วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Elderberry

ข้อมูลโดย dek-d.com และ nanahealth.com

 

     Elderberry (เอลเดอร์เบอรี่) มีถิ่นกำเินิดในทวีปอเมริกาเหนือ , อเมริกาใต้ , ยุโรป และทวีปออสเตรเลีย เป็นผลเบอร์รี่ที่ได้จากไม้พุ่มขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยเรียกว่า "พวงไข่มุก" หรือ "ต้นอูน" ดอกมีสีเหลือง-ขาว ผลมีสีม่วง-ดำ เอลเดอร์เบอร์รี่จัดเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ของผู้คนในอดีต หลายประเทศในแถบยุโรปนำดอกเอลเดอร์เบอร์รี่มาเตรียม ในรูปน้ำเชื่อมเพื่อใช้รับประทานเป็นอาหารเช้า รวมทั้งการใช้ผลมาทำเป็น เครื่องดื่ม ไวน์ แยม น้ำผลไม้ และใช้เป็นส่วนผสมในมาร์ชแมลโล  เป็นต้น

 

     เอลเดอร์เบอร์รี่เป็นผลไม้ตะกูลเบอร์รีพุ่มขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแทบจะไม่รู้จักกันเลย เนื่องจากเอลเดอร์เบอร์รี่ค่อนข้างที่จะหายากในบ้านเรา ยังไม่มีการนำเข้าแบบจริงจัง 

     เอลเดอร์เบอร์รี่ขึ้นชื่อมากด้านการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคไข้หวัดและต้านไวรัสได้ และมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) ที่ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอีกมากมายที่ร่างกายเราควรได้รับ อาทิเช่น รูทีน วิตามิน A , B และ K นอกจากนั้นยังมีแร่ธาตุอีกหลายชนิด จากการวิจัยของมหาวิทยาลัย Hebrew-Hadassah Medical School ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและผลิตยาพบว่า คนที่ทานเอลเดอร์เบอร์รี่เป็นประจำ จะมีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสสูงกว่าคนปกติถึง 3 เท่า ฉะนั้นแล้วคนที่ป่วยเป็นไข้เป็นหวัดบ่อย ถ้าได้รับสารสกัดจาก เอลเดอร์เบอร์รี่ก็จะช่วยส่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ 
 

ภาษาตะวันตกเรียก Elderberry ต่างกันดังนี้
 
ภาษาฝรั่งเศส Sureau (ซูโคร)
ภาษาโปรตุเกส Sabugueiro (ซาบูเกย์รู)
ภาษาสเปน Saúco (เซ้าโก)
ภาษาเยอรมัน Holunderbeere (โฮลุนเดอร์บีเรอ)
ภาษารัสเซีย Ягода  бузины (ยาโกดา บูซีนือ)



Rejoignez le groupes de facebook "Le Club des Langues occidentales de Université Ramkhamhaeng" à https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

 จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
28 กุมภาพันธ์ 2014










วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Blackberry

 ข้อมูลโดย Dek-d.com

 

     Blackberry (แบล็กเบอร์รี่) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป เป็นผลไม้ที่มีรูปร่างแปลกตา หาดูยากในบ้านเรา แต่ว่ามีประโยชน์มากมาย เป็นผลไม้ป่าที่กินได้ ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับกุหลาบ พบทั่วไปในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นทางซีกโลกเหนือ โดยธรรมชาติเป็นไม้ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในป่า ตามเนินเขา แนวพุ่มไม้ และตามพุ่มไม้สองข้างทาง เป็นไม้ที่สามารถเติบโตได้แม้อยู่ดินที่ไม่ดีนัก ดอกของมันจะออกราวปลายฤดูใบไม้ผลิถึงต้นฤดูร้อน ส่วนผลออกตอนปลายฤดูร้อนราวเดือนสิงหาคม ผลที่สุกจะมีสีดำ จึงเป็นที่มาของชื่อ  มีขนาดราวหัวนิ้วก้อย รสก็มีตั้งแต่เปรี้ยวจัดไปจนถึงหวาน เหมาะที่จะกินสดหรือทำแยมผลไม้ 
 ประโยชน์ของแบล็กเบอร์รี่

 
     
