วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นกกระเรียน ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร

ข้อมูลโดย wikipedia
นกกระเรียน เป็นนกขนาดใหญ่ คอและขายาว มี 15 ชนิด คล้ายนกกระสา แต่เวลาบินนกกระเรียนจะเหยียดคอตรง ไม่งอพับมาด้านหลังเหมือนนกกระสา นกกระเรียนอาศัยอยู่ทั่วโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและทวีปอเมริกาใต้ ส่วนมากไม่ถูกคุกคามมากนัก ยกเว้นบางชนิดที่ถูกคุกคามจนวิกฤติ เช่น นกกระเรียนกู่

 

ภาษาสเปน                                       Grúa (กรู้อะ)
ภาษาโปรตุเกส                                Guindaste (กวินดาสติ)
ภาษาอิตาลี                                      Gru (กรู)
ภาษาฝรั่งเศส                                  Grue (กรู้เอะ)
ภาษาเยอรมัน                                  Kran (คราน)
ภาษารัสเซีย                                    Кран (กราน)
ภาษากรีก                                        Γερανός (เกราโนส)
 

นกกระเรียนเป็นนักกินตามโอกาส อาหารจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาลและความต้องการสารอาหาร อาหารจะเป็นตั้งแต่ สัตว์ฟันแทะตัวเล็กๆ ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และแมลง จนถึง ธัญพืช ลูกไม้ และพืช

มีการแสดงท่าทางที่ซับซ้อนและส่งเสียงร้องเพื่อการเกี้ยวพาราสีหรือที่ เรียกว่า เต้นระบำ ในขณะที่คนทั่วไปคิดว่านะกระเรียนมีคู่ตัวเดียวไปจนตาย จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดแสดงว่านกเหล่านี้มีการเปลี่ยนคู่ในช่วง ชีวิตของมัน อาจเป็นในช่วง 10 ปี หลังๆ นกกระเรียนสร้างรังแบบยกพื้นในน้ำตื้นและมักจะวางไข่สองครั้ง พ่อแม่จะช่วยกันเลี้ยงดูลูก ลูกนกจะอยู่กับพ่อแม่จนกระทั่งฤดูผสมพันธุ์ถัดไป

 บางชนิดเป็นนกอพยพทางไกล แต่ไม่ใช่ทุกชนิด นกกระเรียนชอบอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่

  
 ข้อมูลโดย bknowledge.org
นกกระเรียนในประเทศไทย


นกกระเรียนในโลกมี ๑๘ ชนิด ในจำนวนนี้มี ชนิดที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ นกกระเรียนที่พบในประเทศไทยมีชื่อสามัญว่า Eastern Sarus Crane และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Grus antigone sharpii นกนี้มีถิ่นการแพร่กระจายพันธุ์บริเวณ ประเทศพม่า ภาคใต้ของลาว เวียดนาม ประเทศไทย เกาะลูซอนของประเทศฟิลิปปินส์ รัฐควีนสแลนด์ของประเทศออสเตรเลีย และบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย รูปร่างลักณะ
 
นกกระเรียนจะเลือกสร้างรังในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ ( Wetland ) หรือตามแหล่งน้ำ โดยนกทั้งสองเพศจะช่วยสร้างรังตามกอพืชน้ำ รังจะมีรูปกลม ลักษณะคล้ายกระจาด สร้างด้วยวัสดุที่เป็นพืชน้ำ รังจะอยู่สูงจากระดับน้ำประมาณ ๓ - ๒๕.๔ ซม.มีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนัก ของตัวนกได้ นกกระเรียนใช้เวลาในการสร้างรังประมาณ ๒ วัน




นกกระเรียนจัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดความยาวจากปากถึงปลายหางประมาณ ๑.๘-๒.๒ เมตร น้ำหนักประมาณ ๕ กิโลกรัม ทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีลักษณะรูปร่างและสีขนเหมือนกัน แต่เพศผู้มีน้ำหนักและความสูงมากกว่าเพศเมีย การแยกเพศของนกกระรเยนต้องอาศัยการสังเกตจากพฤติกรรมและการเกี้ยวพาราสีในช่วง ฤดูกาลผสมพันธุ์ ขนปกคลุมลำตัวของนกกระเรียนทั่วไปจะมีสีเทา ขนบริเวณส่วนหัวและลำตัวส่วนบนมีน้อยมาก มีตุ่มเล็กๆสีแดงกระจายอยู่ทั่ว บริเวณที่มองเห็นเป็นแถบสีแดง บริเวณคอด้านหน้าจะมีขนหยาบๆสีดำแทรกอยู่ ผิวหนังบริเวณกระหม่อมจะเป็นสีเทา หูมีแถบขนสั้นๆสีเทาอ่อน ปกคลุมเห็นได้ชัดเจน ขาและนิ้วเท้ามีสีชมพูอมม่วงหรือค่อนข้างแดง ตาสีส้ม ปากสีเทาอมเขียว
นกกระเรียนพันธุ์ไทย Eastern Sarus Cran ช่วงโตเต็มวัยจะ
แสดงเพศออกมาอย่างชัดเจนทั้งทางร่างกายและพฤติกรรม
นกกระเรียนพันธุ์ไทย Eastern Sarus Cran ช่วงโตเต็มวัยจะแสดงเพศออกมาอย่างชัดเจนทั้งทางร่างกายและพฤติกรรม นกกระเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ จะมีขนปกคลุมลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมเทา ขนที่หัวสีน้ำตาลอ่อน ตาสีเหลือง ส่วนลูกนกระเรียนจะมีขนอุย( Down Feather ) ปกคลุมทั่วตัว ขนบริเวณหัวและคอมีสีน้ำตาลอมเหลือง ขนข้างอกและหลังด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม บริเวณอกและท้องเป็นสีขาว

