ข้อมูลจาก wikipedia
ที่มาของชื่อประเทศ ทั้ง 10 ของอเมริกาใต้
1.ประเทศ Colombia (โกโล้มเบีย) มาจากชื่อของนักสำรวจชาวอิตาลีชื่อ Christopher Columbus (คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส) หรือ Cristóbal Colón (กริสโตบัล โกลอน ในภาษาสเปน) หรือ Cristoforo Colombo (กริสโตโฟโร โกลอมโบ ในภาษาอิตาลี) ถูกนำมาใช้โดยนักปฏิวัติฟรันซิสโก เด มิรันดา ซึ่งเขาใช้อ้างอิงถึง "โลกใหม่" โดยเฉพาะดินแดนและอาณานิคมในทวีปอเมริกาทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนและโปรตุเกส ชื่อนี้ได้มาเป็นชื่อของสาธารณรัฐโคลอมเบีย (Gran Colombia) ในปี ค.ศ. 1819 ก่อนจะแยกมาเป็น 4 ประเทศในภายหลัง ซึ่งประกอบด้วยดินแดนของประเทศโกโล้มเบีย เบเนซ้วยหละ เอกวาดอร์ และปานาม่าในปัจจุบัน ทั้งหมดใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ
2.ประเทศ Venezuela (เบเนซ้วยหละ) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสชาวอิตาลีได้เดินทางมาถึงประเทศเบเนซ้วยหละเมื่อปี ค.ศ. 1498
พื้นที่ตรงนี้มีคนพื้นเมือง หลายเผ่า อาศัยอยู่ เช่นเผ่า อาราวัก คาริบ
และชิบชา โคลัมบัสได้ยึดดินแดนแห่งนี้เป็นเมืองขึ้นของสเปนและตั้ง
ชื่อดินแดนที่เดินทางมาถึงนี้ว่า Venezuela ซึ่งแปลว่า "เวเน้เชียน้อย" เพราะมีภูมิประเทศคล้ายกับเมืองเวเน้เชีย (Venecia หรือ "เวนิส" ในภาษาอังกฤษ) ของประเทศบ้านเกิดตนเอง ประเทศนี้ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ
3.ประเทศ Ecuador (เอกวาดอร์) เนื่องจากประเทศนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เส้นศูนย์สูตรลากผ่าน จึงได้รับการตั้งชื่อตามคำในภาษาสเปนว่า Ecuador ซึ่งก็ตรงกับ "equator" (เส้นศูนย์สูตร) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ
4.ประเทศ Brasil (บราซิล) ชื่อมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Pau-Brasil
ในภาษาโปรตุเกส ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน
บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน
การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก
ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ
5.ประเทศ Perú (เปรู) ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บีรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานาม่า โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี ค.ศ. 1522 ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปิซาร์โร เดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่า บีรูหรือเปรูด้วย จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี ค.ศ. 1529 ซึ่งตั้งเป็นจังหวัดเปรูบริเวณจักรวรรดิอินคาเดิม ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ
6.ประเทศ Bolivia (โบลิเบีย) ตั้งชื่อประเทศตามชื่อสกุลของ Simón Bolívar (ซิโมน โบลิบาร์) นายพลทหารชาวสเปน เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวให้ประเทศต่าง ๆ ในทวีิปอเมริกาใต้เป็นอิสระ หรือที่เรียกกันในนามว่า "สงครามโบลีบาร์ " ผู้ช่วยให้โบลิเบียเป็นประเทศเอกราชจากสเปน เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "ผู้กู้อิสรภาพ" ประเทศนี้ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ
7.ประเทศ Paraguay (ปารากวัย) ชื่อประเทศปารากวัยมีความหมายว่า "น้ำซึ่งไหลไปสู่น้ำ" โดยมาจากคำในภาษากวารานีชาวท้องถิ่นว่า ปารา (pará) แปลว่า มหาสมุทร, กวา (gua) แปลว่า สู่/จาก , และ อี (y) แปลว่า น้ำ วลีในภาษากวารานีมักจะอ้างถึงเมืองหลวงอะซุนซิออน แต่ในภาษาสเปนจะอ้างถึงทั้งประเทศ ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาทางการ
ข้้อมูลโดย thaiembassychile.org
8.ประเทศ Chile (ชิเล) ไ้ด้รับฉายาว่า "ประเทศเชือกรองเท้า" เพราะภูมิประเทศมีลักษณะเรียงตัวยาวลงมา คำว่า "ชิเล" ตามตำนานกล่าวว่ามาจากชื่อหัวหน้าเผ่าอารูคาเนียนคนหนึ่ง คือทิลี (Tili) ซึ่งสามารถต้านทานการบุกรุกของพวกอินคาได้ ขณะที่บางตำนานอ้างว่าคำว่าชิเลมาจากภาษามาปูเช แปลว่า “ที่ซึ่งสุดแผ่นดิน” “จุดที่อยู่ลึกที่สุดของโลก” หรือ “นกนางนวล” รวมทั้งมาจากการเลียนเสียง “ชีเล-ชีเล”(chile-chile) ของนกชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตามตามชาวสเปนรุ่นแรก ๆ ที่เข้ามาในชิเล บันทึกว่าชนพื้นเมืองในดินแดนแห่งนี้เรียกตัวเองว่า “ชนแห่งชิเล” ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ
9.ประเทศ Uruguay (อุรุกวัย) อุรุกวัยเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้
และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพที่สุด จนได้รับฉายาว่า "สวิสแห่งอเมริกาใต้" ชื่อประเทศมาจากคำว่า Urú+agua รวมกันเป็น Uruguay แปลว่า "แม่น้ำของนกอูรู่" (ชื่อนกชนิดหนึ่งในประเทศนี้) ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ
10.ประเทศ Argentina (อาร์เฆนตี้นา) เป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก จรดปากเเม่น้ำ Río de la plata (ริโอ เด ลา ปล้าตะ มีความหมายตามตัวอักษรว่า "แม่น้ำแห่งแร่เงิน") จึงนำืชื่อของแร่ธาตุเงิน "Ag" ทางเคมี มาตั้งเป็นชื่อประเทศ
(Argentina) นั่นเอง ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
17 กุมภาพันธ์ 2013
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น