     แบล็กเบอร์รี่มีคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง รวมทั้งเส้นใยอาหาร  (dietary fiber) วิตามินซี วิตามินเค กรดโฟลิก วิตามินบี เกลือแร่ และแมงกานีส

·       แบล็กเบอร์รี่สดเป็นแหล่งที่มีกรดฟีโนริก วิตามินซี และโฟเลตสูงสุด ช่วยเสริมสร้างและฟื้นฟูคอลลาเจนได้ทำให้ผิวหนังเราไม่เหี่ยวย่นก่อนวัยอัน ควร

·       มีสารเคมีชนิดหนึ่งเรียกว่า Salicylate ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ และโรคหัวใจ

·       มีสารแทนนินทำให้เนื้อเยื่อหดตัว มีผลห้ามเลือดได้

·       ช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงและอาการอักเสบของลำไส้


ภาษาตะวันตกเรียก Blackberry ต่างกันดังนี้
 
ภาษาฝรั่งเศส Mûre (มิวร์)
ภาษาโปรตุเกส Amora (อาโม้รา)
ภาษาสเปน Mora (โม้รา)
ภาษาเยอรมัน Brombeere (บรอมบีเรอ)
ภาษารัสเซีย Ежеви́ка (ยีแชวีกา)
ภาษากรีก βατόμουρο (บาโต้มูโร)




Rejoignez le groupes de facebook "Le Club des Langues occidentales de Université Ramkhamhaeng" à https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
27 กุมภาพันธ์ 2014

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Raspberry


ข้อมูลโดย nanahealth.com
 
     
     Raspberry (ราสพ์เบอร์รี) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในยุโรป ผลสีแดงขนาดเล็ก มีทั้งรสหวานและเปรี้ยว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศที่อบอุ่น ราสพ์เบอร์รี่นอกจากจะเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อด้านความอร่อยแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆมากมาย เช่น วิตามินC , วิตามิน A , วิตามิน B1,3,5,6,9 , วิตามิน E , โคลีน วิตามิน K เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีสาร Life Sciences ที่เชื่อว่าช่วยป้องกันโรคอ้วนได้ โดยการค้นพบนี้เป็นผลงานของนักวิจัยชาวญี่ปุ่นซึ่งได้ทดลองกับหนู แล้วพบว่าหนูีมีน้ำหนักลดลง ทั้งนี้ยังมีสารต้าน และยับยั้งอนุมูลอิสระหลายชนิด ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อีกตัวหนึ่งที่นำมาแปรรูปมากที่สุดเช่น แยม อบแห้ง น้ำผลไม้ราสพ์เบอร์รี่ ยังนำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มต่าง ๆ และนำมาสกัดเป็นยาลดอ้วนได้อีกด้วย


     สารชนิดหนึ่งที่อยู่ในราสพ์เบอร์รี่เรียกว่า Ketone (คีโตน) เป็นสารที่อยู่ในพืชผักผลไม้ทั่วไปโดยเฉพาะราสพ์เบอร์รี่ถือว่ามีคีโตนมากพอสมควร ทำหน้าที่ควบคุมโปรตีน และช่วยเร่งการเผาผลาญพลังงานให้เร็วและนำไปใช้ได้มากขึ้น ทำให้ไขมันละลายได้มากขึ้น ส่งผลทำให้รูปร่างผอมลงเพราะไขมันส่วนเกินได้ถูกย่อยสลาย และยังส่งผลดีต่อการทำงานของเส้นเลือดฝอย ช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด ปัจจุบันนี้มีผลการวิจัยออกมาอย่างแพร่หลาย ถึงประสิทธิภาพของมัน และยังไม่ส่งผลข้างเคียงอันใดแก่ร่างกายด้วย
 
     
     นอกจากนี้ ราสพ์เบอร์รี่มีประสิทธิภาพในการรักษาและยับยั้งสารอนุมูลอิสระได้มากกว่ามะเขือเทศถึง 20 เท่าเลยทีเดียว และมีการนำสารสกัดจากราสพ์เบอร์รี่มาเป็นส่วนผสมในยาเพราะในผลของราสพ์เบอร์รี่มีวิตามิน C ที่เป็นสารสร้างภูมิคุ้มกันอยู่ถึง 26 เปอร์เซนต์ และเนื่องจากมีวิตามิน C และ E สูง จึงทำให้ท่านที่รับประทานเป็นประจำมีผิวพรรณที่สดใสเปล่งปลั่ง และยังลดอาการเลือดไหลไม่หยุดอีกด้วย เพราะมีวิตามิน K ที่ช่วยสร้างเกร็ดเลือดให้มีความแข็งแรง

