อุดมไพจิตรกุล, นิยม ประเสริฐสม
ยกน้ำหนัก – ชัยยะ สุขจินดา, สนั่น เทียนเสริฐ
ยิงปืน – อมร ยุกตะนันท์, ชุมพล ไชยเนตร, อุดมศักดิ์ เทียนทอง, สุธรรม อัศวานิชย์, วินิจ เจริญศิริ, รังสิต ญาโนทัย, ทวีศักดิ์ กสิวัฒน์, ปวิตร คชเสนี, บุญเกื้อ เหล่าวินิชย์
เรือใบ – รชฎ กาญจนวณิชย์
จักรยาน – บุญโถม ประสงค์ความดี, ภคนิจ บริหารวนเขตต์, ชัยณรงค์ โสภณพงษ์ สมชาย จันทรสัมฤทธิ์, สมควร ลีหะพันธ์, เกรียงศักดิ์ วรวุฒิ, สุรยงค์ เหมินทร์
โอลิมปิคเกมส์หนนี้ มีนักฟุตบอลทีมชาติไทยจำนวน 19 คนซึ่งเข้าร่วมในเกมส์ที่ถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายนับถึงวันนี้ในการเข้าร่วม กีฬาโอลิมปิคเกมส์ของทีมฟุตบอลไทย มีผู้เล่นประกอบด้วย
สราวุธ ประทีปากรชัย, เชาว์ อ่อนเอี่ยม, ไพศาล บุพพศิริ, ยงยุทธ สังขโกวิท, ประโยค สุทธิสง่า, จีระวัฒน์ พิมพะวาทิน, ณรงค์ ทองเปลว,ไพบูลย์ อัญญโพธิ์, สนอง ไชยยงค์, สุพจน์ พานิช,ชัชชัย พหลแพทย์, วิชัย แสงธรรมกิจกุล,นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์, ประเดิม ม่วงเกษม, อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค, เกรียงศักดิ์ นุกูลสมปราถนา, เกรียงศักดิ์ วิมลเศรษฐ, บุญเลิศ นิลภิรมย์ และณรงค์ สังขสุวรรณ์ (ห้วหน้าทีม) โดย มร.กุนเธอร์ กลอมป์ ชาวเยอรมันเป็นโค้ช นายประสิทธิ์ นิลายน เป็นผู้จัดการทีม และ พ.อ.ประเทียบ เทศวิศาล เป็นเจ้าหน้าที่ประจำทีม
ฟุตบอลโอลิมปิคเกมส์หนนี้ แบ่งออกเป็น 4 สายคือ สาย A เม็กซิโก (เจ้าภาพ), ฝรั่งเศส, โคลัมเบีย และ ปาปัวนิวกินี สาย B มีสเปน, บราซิล, ไนจีเรีย และ ญี่ปุ่น สาย C มีฮังการี (แชมป์เก่า), อิสราเอล, เอลซัลวาเตอร์ และ กาน่า และสาย D มีเชโกสโลวะเกีย, บังแกเรีย, กัวเตมาลา และไทย
ผลการแข่งขันหนนั้นมีดังนี้ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2511 ณ สนามเมืองเลยอง ทีมชาติไทยแพ้ทีมชาติบังแกเรีย 0 – 7 (0 – 1), วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2511 ณ สนามเมืองกัวดาฮาร่า ทีมชาติไทยแพ้ทีมชาติกัวเตมาลา 1-4 (1-1) ทีมไทยได้ประตูจาก อุดมศิลป์ สอนบุญนาค, วันที่ 18 ตุลาคม 2511 ณ สนามเอสตาดิโอ เลยอง ทีมชาติไทยแพ้ทีมชาติเชโกสโลวะเกีย 0-8 (0-1) และทีมเชกโกฯ ก็ต้องตกรอบแรกไปพร้อมทีมไทย เนี่องจากบัลแกเรียกับกัวเตมาลานั้นเสมอกันและควงคู่กันเข้ารอบต่อไป
Munich 1972
เมืองมิวนิค เอาชนะคู่แข่งที่เสนอตัวคือ ดีทรอยส์ ของสหรัฐ และมอนทรีล
ของแคนาดา สำเร็จแต่การแข่งขันที่มีขึ้น ก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างใจคิด
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 20 ที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมันตะวันตก ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 11 กันยายน 1972 (พ.ศ.2515)
การแข่งขันครั้งนี้เป็นครั้งที่วุ่นวายมากที่สุด เริ่มจากเช้าวันที่ 5 กันยายน ช่วงกลางของการแข่งขันมี 8 ผู้ก่อการรายชาวปาเลสไตน์บุกเข้าสังหารนักกีฬาของอิสราเอลถึงในหมู่บ้านนัก กีฬาถึง 11 คน และมีการลักพาตัวนักกีฬาอิสราเอลในสนามกลางด้วย นับเป็นความหายนะของเกมส์กีฬาที่ยิ่งใหญ่ซึ่งมีผลมาจากความขัดแย่งทางด้าน การเมือง