ลูกนกกระเรียนพันธุ์ไทยมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมลำตัว ยังไม่สามารถแบ่งแยกเพศและหาอาหารกินเองได้ การเพาะเลี้ยงจึงต้องมีการอนุบาลอย่างใกล้ชิด นกกระเรียนพันธุ์ไทยและนกกระเรียนพันธุ์อินเดีย มีลักษณะแตกต่างกัน กล่าวคือ นกกระเรียนพันธุ์อินเดียมีแถบขนสีขาวคั่นระหว่างส่วนบน ของคอที่เป็นแถบหนังสีแดงและคอส่วนล่างที่มีขนสีเทาปกคลุม และขน Secondary มีสีขาว ส่วนนกกระเรียนพันธุ์ไทยไม่มีแถบขาวคั่นและขน Secondary เป็นสีเทาเข้มเกือบดำ

ลักษะรูปร่างของนกกระเรียนคล้ายคลึงกับนกยาง ( Egret ) และนกกระสา ( Strok ) แต่สังเกตความแตกต่างได้จากขนาดและท่าบิน กล่าวคือ นกกระเรียนมีขนาดใหญ่กว่าและเวลาบินจะยืดคอตรงไปข้างหน้า ส่วนนกยางและนกกระสาเวลาบินจะหดคอเข้าหาตัว
การเคลื่อนที่ และการอพยพ แม้ว่านกกระเรียนจะมีน้ำหนักและขนาดตัวมาก แต่สามารถบินได้ในระดับที่สูงและไกลมาก ซึ่งมีรายงานหลายครั้ง เช่น Lavery และ Blackman (1969 ) รายงานว่าพบนกกระเรียนทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย เขาใจว่านกเหล่านี้อพยพมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีระยะทางไกลถึง ๓,๐๐๐ ไมล์
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ นกกระเรียนเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์เมื่ออายุ ๓-๔ปี การจับคู่ผสมพันธุ์เป็นแบบ Monogamy คือ นกเพศผู้จะอยู่ร่วมกับนกเพศเมียเพียงตัวเดียวตลอด ช่วงฤดูผสมพันธุ์ ช่วยกันสร้างรังและเลี้ยงลูกอ่อน

พฤติกรรมการจับคู่แบบ Monogamy ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ของนกกระเรียนไทย
จะช่วยกันสร้างรังบริเวณที่ลุ่มน้ำและผลัดเปลี่ยนกันฟักไข่  
พฤติกรรมการจับคู่แบบ Monogamy ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ของนกกระเรียนไทยจะช่วยกันสร้างรังบริเวณที่ลุ่มน้ำและผลัดเปลี่ยน กันฟักไข่


ในช่วงฤดูผสมพันธุ์นกกระเรียนจะแสดงพฤติกรรมการเกี่ยวพาราสี ซึ่งสังเกตได้จากการกระโดหรือวิ่งพร้อมกับการกระพือปีกไปรอบๆพื้นที่ บางครั้งจะตบเท้า กระดกศรีษะขึ้น-ลง คาบวัสดุขว้างไปในอากาศ เพศผู้และเพศเมียจะส่งเสียงร้องประสานกัน เพศผู้จะร้องเสียงยาวระดับต่ำ ยืดคอและเงยปากทำมุมประมาณ ๑๓๕ องศากับพื้นดิน กางปีกและยกระดับขึ้นสูงระดับหลัง ส่วนเพศเมียจะยืนอยู่ข้างๆ เพศผู้ ปีกหุบแนบลำตัว เงยปากไปข้างหน้าทำมุมประมาณ ๖๐ องสากับพื้นดิน และเปล่งเสียงร้องสั้น ๆ ๒-๓ ครั้งประสานกับนกเพศผู้ที่ร้องเสียงยาวการร้องแต่ละครั้งใช้ เวลาประมาณ ๑๒-๓๐ วินาที นอกจากนกกระเรียนจะใช้เสียงร้องเพื่อเกี้ยวพาราสีแล้ว ยังใช้บอกอาณาเขตครอบครองของตนเองอีกด้วยซึ่งสามารถใฃ้การร้องและท่วงท่า การแสดงออกแบ่งแยกเพศได้


จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
14 กุมภาพันธ์ 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น