ภาษาตะวันตกเรียก Raspberry ต่างกันดังนี้
ภาษาฝรั่งเศส Framboise (ฟรองบัวเซอ)
ภาษาโปรตุเกส Framboesa (ฟรัมบัวซา)
ภาษาสเปน Frambuesa (ฟรัมบ๊วยซา)
ภาษาเยอรมัน Himbeere (ฮิมเบเรอ)
ภาษารัสเซีย Малина (มาลีนา)
ภาษากรีก βατόμουρο (บาโตมูโร)


Participe do grupo do Facebook "Clube de línguas ocidentais da Universidade deRamkhamhaeng" ao https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
26 กุมภาพันธ์ 2014





วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Cranberry

ข้อมูลโดย kapook.com
 

     Cranberry (แครนเบอร์รี่) เป็นหนึ่งในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีผลเล็ก ๆ สีแดงสด รสชาติหวานอมเปรี้ยว มักจะปลูกในแถบประเทศอเมริกา และแคนาดา แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ทานเจ้าผลไม้นี้แบบสด ๆ กันสักเท่าไหร่ มักจะได้ทานแครนเบอร์รี่ในรูปแบบที่ผสมมากับอาหารชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำผลไม้ ซอส แยม โยเกิร์ต รวมทั้งแครนเบอร์รี่อบแห้ง โดยแครนเบอร์รี่สด ๆ 100 กรัม มีสารอาหารมากมายดังนี้

          พลังงาน 46 กิโลแคลอรี
          ไฟเบอร์ 4.6 กรัม
          น้ำตาล 4.04 กรัม
          แคลเซียม 8 มิลลิกรัม
          แมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม
          แมงกานีส 0.15 มิลลิกรัม
          ฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม
          โพแทสเซียม 85 มิลลิกรัม
          โซเดียม 2 มิลลิกรัม
          วิตามินซี 13.3 มิลลิกรัม
          วิตามินเอ 60 IU
          วิตามินเค 5.1 ไมโครกรัม
          แคโรทีน 36 ไมโครกรัม
          ลูทีน และซีแซนทีน 91 ไมโครกรัม


ประโยชน์ของ Cranberry

แก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 
     แครนเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรีย จึงมีสรรพคุณต่อกรกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เนื่องจากในแครนเบอร์รี่มีสารหลายชนิด โดยเฉพาะสารแทนนิน ที่ช่วยหยุดการเกาะตัวของแบคทีเรียอี โคไล ที่บริเวณผนังทางเดินปัสสาวะ คนที่เป็นโรคนี้ให้ดื่มน้ำแครนเบอร์รี่เข้มข้น ไม่มีน้ำตาลแก้วละ 250 มิลลิลิตรทุกวัน วันละ 3 แก้ว ถ้าจิบวันละ 1 แก้วจะช่วยป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นโรคนี้ได้อีก หรือรับประทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากแครนเบอร์รี่วันละ 800 มิลลิกรัมก็จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยขจัดกลิ่นในปัสสาวะได้ด้วย

ช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากอากาศหนาว
     แครนเบอร์รี่มีวิตามินซีสูง จึงช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่มากับอากาศหนาวได้ และยังเหมาะที่จะนำไปทำเครื่องดื่มประเภทสมูธตี้ผลไม้ นำส้มคั้นลูกขนาดกลางหนึ่งลูก เกรปฟรุตครึ่งลูกคั้นเอาแต่น้ำใส่ในเครื่องปั่น เติมแครนเบอร์รี่ 2 กำมือและกล้วย 1 ผลลงไป ปั่นให้เข้ากัน ดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน และช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าเหมือนอยู่ในฤดูร้อนที่แสนสดใส