และยังมีประเด็นทางการเมือง เมื่อสหภาพโซเวียตมองเห็นช่องทางในการเผยแพร่ลัทธิการเมืองของตนโดยอาศัยการ แข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ โดยพยายามที่จะเป็นผู้นำในการแข่งขันและโน้วน้าวชาติอื่น ๆ ให้เห็นว่าโซเวียตเป็นประเทศมหาอำนาจเหนือคู่แข่งคือสหรัฐ ในภายหลังพบว่านักกีฬาจากสหภาพโซเวียต เป็นนักกีฬาอาชีพที่รัฐบาลว่าจ้างให้เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิคเกมส์ครั้ง นั้น และยังพบอีกว่านักกีฬาจากสหภาพโซเวียตใช้ยาเสริมกำลัง แต่ก็สมหวังเมื่อในปีนั้นสหภาพโซเวียตสามารถพิชิตเหรียญรวมได้ถึง 99 เหรียญ และในการแข่งขันบาสเกตบอลซึ่งเป็นกีฬาที่วัดศักดิ์ศรีเมื่อมาเจอกันในรอบชิง ชนะเลิศ นักกีฬาจากสหรัฐอเมริกาได้พ่ายแพ้แก่นักกีฬาจากสหภาพโซเวียตเป็นการพ่ายแพ้ ครั้งแรก ซึ่งทีมสหรัฐอเมริกาได้ปฏิเสธไม่ขึ้นรับเหรียญเงิน ด้วยเหตุผลที่ไม่ยอมรับการยืนอยู่ในฐานะที่ต่ำกว่าทีมคู่แข่ง
ในปีนั้นมีนักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการแข่งขันถึง 121 ประเทศ จำนวน 7,123 คน แข่ง 21 ชนิดกีฬา ชิง 195 เหรียญทอง
นักกีฬาไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วม ประกอบด้วย
กรีฑา – อาณัติ รัตนพล, กนกศักดิ์ เจตะสานนท์, พนัส อริยะมงคล, สรุพงษ์ อริยะมงคล, สมศักดิ์ บุญทัต
มวยสากล – ระเบียบ แสงนวล, ชาญเดช วีระพล, บรรเทา ศรีสุข, ชวลิต อ่อนฉิม, สุรพงษ์ ศรีภิรมย์ วิชิต ไพรอนันต์, ปรีชา นพรัตน์
จักรยาน – ปัญญา ซึ่งประยูร, ถาวร ทาวัน, สถาพร ขันธสะอาด, ศิวพร รัตนพูล, พินิจ เคยกอบแก้ว, สุริยะ แซ่เจีย
ยกน้ำหนัก – ชัยยะ สุขจินดา
ยูโด – สุชา เตชะวานิชย์
ยิงปืน – บุญเกื้อ เหล่าวานิช, สุธรรม อัศวานิชย์, ปรีดา เพ็งดิษฐ์, อุดมศักดิ์ เทียนทอง, สมศักดิ์ ไชยเรศ, ชวลิต กมุทชาติ, โสฬส ณ ลำพูน
ยิงเป้าบิน – บุญเกื้อ เหล่าวานิชย์, ดำรง ผจญยุทธ
เรือใบ – พระองค์เจ้าพีระพงษ์ ภานุเดช, ไพฑูรย์ จุลละทัพพะ
ในการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์หนนี้ ที่สร้างความฮือฮามาก เพราะถือว่าเป็นการได้ลุ้นอย่างสนุกก็คือการที่นักชกไทย บรรเทา ศรีสุข จากราชนาวีสโมสร สร้างผลงานในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวทด้วยการเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศเป็นครั้ง แรก
Montreal 1976
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 21 ที่กรุงมอนทรีล ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 1976 (พ.ศ.2519)
โดยมี 92 ชาติที่เข้าร่วมการแข่งขัน นักกีฬา 6,028 คน แข่ง 21 ชนิดกีฬา ชิง 198 เหรียญทอง
สำหรับนักกีฬาไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันประกอบด้วย
กรีฑา – สมศักดิ์ บุญทัต, สุชาติ แจสุรภาพ, กนกศักดิ์ เจตะสานนท์, อาณัติ รัตนพล,สายัณห์ ภารัตนวงศ์
มวยสากล – พเยาว์ พูลธรัตน์, วีระชาติ สะเทิ้นรัมย์, ณรงค์ บุญเพื่อง, สมชาย พุทธภิบาล, พินิจ บุญจวง
