ข้อมูลโดย wikipedia และ bp-smakom.org
ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรมีมากเป็นเป็นอันดับ 5 รองจากทวีปเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ
เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง มีที่ราบเฉพาะเขตชายฝั่งและลุ่มแม่น้ำ ภูมิอากาศมีทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่น ซึ่งเหมาะแก่การดำรงชีวิต จึงเป็นทวีปที่มีประชากรอาศัยอยู่มากแห่งหนึ่งของโลก แต่เนื่องจากความแตกต่างทางด้านสังคม การเมือง และปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของประชากร ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งๆที่อยู่ใกล้ชิดติดต่อกับทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นทวีปที่พัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากในทุกๆด้าน
ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าอพยพมาจากทวีปเอเชียเข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือโดยผ่านช่องแคบแบริง แล้วเดินทางลงใต้ผ่านอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้เช่นปัจจุบัน ดังนั้นชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือจึงมีความสัมพันธ์กัน ทางเชื้อชาติ โดยในเปรูชนพื้นเมืองอินเดียนได้สร้างอาณาจักรอินคา ครอบคลุมอาณาเขตกว้างขวางทางตะวันตกของทวีป โดยมีเมืองคุชโกเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร
มีความแตกต่างกันทางด้านกายภาพมากแห่งหนึ่งของโลก กล่าวคือ เป็นดินแดนที่มีระบบภูเขาซึ่งมีแนวต่อเนื่องกันยาวที่สุดในโลก และมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นที่กว้างขวางที่สุดในโลก ขณะที่ดินแดนบางส่วนของทวีปนี้มีอากาศแห้งแล้งมาก นอกจากนี้ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ ยังมีความหลากหลายในด้านเชื้อชาติและการดำเนินชีวิต คือ มีทั้งชาวอินเดียน ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมชาวสเปนและโปรตุเกสซึ่งเป็นพวกผิวขาว พวกผิวดำชาวแอฟริกา พวกผิดเหลืองชาวเอเชีย ซึ่งเป็นผู้อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ และพวกเมติโซซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์เลือดผสม ส่วนวิถีการดำเนินชีวิต มีตั้งแต่สภาพความเป็นอยู่ตามธรรมชาติแบบเก่าแก่ดั้งเดิม จนกระทั่งการมีชีวิตที่ทันสมัยแบบชาวเมืองยุโรป
ในปี พ.ศ. 2042 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางด้วยเรือมายังรอยต่อของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งชื่อของเขาก็เป็นที่มาของประเทสโคลอมเบียในปัจจุบัน กระทั่ง พ.ศ. 2043 ประเทศต่างๆในยุโรปโดยเฉพาะประเทศสเปน อิตาลี โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้เข้ามาสำรวจ และยึดครองดินแดนเป็นอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ประเทศเจ้าของอาณานิคมจากยุโรปยึดครองและได้ผลประโยชน์จากดินแดนใน ทวีปอเมริกาใต้มานานหลายร้อยปี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2261 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน ปลดปล่อยประเทศอาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอล่า ให้เป็นอิสระจากสเปนและปลดปล่อยประเทศบราซิลให้เป็นอิสระจากประเทศโปรตุเกส ในลำดับถัดมา
ทวีปอเมริกาใต้ ประกอบด้วย
1.เฟรนช์เกียนา
2.ซูรินาเม
3.กายอานา
4.หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
5.อุรุกวัย
6.ชิลี
7.เอกวาดอร์
8.ปารากวัย
9.โบลิเวีย
10.เวเนซุเอลา
11.โคลัมเบีย
12.บราซิล
13.เปรู
14.อาร์เจนตินา
2.ซูรินาเม
3.กายอานา
4.หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
5.อุรุกวัย
6.ชิลี
7.เอกวาดอร์
8.ปารากวัย
9.โบลิเวีย
10.เวเนซุเอลา
11.โคลัมเบีย
12.บราซิล
13.เปรู
14.อาร์เจนตินา
ทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งอารยธรรมดั้งเดิมของชาวอินเดียนเผ่าอินคา มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ของประเทศเอกวาดอร์,เปรู,โบลิเวียและทางตอนเหนือของประเทศชีลิในปัจจุบัน อาณาจักรนี้มีความเจริญสูงสุด
ประมาณตอนกลางของพุทธศตวรรษที่ 20 สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของพวกอินคา
ได้แก่ การนำหินมาปูถนน การทำสะพานแขวนด้วยเชือกเพื่อทอดข้ามลำธาร
แม่น้ำและหุบเขาแคบๆ การสกัดหินภูเขาออกมาเป็นแท่งๆ
เพื่อนำไปก่อสร้างที่อยู่อาศัย
การปรับพื้นที่เนินเขาให้เป็นขั้นบันไดเพื่อใช้เพาะปลูกการขุดคลองเพื่อส่งน้ำเพื่อการเกษตร
