นกฟลามิงโก ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร
ข้อมูลโดย school.net.th
นกฟลามิงโก (Flamingos)
เป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเป็นจำนวนหลายพันตัว
มีลักษณะพฤติกรรมพิเศษ คือชอบที่จะย้ายถิ่นฐานไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น
ตามทะสาบน้ำตื้น และปากแม่น้ำที่เชื่อมระหว่างน้ำเค็มกับน้ำจืด ลักษณะทั่วไปของนกฟลามิงโก คือ มีขนาดประมาณ 80-145 ซม.
น้ำหนักตัวประมาณ 2-3 กก. คอและขายาว จะงอยปากมีลักษณะเป็นตะของุ้มแข็งแรง
และมีแนวของรูเรียงเป็นแถงที่จะงอยปากส่วนบน ที่ลิ้นจะมีตุ่มเล็กๆ
ซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันเรียงกันอยู่ ขนมีสีขาว ชมพู แดง
และสีดำซึ่งแซมอยู่ตามปลายปีกและลำตัวเพียงเล็กน้อย ปีกสั้น
และเท้ามีขนาดเล็ก นกชนิดนี้มีเสียงร้องเหมือนห่าน บินได้เร็ว
เวลาบินจะยืดคอตรงออกไปข้างหน้าและเหยียดขาไปทางข้างหลัง
ภาษาสเปน Flamenco (ฟลาเม้งโก)
ภาษาโปรตุเกส Flamingo (ฟลามิ้งกู)
ภาษาอิตาลี Fenicottero (เฟนิโกตเต้โหระ)
ภาษาฝรั่งเศส Flamant (ฟล้ามอง)
ภาษาเยอรมัน Flamingo (ฟลามิ้งโกะ)
ภาษารัสเซีย Фламинго (ฟลามิ้นกะ)
ภาษากรีก Φοινικόπτερος (โฟนิโก้บเตโรส)
นกชนิดนี้ที่รู้จักกันดีมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ greater
flamingos (Phoenicopterus ruber) และ lesser flamingos (Phoeniconaias
miner) ซึ่ง 2 ชนิดนี้ จะแตกต่างกันตรงที่สีและขนาดของลำตัวนั่นเอง
ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกฟลามิงโก กระจายไปทั่วทุกทวีป สำหรับ
greater flamingos จะพบได้มากที่สุดที่ประเทศยูเรเซีย ทวีปแอฟริกา
ทางตอนกลางและตอนใต้ของทวีปอเมริกา ส่วน lesser flamingos
จะพบได้มากที่ทะเลสาบนาคุรุ (Nakuru) ในประเทศเคนยา (Kenya)
นกฟลามิงโกชอบที่จะหากินอยู่ตามแหล่งน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย
เวลากินอาหารมันจะจุ่มปากของมันลงในน้ำ
และพ่นน้ำหรือดินโคลนออกตามรูที่อยู่บนปากจะงอยส่วนบน
เพื่อให้เหลือเพียงกากซึ่งประกอบด้วยพวกแพลงก์ตอน สาหร่าย ไรน้ำ
และสารอาหารที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แล้วกลืนกินลงไปเป็นอาหารในการผสมพันธุ์มันจะเลือกคู่เพียงผัวเดียวเมียเดียวและสร้างรังตามทะเลสาบ
ซึ่งรังของมันจะมีลักษณะเป็นถ้วยตื้นๆ ทำจากโคลนและเศษไม้รวมกัน
มันจะวางไข่เพียง 1-2 ฟอง (ไข่มีสีขาว) ใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน
หลังจากที่ฟักตัวออกมาแล้ว ลูกนกจะออกจากรังและมาอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่
ลูกนกเหล่านี้ สามารถที่จะวิ่งและว่ายน้ำได้ดี
เมื่อมีอายุเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
15 กุมภาพันธ์ 2013
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น