จักรยาน – ชาติชาย จันทรรัตน์, ชูชีพ ลิขิตเท่ห์, ปราจิณ รุ่งโรจน์, ปัญญา ดินม่วง,ถาวร ทาวัน, อารีย์ แวอารง, สันทัด ทิมมานนท์
ฟันดาบ – เสน่ห์ เชาว์สุรินทร์, ทวีวัฒน์ โหรพรรณ, สุทธิพงษ์ สันติเทวากุล
ยกน้ำหนัก – ปรีชา เชี่ยวชาญ
ยูโด – ปกิต สันติศิริ
ยิงปืน และ เป้าบิน – สุธรรม อัศวานิชน์, พิชิต บูรพวงศ์, สมชาย ฉันทวานิช, ปวิตร คชเสนี, วังศักดิ์ มาลัยพรรณ,โสฬส ณ ลำพูน, สมพร อ่อนฉิม, สุนทร เปรมเกิด, สมบูรณ์ พัตรา, ดำรง ผจญยุทธ, วีระ อุปพงษ์, เผด็จ เวชสวรรค์
ว่ายน้ำ – รัชนีวรรณ บูลกุล, ศันสนีย์ จังคศิริ, สังวาล เพื่องดี
ยิงธนู – อมรรัตน์ แก้วไพฑูรย์, วัลลภ โพทะยะ, วิจิตร สุขสมปอง
เรือใบ – ดำรง ศรีสาคร, สันติ ธรรมสุจริต
Moscow 1980
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 22 ที่กรุงมอสโคว์ ประเทศสหภาพโซเวียต ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 1980 (พ.ศ.2523)
รวมทั้งประเทศไทยที่มีการเตรียมทีมนักกีฬา โดยเฉพาะมวยสากล ที่กำลังคึกคักเพราะโอลิมปิคเกมส์ครั้งที่ผ่านมาสามารถคว้าเหรียญทองแดงได้ สำเร็จ แต่สุดท้ายก็ต้องไม่ส่งเข้าร่วมแข่งขันตามสหรัฐที่มีบทบาทสำคัญในโลกเสรี
ซึ่งในปีนั้นสหภาพโซเวียตครอบครองเหรียญทองมากที่สุดอีกเช่นเดิม โดยชาติที่ เข้าร่วมมีทั้งหมด 80 ชาติ มีนักกีฬา 5,217 คน 21 ชนิดกีฬา และมีการชิงชัยกันมากถึง 203 เหรียญทอง
Los Angeles 1984
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 23 ที่นครลอสแองเจลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 19 กันยายน - 3 สิงหาคม 1984 (พ.ศ.2527)
นักกีฬาที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขันในปีนี้ได้แก่ Carl Lewis จากสหรัฐอเมริกาโดยสามารถครอง 4 เหรียญทองจากการแข่งขันกรีฑาระยะสั้น รวมทั้งการกระโดดไกลส่วน Jecaterina Szabo นักยิมนาสติกสาวจากโรมาเนียครองเหรียญทองยิมนาสติกมากที่สุด 4 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน นอกจากนี้ยังมี Greg Lougamis ซึ่งเป็นนักกีฬากระโดดน้ำคนแรกชาวสหรัฐที่สามารถครอง 2 เหรียญทองพร้อมกันจากการแข่งขัน Springboad และ Platform สำหรับนักกีฬาไทยก็ประสบความสำเร็จอีกครั้ง ทวี อัมพรมหา หรือ ขาวผ่อง สิทธิชูชัย ได้เหรียญเงินจากมวยสากลสมัครเล่น รุ่นไลท์เวลเตอร์เวต มีนักกีฬา 140 ประเทศเข้าร่วมหนนี้ จำนวนถึง 6,797 คน จัดแข่ง 21 ชนิดกีฬา และชิง 221 เหรียญทอง สหรัฐสมหวังกับการเป็นเจ้าเหรียญทองในบ้าน
นักกีฬาไทยที่เข้าร่วมประกอบด้วย
กรีฑา – สุเมธ พรหมณะ, ประสิทธิ์ บุญประเสริฐ, รังสรรค์ อินทรชัย, วิสุทธิ์ วัฒนสิน, วิชาญ ชูเชิด, วัลภา ตั้งจิตสุสรณ์ (พินิจ), จารีย์ พัฒราช, รัตนใจ ศรีเพชร (ยืนยาว), เรวดี ศรีท้าว, จรุณี ป้องขันธ์, วาสนา ปัญญาพฤกษ์, สาลีนี เพ็งละออ
มวยสากล – แสนพล แสงอโน, ธีระพร แสงอโน, ขวัญเมือง กลิ่นจันทร์, วันชัย ผ่องศรี,บัวลา สาสกุล, วิสูตร มีสนทอง, ทวี อัมพรมหา
ยิงธนู – วชิระ ปิยะภัทรา, อำพล อมฤติพิทักษ์