ใน พ.ศ.2075 อาณาจักรอินคาต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสเปน
สเปนจึงมีอำนาจปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์นี้
การที่สเปนเข้ามามีอิทธิพลในทวีปอเมริกาใต้
ทำให้มีคำเล่าลือว่าทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทองคำ
เงินและโลหะอื่นๆ ซึ่งเป็นดึงดูดใจให้ผู้คนในประเทศสเปนและโปรตุเกส
พากันเดินทางเข้ามาแสวงโชคลาภในทวีปนี้มากขึ้น
ดังนั้นทุกภูมิภาคในทวีปนอเมริกาใต้จึงตกเป็นอาณานิคมของสเปน
ยกเว้นบราซิลเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส
ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ชาวอาณานิคมได้ต่อสู้จนได้รับเอกราช
และได้สถาปนาเป็นประเทศเอกราชเกือบทั้งหมด ยกเว้นหมู่เกาะฟอล์กแลนด์และดินแดนเฟรนช์เกียนา
ในปี พ.ศ. 2525
เกิดสงครามฟอล์กแลนด์ระหว่างประเทศอาร์เจนตินาและอังกฤษเพื่อแย่งชิงเกาะ
ฟอล์กแลนด์
ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นฝ่ายชนะและยังคงยึดครองเกาะฟอล์กแลนด์จนกระทั่ง
ปัจจุบัน
เช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสที่ยังคงยึดครองดินแดนเฟรนช์เกียนาทางตอนเหนือ
ของทวีปเอาไว้
เชื้อชาติ ประกอบด้วยกลุ่มชน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชาวอินเดียน
กลุ่มชาวผิวขาวและกลุ่มชาวผิวดำ
กลุ่มอินเดียน เป็นชนเผ่าดั้งเดิม ที่สร้างสรรค์อารยธรรมในทวีปอเมริกาใต้เมื่อประมาณ
5,000 ปี ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแถบที่สูงของเทือกเขาแอนดีส
และบางส่วนอาศัยอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและชายฝั่งทะเลแคริบแบียน
เมื่อชาวผิวขาวได้เข้ามามีอิทธิพลในทวีปอเมริกาใต้ก็บังคับให้ชาวอินเดียนทำงานในไร่นาและเหมืองแร่ของตน
ต่อมามีผู้หญิงอินเดียจำนวนมากได้แต่งงานกับคนผิวขาว ทำให้มีลูกเลือดผสมเรียกว่า
เมสติโซ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้
ส่วนชาวอินเดียเลือดบริสุทธิ์ปัจจุบันมีอยู่จำนวนน้อยในบางประเทศ เช่น เปรู
โบลิเวีย เอกวาดอร์ บราซิล
กลุ่มผิวขาว ซึ่งอพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งเมื่อประมาณ พ.ศ.2400 ได้แก่ ชาวสเปน โปรตุเกส อิตาลี เยอรมัน และโปแลนด์ ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวญี่ปุ่น เป็นพวกผิวเหลืองได้อพยพเข้าสู่ทวีปอเมริกาใต้เป็นจำนวนมาก
กลุ่มผิวดำ จากทวีปแอฟริกาได้อพยพเข้าในฐานะใช้แรงงานในไร่นาและเหมืองแร่ของพวกผิวขาวในประเทศบราซิลและโคลัมเบีย ต่อมาคนผิวดำได้แต่งงานกับคนผิวขาว และมีลูกเลือดผสมเรียกว่า มูแลตโต ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศบราซิลและโคลัมเบีย
กลุ่มผิวขาว ซึ่งอพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งเมื่อประมาณ พ.ศ.2400 ได้แก่ ชาวสเปน โปรตุเกส อิตาลี เยอรมัน และโปแลนด์ ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวญี่ปุ่น เป็นพวกผิวเหลืองได้อพยพเข้าสู่ทวีปอเมริกาใต้เป็นจำนวนมาก
กลุ่มผิวดำ จากทวีปแอฟริกาได้อพยพเข้าในฐานะใช้แรงงานในไร่นาและเหมืองแร่ของพวกผิวขาวในประเทศบราซิลและโคลัมเบีย ต่อมาคนผิวดำได้แต่งงานกับคนผิวขาว และมีลูกเลือดผสมเรียกว่า มูแลตโต ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศบราซิลและโคลัมเบีย
ภาษา ประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้ ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ
ยกเว้นประเทศบราซิลใช้ภาษาโปรตุเกส ประเทศกายอานา ใช้ภาษาอังกฤษ เฟรนซ์เกียนา
ใช้ภาษาฝรั่งเศส และซูรินาเม ใช้ภาษาดัตช์
ศาสนา ประชากรร้อยละ 90
ของทวีปอเมริกาใต้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ที่ชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำเข้ามาเผยแผ่ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์มีผู้นับถือน้อย
การศึกษา ประเทศที่มีการศึกษาพัฒนามากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่
อาร์เจนตินา ชีลี กายอานา อุรุกวัย และซูรินาเม
ประชากรของประเทศเหล่านี้มีอัตราการอ่านเขียนได้สูง
เพราะเป็นประเทศมี่มีเศรษฐกิจค่อนข้างดี
จึงสามารถจัดการศึกษาบังคับแบบให้เปล่าได้ทั่วถึง ส่วนประเทศอื่นๆ
มีประชากรอ่านออกเขียนได้ อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่านี้
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
16 กุมภาพันธ์ 2013
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น