ผิวพรรณและริมฝีปากเนียนนุ่มชุ่มชื่น
     แครนเบอร์รี่อุดมไปด้วยวิตามินซี และแอนตี้ออกซิเดนท์จำนวนมากที่ช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื่น จึงเหมาะที่จะนำไปทำเป็นลิปมัน เพื่อป้องกันริมฝีปากแห้งแตกในช่วงหน้าหนาว โดยนำแครนเบอร์รี่ 10 ผลผสมกับน้ำมันสวีทอัลมอนด์ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำมันวิตามินอี 1 หยด ไปต้มจนเดือด นำส่วนผสมที่ได้ไปบดให้ละเอียดผ่านกระชอน เสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็น นำมาทาเวลาปากแห้ง
     นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยพบว่า ในแครนเบอร์รี่มีสารโปรแอนโธไซยานิดีน (Proanthocyanidine) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสีกลุ่มสีม่วงที่ดีกับสุขภาพเส้นเลือดอีกด้วย แถมยังช่วยป้องกันโรคเหงือก และแผลในช่องท้องได้อีกต่างหาก

 

ในภาษาตะวันตกเรียก Cranberry ต่างกันดังนี้

ภาษาฝรั่งเศส - Canneberge (กันเนอแบรช)
ภาษาโปรตุเกส - Oxicoco (โอชิโกกู)
ภาษาสเปน - Arándano agrio (อารั้นดาโน อาเกรียว)
ภาษาเยอรมัน - Preiselbeere (พรายเซลเบเครอ)
ภาษารัสเซีย - Клю́ква (กลู๊กวา)
ภาษากรีก - Φίγγι (ฟีกกิ)


Rejoignez le groupes de facebook "Le Club des Langues occidentales de Université Ramkhamhaeng" à https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
25 กุมภาพันธ์ 2014

     

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Bilberry

ข้อมูลโดย dek-d.com

 

     Bilberry (บิลเบอร์รี่) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ผลของบิลเบอร์รี่มีสีน้ำเงินม่วง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใกล้เคียง กับ Blueberry ของแถบอเมริกาเหนือ พบมากในประเทศแถบประเทศยุโรปตอนเหนือ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ที่มักจะนิยมนำผลบิลเบอร์รี่สุกมาทำเป็นแยมมานานกว่า 100 ปีแล้ว  

     บิลเบอร์รี่จัดเป็นทั้งอาหารและพืชสมุนไพร มีการใช้บิลเบอร์รี่ในการบรรเทาอาการท้องเสีย รักษาเส้นเลือดขอดและการอักเสบของเยื่อบุต่างๆ นอกจากนี้ยังนำส่วนของใบและก้าน ไปทำเป็นผลแห้งเพื่อทำเป็นผงชาสำหรับดื่มเพื่อสุขภาพกันอย่างแพร่หลายอีก มีสรรพคุณที่ทำให้ความสามารถในการมองเห็นตอนกลางคืนดีขึ้น และทำให้อาการเมื่อยล้าของดวงตาเมื่อใช้สายตานาน ๆ น้อยลง 

  ข้อมูลโดย Healthy Eyes by Bilberry
ประโยชน์ของ Bilberry

 
  
บิลเบอร์รี่กับสุขภาพดวงตา
      ความสนใจในการนำผลบิลเบอร์รี่มาใช้ประโยชน์ทางด้านสุขภาพมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนักบินทหารอากาศของสหราชอาณาจักร สังเกตว่าเมื่อรับประทานแยมบิลเบอร์รี่หรือผลบิลเบอร์รี่สุกก่อนทำการบินในเวลากลางคืน ทำให้ความสามารถในการมองเห็นในเวลากลางคืนดีขึ้น และทำให้อาการเมื่อยล้าของตาเมื่อต้องใช้สายตานาน ๆ น้อยลง

      ซึ่งต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับบิลเบอร์รี่กันมากขึ้น โดยเฉพาะประโยชน์ของบิลเบอร์รี่ต่อสุขภาพดวงตา ซึ่งพบว่าบิลเบอร์รี่อุดมไปด้วยกลุ่มของสารสีน้ำเงินอมม่วงที่มีชื่อว่า แอนโธไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides) จัดเป็นสารประเภทฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก (Potent Antioxidant) ซึ่งเชื่อว่าสารนี้เองเป็นส่วนสำคัญที่ใช้บำรุงสุขภาพดวงตา ช่วยให้การมองเห็นในที่มืดดีขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ที่เป็นโรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness) นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันจอประสาทตา (Retina) จากการถูกทำลายโดยกระบวนการออกซิเดชันที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ช่วยลดอนุมูลอิสระในจอตา และยังช่วยสร้างโรดอพซิน (Rhodopsin) ซึ่งเป็นสารสีที่พบในจอรับภาพในตา ดังนั้นจึงมีการใช้บิลเบอร์รี่เพื่อป้องกันอาการเสื่อมที่เกิดกับดวงตา เช่น ต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น