ยิงปืน – อุดมศักดิ์ เทียนทอง, สมชาย ทองศักดิ์ (น.อ.ณัฐวัชร์ ทองศักดิ์), พีระ ภิรมย์รัตน์, นิรันดร เลปานนท์, โอภาส เรืองปัญญาวุฒิ,มานพ ลี้ประสานสกุล, ธานินทร์ ไทยศิลป์, จักรพันธ์ เทียนทอง, ศิริวรรณ พุฒวันเพ็ญ, กนกวรรณ กฤตาคม, ถิรนันท์ จินดา, อังศุมาลย์ โชติกเสถียร
ยิงเป้าบิน – สมชาย ฉันทวินิช, พิชิต, บูรพวงศ์, วุฒิ ภิรมย์ภักดี, ดำรง ผจญยุทธ
เรือใบ – บำรุง รวมทรัพย์, อำพล อมฤตพิทักษ์
Seoul 1988
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ระหว่างวันที่ 17 กันยายน – 2 ตุลาคม 1988 (พ.ศ.2531)
โอลิมปิคเกมส์ที่กรุงโซลยังเป็นตำนานของการตัดสินที่ไม่ยุติธรรมในกีฬามวย สมัครเล่นมีการประท้วงกันวุ่นวาย ทีมนักชกจากสหรัฐประท้วงไม่ขึ้นรับเหรียญเพราะรู้ว่านักชกหลายคนของสหรัฐโดน โกง โดยเฉพาะคู่ของ รอย โจนส์ ที่กลายมาเป็นดาวดังวงการมวยสากลอาชีพโลกในช่วงเวลาต่อมา แต่ครั้งนั้นแพ้แก่ ปาร์ก ซี ฮุน ของเจ้าภาพ แบบค้านสายตา สำหรับนักกีฬาไทยได้มา 1 เหรียญทองแดง จากผจญ มูลสัน มวยสากลสมัครเล่นรุ่นแบนตัมเวตเป็นเหรียญที่ 3 ของกองทัพนักกีฬาไทยจากการส่งเข้าร่วมโอลิมปิคเกมส์
และในเกมส์นี้ก็มีนักกีฬาที่น่าจดจำหลายคนเช่น สเตฟฟี่ กราฟ นักเทนนิสสาวชาวเยอรมัน ก็มาคว้าแชมป์แรกที่นี่ ส่วน ฟลอเรนซ์ กริฟฟิธ จอยเนอร์ ก็เริ่มโชว์ผลงานจากกรีฑาระยะสั้นให้สหรัฐในการลงเล่นโอลิมปิคเกมส์หนแรก
ครั้งนี้มี 159 ชาติเข้าร่วม มีนักกีฬา 8,465 คน แข่ง 23 ชนิดกีฬาชิง 237 เหรียญทอง
สำหรับนักกีฬาไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้มีดังนี้
มวยสากล – ฉัตรชัย สาสกุล, วิชัยขัดไพธิ์ (ราชานนท์), ผจญ มูลสัน, วันชัย ผ่องศรี, พัด คงรัมย์ และ ประวิทย์สุวรรณจิตร
วินด์เซิร์ฟ – อนันต์ โห้สุวรรณ
ยิงเป้นบิน – สมชาย ฉันทวานิช
ยิงปืน – รำไพ แย้มแฟง (ศรีใย), ถิรนันท์ จินดา (ขจรกลิ่นมาลา)
กรีฑา – ชัยณรงค์ วังกานนท์, สมชาย อยู่เจริญ, อนุวัติ เสริมศิริ, วิสุทธิ์ วัฒนสิน, พงษ์ศักดิ์ วัชรคุปต์ และ สุภาสน์ ทิพย์รอด
Barcelona 1992
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 1992 (พ.ศ.2535)
สิ่งที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนทั่วไปจากการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์ในปี 1992 ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้แก่ ทีมบาสเกตบอลทีมชาติสหรัฐ Dream Team ซึ่งในครั้งนี้ Michael Jordan, Magic Johnson, Larry Bird, Charles Barkley, Patrick Ewing, David Robinson, Karl Malone และ Scottic Pippen เป็นนักบาสเกตบอลที่โดดเด่นมากในทีมสหรัฐอเมริกา ทีมบาสเกตบอลสหรัฐอเมริกาในปีนั้น ได้เอาชนะคู่ต่อสู้จากประเทศต่าง ๆ ได้อย่างราบคาบภายใต้การนำของ โค้ช Chuck Daly
นักกีฬาจากประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับความชื่นชมในการแข่งขันกีฬาในปีนั้นเช่น Jackie Joyner-Kersee ผู้ได้รับเหรียญทอง จากการแข่งขันสัตตกรีฑา ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ความแข็งแกร่งของนักกีฬา
ในปีนั้นนักกีฬาว่ายน้ำหญิงจากสาธารณรัฐประชาชนจีนได้สร้างความหวาดผวาให้ กับนักว่ายน้ำชาติอื่น ๆ ด้วยการเอาชนะการแข่งขันประเภทต่าง ๆ แบบทำลายสถิติแต่ในที่สุดก็มีการพิสูจน์ได้ว่านักกีฬาหญิงผู้นั้นได้ใช้ยา กระตุ้นกล้ามเนื้อเพิ่มกำลัง
