วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ซาน เตี้ยโกะ เมืองหลวงของชิลี

Santiago de Chile 
เมืองนักบุญเตียโก้ แห่งประเทศชิลี (San ภาษาสเปน แปลว่า "นักบุญ")
ข้อมูลโดย wikipedia และ thaiembassychile.org

ซาน เตี้ยโกะ เด ชิเล เป็นเมืองหลวงของประเทศชีิลี ซึ่งเกือบสามศตวรรษแล้ว ที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้เปลี่ยนให้ซาน เตี้ยโกะ เป็นเขตนครหลวงที่สมัยใหม่ที่สุดแห่งหนึ่งในลาตินอเมริกา
 

พร้อม ๆ กับการพัฒนาเขตชานเมืองอย่างกว้างขวาง ศูนย์การค้าหลายสิบแห่ง และสถาปัตยกรรมที่น่าประทับใจ รวมทั้งมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของลาตินอเมริกาเป็นที่ เชิดหน้าชูตา เช่น ซาน เตี้ยโกะ เมโทร (Santiago Metro) และระบบใหม่ "โกสตาเนรา นอร์เต (Costanera Norte - ชายฝั่งทางตอนเหนือ)" เป็นระบบขนส่งของย่านกลางกรุง เชื่อมระหว่างด้านตะวันออกสุดไปด้านตะวันตกสุดของเขตเมืองภายในเวลา 15 นาที

ประวัติความเป็นมา



กรุงซาน เตี้โกะ  เป็นเมืองหลวงของประเทศชิเล และ เป็นเมืองใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศ มีพลเมืองอาศัยอยู่มากกว่า 6 ล้านคน าน เตี้ยโกะ ตั้งอยู่บนความสูง 543 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล  อยู่ในเขตภาคกลางของประเทศที่เป็นที่ราบในหุบเขาของเทือกเขอันเดส ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 40 กิโลเมตร และอย่างจากชสยฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเพียง100 กิโลเมตร
             กรุงซน เตี้ยโกะ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1541 โดยเปโดร เด บัลดิเบีย (Pedro de Valdivia) นายทหารชาวสเปน ซึ่งเป็นชาวยุโรปที่เดินทางมาถึงที่นี่ บัลดิเบียได้ขี่ม้าขึ้นไปบนเนินเขาที่มีชื่อว่าอูเล็น (Huelen) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นซันตาลูเซีย (Santa Lucia) และมองลงมาจะเห็นแม่น้ำมาโปโช (Mapocho) กับทิวทัศน์ของหุบเขาที่งดงาม  จึงตกลงใจสร้างเมืองขึ้น โดยตั้งชื่อว่าน เตี้ยโกะ เดล นวยโบ เอกซ์เตรโม (Santiago del Nuevo Extremo) ตามชื่อนักบุญน เตี้ยโกะ หรือเซนต์เจมส์ ผู้คุ้มครองสเปน ส่วนเอกซ์เตรโม มาจากชื่อเมืองเอกซ์เตรมาดูรา (Extremadura) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา โดยในครั้งแรกมีบ้านเรือนเพียง 200 หลัง ประชากรชาวสเปน 700 คน และคนรับใช้กับคนงานอีก 1,000 คน นอกจากนี้ผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานยังต้องเผชิญกับการคุกคามของชาวอาราวกาเนียน (Araucanian) ซึ่งเป็นเจ้าของถิ่นดั้งเดิม

สถาปัตยกรรม


อาคารยุคแรกของกรุงน เตี้ยโกะ ออกแบบโดยเปโดร เด กัมบัว (Pedro de Gamboa) สถาปนิกชาวสเปนที่มีชื่อเสียง โดยมีการวางผังเมืองเป็นอย่างดี สถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ ได้แก่ พลาซา เด  อาร์มัส (Plaza de Armas) หรือจตุรัสกลางเมือง ศาลาว่าการเมือง (Cabildo) ทำเนียบผู้ว่าการเมือง สภาเมือง วิหารใหญ่ (Cathedral) รวมทั้งอาคารที่พัก ร้านค้า และตลาด 

             ในยุคอาณานิคม ระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 กรุงน เตี้ยโกะ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้มีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสำคัญได้แก่ ลา โมเนดา (La Moneda) ซึ่งปัจจุบันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี  และทำเนียบรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทำการไปรษณีย์กลาง ในรูปแบบนีโอคลาสสิก
             สิ่งสำคัญซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวอาณานิคมได้แก่ศาสนา  กรุงน เตี้ยโกะเองก็มีการสร้างวิหาร โบสถ์ และสำนักคอนแวนต์ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมหาวิทยาลัยในความดูแลของคณะสงฆ์ ตามแบบสถาปัตยกรรมของสเปน
            กรุงน เตี้ยโกะ เคยเผชิญอุบัติภัยจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในปี 1647 ซึ่งทำลายอาคารเก่าแก่อันงดงามพังทลายลงเป็นจำนวนมาก และเมื่อเริ่มศตวรรษที่ 19 ซันติอาโกก็กลายเป็นสมรภูมิของสงครามประกาศเอกราช ระหว่างกองทัพประชาชนกับกองทหารอาณานิคมของสเปน ซึ่งยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายกู้เอกราช และตามมาด้วยการสถาปนา ระบบสาธารณรัฐ สถาปัตยกรรมในยุคนี้มีความทันสมัยและเป็นอิสระทางความคิดขึ้น
             ปัจจุบัน กรุงน เตี้ยโกะมีประชากรกว่า 6 ล้านคน และเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ทั่วไป ที่เต็มไปด้วยตึกสูง อาคารที่กรุกระจก การจราจรที่คับคั่ง ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ประชากรจำนวนมาก และมลพิษต่าง ๆ แต่กรุงน เตี้ยโกะก็ยังคงมีเสน่ห์ในตัวเอง ทั้งภูมิประเทศ สถาปัตยกรรมเก่า และเรื่องราวในอดีต ให้ค้นหาและชื่นช
 
นอกจากนี้ กรุงซน เตี้ยโกะ ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทสำคัญหลายแห่งและเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของภูมิภาคอีกด้วย
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก 
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
27 กุมภาพันธ์ 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น