วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตั๊กแตน ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร

ข้อมูลโดย dnp.go.th
ตั๊กแตน เป็นแมลงที่มีลักษณะสำคัญคือ มีปากแบบกัดกิน พบตั้งแต่ในระยะตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย  มีตารวมขนาดใหญ่  มีหนวดเป็นแบบเส้นด้าย ปีกคู่หน้าเป็นคล้ายหนัง ปีกคู่หลังแบบบางใส ซึ่งพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ขา 2 คู่แรกเป็นขาเดิน ขาคู่หลังเป็นแบบกระโดด ตั๊กแตนมีอวัยวะพิเศษคือ อวัยวะทำเสียง และอวัยวะฟังเสียง เพื่อใช้ในการสื่อสาร หาคู่ และไล่ศัตรู อวัยวะทั้งสองอย่างสามารถช่วยแยกกลุ่มของแมลงได้ การเจริญและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นแบบ Paurometabola เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า gradual metamorphosis เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย ระยะตัวอ่อนเรียกว่า Nymph  ตัวอ่อนจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเต็มวัยแต่ยังไม่มีปีก และจะลอกคราบและเจริญเติบโตไปจนเป็นตัวเต็มวัยเมื่อมีการลอกคราบครั้งสุดท้าย  การวางไข่  มีลักษณะแตกต่างกัน อาจเป็นไข่เดี่ยวหรือไข่กลุ่ม มีทั้งวางในดินและวางไข่ในพืชอาหาร 
 
 

ภาษาสเปน                        Saltamontes (ซัลตาโม้นเตส)
ภาษาโปรตุเกส                  Gafanhoto (กาฟันโอ้โตะ)
ภาษาอิตาลี                       Cavalletta (กาวัลเลตตะ)
ภาษาฝรั่งเศส                    Sauterelle (ซัวเทเหรอะ)
ภาษาเยอรมัน                    Heuschrecke (ฮอยชเรคเขอะ)
ภาษารัสเซีย                      Кузнечик (กุสนีชิก)
ภาษากรีก                          Ακρίδα (อากรี้ดะ)
   


ตั๊กแตนส่วนใหญ่ที่พบ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ ตั๊กแตนหนวดสั้น , ตั๊กแตนหวดยาว  และตั๊กแตนแคราะ 
 
ตั๊กแตนหนวดสั้นที่พบมีอยู่หลายชนิด ลักษณะเด่น คือมีหนวดสั้น pronotum ยาวไม่ถึงท้อง ลำตัว มี 3 ปล้อง  อวัยวะวางไข่สั้น ลำตัวมีสีเทา หรือสีน้ำตาล ปีกของตั๊กแตนบางชนิดมีสีสรรสดใส การวางไข่จะวางเป็นกลุ่มในดิน ตั๊กแตนหนวดสั้นบางชนิดมีอวัยวะทำเสียง โดยการเสียดสีกันของปุ่มเล็กๆเรียงกันเป็นแถวตามยาวด้านในของขาคู่หลัง  และมีอวัยวะฟังเสียงที่เรียกว่า Tympanum  เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง รอรับการกระทบของคลื่นเสียง พบที่ ส่วนท้องปล้องที่ 1 ทางด้านข้างของตั๊กแตน   ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่ตามใบไม้ 

       
 ตั๊กแตนหนวดยาว เป็นแมลงที่มีลำตัวขนาดใหญ่ ลำตัวสีเขียวหนวดยาว มี 4 ปล้อง อวัยวะทำเสียงเกิดจากการเสียดสีกันของปีกคู่หน้า และมีอวัยวะรับฟังเสียงอยู่ที่ขาคู่หน้า  อวัยวะวางไข่แข็งแรงรูปร่างคล้ายดาบ   ชอบวางไข่บนหรือภายในเนื้อเยื่อพืช  ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ จะพบเห็นตั๊กแตนหนวดยาวได้น้อยกว่า ตั๊กแตนหนวดสั้น


ตั๊กแตนแคราะ  จัดอยู่ในวงศ์ Tetrigidae  ลักษณะจะใกล้เคียงกับตั๊กแตนหนวดสั้น แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีขนาดประมาณ 13 19 มิลลิเมตร  ตัวเมียมักมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ลักษณะเฉพาะ คือ pronotum ขยายไปทางด้านหลังคลุมส่วนท้อง ปีกคู่หน้าสั้น ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ มักพบอยู่ตามทางเดิน  เวลาเดินไปบริเวณที่ตั๊กแตนอาศัยอยู่  มันจะกระโดดหนีไปทางด้านหน้าของเรา


จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
1 กุมภาพันธ์ 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น