กีฬาโอลิมปิคเกมส์ที่ Barcelona ในปี 1992 ถูกเรียกว่าเป็น Money Games เพราะว่านักกีฬาทั้งชายและหญิงต่างทำการแข่งขันเพื่ออะไรก็ตามที่คิดว่า สามารถทำเงินได้ หรือแม้แต่การที่ Michael Jordan ได้ใช้ธงชาติสหรัฐอเมริกา คลุมป้ายผู้สนับสนุนกีฬาอย่างเป็นทางการ ของทีมบาสเกตบอลสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลว่าไม่ใช่เป็นบริษัทผลิตรองเท้ากีฬาที่ใช้ชื่อของเขาในการขาย สินค้าตามที่ได้ตกลง
เกมส์หนนี้มี 169 ชาติเข้าร่วม นักกีฬา 9,364 คน เล่น 24 ชนิดกีฬา ชิง 257 เหรียญทอง
สำหรับนักกีฬาไทยยังได้เหรียญทองแดง จาก กีฬามวยสากลสมัครเล่นอีกครั้งโดย อาคม เฉ่งไล่ ในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท
โดยนักกีฬาไทยที่เข้าร่วมทั้งหมดมีดังนี้
กรีฑา – เอกธวัช สกุลจันทร์, อนุชา สันติรังสิมันต์, วิสุทธิ์ วัฒนสิน, ยุทธนา ทองเล็ก,อัฐพร กุญแจทอง, สราพงษ์ คำทรัพย์, นิธิ ปิยะพันธ์, เกรียงไกร นารมย์, ชานนท์ แก่นจันทร์, ทรงฤทธิ์ เวียงบาล, เศกสรรค์ บุญรัตน์, เรวดี ศรีท้าว, สาลีรัตน์ ศรีเมฆ, นภารัตน์ เสือจงพรู,จารุวรรณ เจนจัดการ, รัตน์ใจ ยืนยาว, ศรีรัตน์ ฉิมรักษ์, พรพิมพ์ ศรีสุราษฏร์, หนูแดง พิมพ์โพธิ์, เนตรนภา ชมหมวก, วรรณา โพธิ์ภิรมย์, สุกันยา แสงเงิน
แบดมินตัน – สมหฤทัย เจริญศิริ, พรสวรรณค์ ปลั่งเวช, ลดาวัลย์ มูลศาสตรสาทร, ปิยะทิพย์ ศันสนีย์กุลวิไล,สมพล คูเกษมกิจ, ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์, ศิริพงศ์ ศิริกุล, ธีรนันท์ เชียงทา
มวยสากล – วิชัย ขัดโพธิ์, ประมวลศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ, ชาตรี สุวรรณยอด, ชลิต บุญสิงคาร, อาคม เฉ่งไล่, สมรักษ์ คำสิงห์
ยูโด – สุภัทรา ยมภักดี, ประทีป พินิจวงศ์
ยิงปืน – รำไพ ศรีใย, สมาน จงสุข
ว่ายน้ำ – รัฐพงศ์ ศิริสานนท์, ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร, ประพาฬสาย มินประพาฬ, ธันยา ศรีดามา, รติพร วอง
เทนนิส – เบญจมาศ แสงอร่าม, สุวิมล ดวงจันทร์
ยกน้ำหนัก – ประเสริฐ สุ่มประดิษฐ์
วินด์เซิร์ฟ – สะอาด ปัญญาวัน, อมรา วิจิตรหงษ์
Atlanta 1996โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 26 ที่เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 1996 (พ.ศ.2539)
การแข่งขันหนนี้ซึ่งถือว่าเป็นการครบรอบ 100 ปี ของกีฬาโอลิมปิคเกมส์ยุคใหม่ จึงถูกเรียกว่า Centen nial Games มีนักกีฬาเข้าแข่งขันทั้งสิ้น 10,744 คน จาก 197 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็นนักกีฬาหญิง 3,684 คน ชิงชัยกัน 271 เหรียญทอง ระหว่างวันที่ 19 ก.ค. ถึง 4 ส.ค. 1996 ซึ่งมีกีฬาที่ถูกบรรจุเข้าแข่งขันเป็นครั้งแรก ได้แก่ซอฟท์บอล ฟุตบอลหญิง และ วอลเลย์บอลชายหาด “แอตแลนต้าเกมส์” มีความทรงจำเกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้นมีเหตุเครื่อง บินโบอิ้ง 747 ของสายการบิน TWA ระเบิดกลางอากาศ หลังบินขึ้นที่กรุงวอชิงตัน และในช่วงการแข่งขันที่โอลิมปิคปาร์ค กลางเมืองแอตแลนต้า ซึ่งอยู่ติดกับเพรสเซนเตอร์ หรือ ศูนย์รวมสื่อมวลชนทั่วโลก ก็เกิดเหตุระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ก.ค. มีผู้เสียชีวิต 1 คนและบาดเจ็บกว่า 110 คน สร้างความตื่นตระหนกไปทั่ว จึงมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มข้นขึ้นในช่วงการแข่งขัน แม้จะมีการขู่วางระเบิดแต่ก็ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างไร ในช่วงต่อมา
สำหรับประเทศไทยเรานั้น ต้องถือเป็นเกมส์ประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ หลังจากไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมมากว่า 44 ปี เมื่อผลแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ได้มาจาก สมรักษ์ คำสิงห์ หรือ พิมพ์อรัญเล็ก ศิษย์อรัญ ที่คว้าเหรียญทองแรกในประวัติศาสตร์การเข้าร่วมโอลิมปิคเกมส์สำเร็จ จากรุ่นเฟเธอร์เวท และวิชัย ขัดโพธิ์ ก็ยังได้ 1 เหรียญทองแดง จากรุ่นแบนตัมเวท
กรีฑา – ขวัญฟ้า อินเจริญ, สุนิสา แก้วรุ่งเรือง, ณัฐพร วงศ์ทิพรัตน์, สุภาพร ฮับซัน, สาวิตรี ศรีเชื้อ, วรสิทธิ์ เวชพฤติ, เอกชัย จันทนะ, สายันต์ นามวงศ์, คงเดช เนตรนี และ วิษณุ โสภานิช
ว่ายน้ำ – รัฐพงศ์ ศิริสานนท์, นิธิ อินทรพิชัย, ต่อลาภ เสฏฐโสธร, ดุลยฤทธิ์ พวงทอง,ระวี อินทพรอุดม, ประพาฬสาย มินประพาฬ
กระโดดน้ำ – สุชาติ พิชิ กับ สุขฤทัย ธรรมโอรส
แบดมินตัน – พรสวรรค์ ปลั่งเวช, สมฤทัย เจริญศิริ, ศิริพงษ์ ศิริภูล, กิตติพนธ์ กิติกุล,คุณากร สุทธิโสตถิ์,ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ และ ศักดิ์ระพี ทองสาริ
ยกน้ำหนัก – นภดล วันหวัง
ยิงปืน – จรินทร แดงเปี่ยม, สุรินทร์ กล่อมใจ
วินเซิร์ฟ – อรัญ หอมระรื่น
เทนนิส – แทมมารีน ธนสุกาญจน์ และ เบจมาศ แสงอร่าม
มวยสากล – สมรถ คำสิงห์, ประมวลศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ, พงษ์สิทธิ์ เวียงวิเศษ, สมรักษ์ คำสิงห์, วิชัย ขัดโพธิ์ (ราชานนท์) และ ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค
Sydney 2000
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่นครซินีย์ ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 1 ตุลาคม 2000 (พ.ศ.2543)
ในเกมส์การแข่งขันในเมืองแห่งการท่องเที่ยวของออสเตรเลียหนนี้ ถือว่าเป็นเกมส์ที่ใหญ่ที่สุด เมื่อมีการจัดกีฬามากถึง 28 ชนิด มีนักกีฬาจาก 199 ประเทศ รวมทั้ง ติมอร์ตะวันออก ที่ถูกเชิญเข้าร่วมเดินพาเหรดเพราะเพิ่งถูกปลดปล่อยจากการยึดครองของ อินโดนีเซีย โดยถือธงของคณะกรรมการโอลิมสากลเข้าสู่สนาม เนื่องจากช่วงนั้นยังไม่มีธงชาติเป็นของตนเอง ส่วนที่เซอร์ไพรส์วงการกีฬา ก็คือการเดินพาเหรดร่วมกัน ของนักกีฬาเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ โดยใช้ธงชาติ “คาบสมุทรเกาหลี” ไม่แยกเหนือ – ใต้ นำหน้าแถวนักกีฬาทั้ง 2 ชาติโสมด้วย ซึ่ง รวมนักกีฬาทั้งหมดทุกชาติมากถึง 10,651 คน และมีการใช้อาสาสมัครมากถึง 46,967 คน เข้าร่วมช่วยเหลืองานนี้
นักกีฬาไทยที่ส่งเข้าร่วมประสบความสำเร็จเกินคาดหมาย เมื่อได้ 1เหรียญทองจาก วิจารณ์ พลฤทธิ์ มวยสากลรุ่น ฟลายเวท และ 2 เหรียญทองแดงจาก พรชัย ทองบุราณ มวยสากลรุ่นไลต์มิดเดิลเวท และเกษราภรณ์ สุตา จากยกน้ำหนัก รุ่น 58 กิโลกรัมหญิง
โดยนักกีฬาไทยที่เข้าร่วมแข่งขันประกอบด้วย
กรีฑา – สิทธิชัย สุวรประทีป, เอกชัย จันทนะ, วิษณุ โสภานิช, คงเดช เนตรนี, เหรียญชัย สีหะวงษ์,บุญฤทธิ์ พฤกษาชาติ, สุรีย์ พวงไม้, สุภาวดี ขาวเผือก, อรนุช กล่อมดี, วิลาวัลย์ ร่วมสุข, จุฑามาศ ถาวรเจริญ, ณัฐพร วงศ์ทิพรัตน์, ทริเซีย โรเบิร์ทส
แบดมินตัน – สุจิตรา เอกมงคลไพศาล, สราลีย์ ทุ่งทองคำ, เทศนา พันธ์วิศวาส, ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์, คุณากร สุทธิโสตถิ์, บุญศักดิ์ พลสนะ
มวยสากล – สุบรรณ พันโน, วิจารณ์ พลฤทธิ์, โชติพัฒน์ (สนธยา) วงศ์ประเทศ, สมรักษ์ คำสิงห์, พงษ์สิทธิ์ เวียงวิเศษ, พงษ์ศักดิ์ เหรียญทวนทอง, ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค, พรชัย ทองบุราณ, สมชาย ฉิมรัมย์
เรือพาย – พุทธรักษา นีกรี
เรือใบ – วีรสิฏฐ์ พวงนาค
ยิงปืน – วราวุธ มัจฉาชีพ, เทวฤทธิ์ มัจฉาชีพ, ปิยวรรณ พูสุวรรณ
ว่ายน้ำ – ต่อวัย เสฏฐโสธร, พทัญญู ยิ้มสำรวย, รัฐพงศ์ ศิริสานนท์, ดุลยฤทธิ์ พวงทอง, วิชา รัตนโชติ, ประพาฬสาย มินประพาฬ, ไพลิน เตชะกฤตธีรนันท์, ชลธร วรธำรง
กระโดดน้ำ – สุชาติ พิชิ, มีฤทธิ์ อินสว่าง
เทเบิลเทนนิส – นันทนา คำวงศ์
เทนนิส – ภารดร ศรีชาพันธุ์, แทมมารีน ธนสุการญจน์, เบญจมาศ แสงอร่าม
ยกน้ำหนัก – จอม สิงห์น้อย, อุดมพร พลศักดิ์, แตงโม ม่วงโพธิ์, สายพิณ เดชแสง,อภิญญา ภาคสุโพธิ์, เกษราภรณ์ สุตา, ปวีณา ทองสุก
Athens 2004โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 28 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ระหว่างวันที่ 13 – 29 สิงหาคม 2004 (พ.ศ.2547)
จากการพิจารณาของคณะกรรมการโอลิมปิคสากลขั้นต้นได้มีการดูจากรายงานของคณะทำ งานที่ตั้งขึ้นมาพิจารณาศึกษา เมืองต่าง ๆ ที่ได้เสนอตัว ปรากฎว่าได้คัดเลือกเหลือเมืองที่อยู่ในเกณฑ์จำนวนหนึ่ง และ เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2540 ก็ได้มีการประชุมเพื่อโหวตรอบสุดท้ายที่เมืองโลซานน์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ผลการคัดเลือกรอบแรก เอเธนส์ได้ 32 เสียง, บัวโนส ไอเรส 16, เคปทาวน์ 16, โรม 23 และ สตอร์กโฮล์ม 20 เสียง และได้ตัด 1 เมืองออก แต่ว่าบัวโนส ไอเรส กับ เคปทาวน์ มี 16 เสียงด้วยกัน จึงต้องโหวดเฉพราะ 2 เมือง ปรากฎว่า เคปทาวน์ ได้ 62 เสียง และ บัวโนส ไอเรส ได้ 44 เสียง รอบที่ 2 เอเธนส์ ได้ 38 เสียง, เคปทาวน์ ได้ 22, โรม ได้ 28 ส่วน สตอร์กโฮล์มได้ 19 เสียง จึงเป็นชาติที่โดนตัดไปอีก 1 ในรอบนี้
รอบที่ 3 เอเธนส์ ยังนำโด่ง เมื่อได้ 52 เสียง เคปทาวน์ได้ 20 เสียง และ โรมได้ 35 เสียง ในรอบนี้ เคปทาวน์ โดนตัดออกไป และการพิจารณารอบสุดท้ายระหว่าง 2 เมือง ปรากฎว่า เอเธนส์ ได้ 66 เสียง ขณะที่ โรม ได้เพียง 41 เสียง จึงเป็นอันว่า โอลิมปิคเกมส์ได้ย้อนกลับไปสู่การเริ่มต้นอีกครั้งที่กรุงเอเธนส์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิด
แต่การจัดการแข่งขันหนนี้ของเอเธนส์ อยู่ในช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบจากผู้ก่อการร้ายโดยก่อนการแข่งขันในเอเธนส์ เองก็มีการลอบวางระเบิดเกิดขึ้น จนทำให้เจ้าภาพต้องเพิ่มงบประมาณและจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่าง เข้มงวด แต่การดำเนินการจัดแข่งขันก็ไม่มีเหตุการณ์อะไรมากระทบกระเทือน
ทีมนักกีฬาจากประเทศไทยได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในวงการกีฬาระดับ มหกรรมกีฬาโลกนี้สำเร็จ เมื่อสามารถคว้าได้ 3 เหรียญทองจาก ปวีณา ทองสุก นักยกน้ำหนักรุ่น 75 กิโลกรัมหญิง,อุดมพร พลศักดิ์ นักยกน้ำหนักรุ่น 53 กิโลกรัมหญิง และ มนัส บุญจำนงค์ จากมวยสกลสมัครเล่น รุ่นไลท์เวลเตอร์เวท และยังได้ 1 เหรียญเงินจาก วรพจน์ เพชรขุ้ม นักมวยสากลสมัครเล่นรุ่นแบนตัมเวท ได้ 4 เหรียญทองแดง จาก สุริยา ปราสาทหินพิมาย มวยสากลสมัครเล่นรุ่นมิดเดิลเวท, เยาวภา บุรพลชัย เทควันโด รุ่นน้ำหนักต่ำกว่า 49 กิโลกรัมหญิง, อารีย์ วิรัช ยกน้ำหนักรุ่น 58 กิโลกรัมหญิง สร้างความสุขสมหวังเกินกว่าที่คาดไว้ให้กับชาวไทย ขณะที่ บุญศักดิ์ พลสนะ นักแบดมินตันชายเดี่ยวของไทย ก็เกือบสร้างประวัติศาศตร์ได้เช่นกัน เมื่อแพ้ในรอบชิงชนะเลิศเหรียญทองแดงไปหวุดหวิด
โดยนักกีฬไทยที่เข้าร่วมทั้งหมดประกอบด้วย
ยิงปืน – เทวฤทธิ์ มัจฉาชีพ, จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม
วินด์เซิร์ฟ – อรัญ หอมระรื่น
เรือพาย – พุทธรักษา นิกรี
กรีฑา – ทริเซีย โรเบิร์ทส, จุฑาภรณ์ กระแสร์ญาณ, หนึ่งฤทัย ไชยเพชร
เทเบิลเทนนิส – นันทนา คำวงศ์
เทนนิส – แทมมารีน ธนสุกาญจน์, ภารดร ศรีชาพันธุ์
ขี่ม้า – พงษ์สิรี บรรลือวงศ์
ฟันดาบ – วีรเดช คอชนีย์, ศิริโรจน์ รัฐประเสริฐ
ว่ายน้ำ – รัฐพงศ์ ศิริสานนท์, อาวุธ ชินนภาแสน, ชาญวุฒิ แสงศรี, ไพลิน เตชะกฤติธีรนันท์,ชลธร วรธำรง, นิมิตตา ทวีทรัพย์สุนทร
แบดมินตัน – ปราโมทย์ ธระวิวัฒน์, เทศนา พันธุ์วิศวาส, บุญศักดิ์ พลสนะ, สราลีย์ ทุ่งทองคำ, สาธินี จันทร์กระจ่างวงศ์
มวยสากล – สุบรรณ พันโนน, สมจิตร จงจอหอ, วรพจน์ เพชรขุ้ม, สมรักษ์ คำสิงห์, มนัส บุญจำนงค์, สุริยา ปราสาทหินพิมาย
ยกน้ำหนัก – อุดมพร พลศักดิ์, ปวีณา ทองสุก, อารีย์ วิรัช ถาวร, วันดี คำเอี่ยม, สุริยา ดัชถุยานุวัตร
เทควันโด – เยาวภา บุรพลชัย, นุชจรินทร์ สุขคงดำเนิน, อัศม์เดชน์ สุทธิกุลการณ์, เกรียงไกร น้อยเกิด
Beijing 2008โอ ลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 29 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 25 กันยายน – 10 สิงหาคม 2008 (พ.ศ.2551)
ซึ่งการโหวตนั้นใช้การโหวต 2 รอบ โดยรอบแรกปักกิ่งได้ 44 เสียง อีสตันบูลได้ 17 เสียง โอซาก้าได้ 6 เสียง ปารีส ได้ 15 เสียง และ โตรอนโต ได้ 20 เสียง รอบแรกนี้ โอซาก้า จากญี่ปุ่นโดนตัดออกไป และการโหวตรอบสุดท้าย หรือ รอบที่ 2 ปักกิ่งก็ชนะขาดลอยเมื่อรวมเสียงโหวตได้ 56 เสียง ขณะที่คู่แข่งคืออีสตันบูล ได้ 9 เสียง ปารีสได้ 18 เสียง และ โตรอนโตได้ 22 เสียง
จอมณรงธร ศรีอริยนันท์ (ตี๋)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น