บิลเบอร์รี่กับความแข็งแรงของหลอดเลือด

      บิลเบอร์รี่ยังสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด และลดโอกาสการเกิดสภาวะหลอดเลือดแข็ง ช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ช่วยลดภาวะหรืออาการปวดจากเส้นเลือดขอด รวมถึงการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดฝอยในตา ซึ่งให้ผลดีในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะโรคเบาหวานร่วมกับการมีความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดการทำลายหลอดเลือดใน ตาทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เกิดโรคแทรกซ้อนทางตาได้ง่าย 


ประโยชน์อื่นๆ ของบิลเบอร์รี่
      นอกจากนี้บิลเบอร์รี่สามารถช่วยป้องกันโรคหรือบรรเทาอาการจากโรคติดเชื้อใน ทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากบิลเบอร์รี่มีสารประกอบที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็น สาเหตุบางชนิดได้ บิลเบอร์รี่ยังเป็นแหล่งของวิตามินเอ และซี ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ทำให้มีการใช้สำหรับบำรุงสุขภาพโดยรวม
 
     ปัจจุบันบิลเบอร์รี่ได้ถูกนำมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งเคล็ดลับในการเลือกซื้อที่สำคัญก็คือควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ผลิตจากสารสกัดบิลเบอร์รี่ที่มีการควบคุมมาตรฐาน (Standardized Extract) เพื่อจะได้ประโยชน์สูงสุดจากคุณค่าธรรมชาติในสารสกัดบิลเบอร์รี่ โดยคำเรียก Bilberry ของภาษาตะวันตก เหมือนคำเรียก Blueberry เลย เพราะเป็นผลไม้พันธุ์เดียวกัน อยากรู้ คลิกเลยที่ Blueberry

Participe do grupo do Facebook "Clube de línguas ocidentais da Universidade deRamkhamhaeng" ao https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
24 กุมภาพันธ์ 2014



วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Blueberry

 ข้อมูลโดย Wikipedia


     Berry (เบอร์รี) คือผลไม้ที่มีลูกกลม ๆ เล็ก ๆ มีสีสันสดใส ซึ่งเนื้อและเมล็ดเกิดขึ้นจากรังไข่เดียว มีรสเปรี้ยวหรือหวาน คำว่าเบอร์รีมักจะถูกใช้เรียก เช่น Strawberry (สตรอว์เบอร์รี) , Blueberry (บลูเบอร์รี) Bilberry (บิลเบอร์รี) เป็นต้น

     ส่วน บลูเบอร์รี เป็นพืชไม้ดอกทรงพุ่ม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ และในทวีปยุโรป ผลของบลูเบอร์รี่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  5-16 ม.ม. มีวงแหวนเล็ก ๆ คล้ายมงกุฎที่ปลายผล ช่วงที่ผลอ่อน จะมีสีเขียวอ่อน พอแก่ขึ้นมาหน่อยก็จะมีสีม่วงแดง และเมื่อสุกจะมีสีคราม หรือน้ำเงินม่วง เมื่อสุกเต็มที่จะมีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว  

 
    
     สายพันธุ์ของต้นบลูเบอร์รี่มีหลายขนาด ตั้งแต่สายพันธุ์ขนาดเล็ก "lowbush blueberries" ความสูงประมาณ 10 ซม. ไล่ไปจนถึงสายพันธุ์ขนาดใหญ่ "highbush blueberries" ที่อาจมีความสูงถึง 4 เมตรทีเดียว บลูเบอร์รีสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดพุ่มสูงที่ปลูกกันตามบ้าน และชนิดพุ่มเตี้ย หรือ บลูเบอร์รีป่า
ข้อมูลโดย prayod.com
ประโยชน์ของบลูเบอร์รี

 

     บลูเบอร์รีขึ้นชื่อว่าเป็นผลไม้ที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในระดับสูงมาก ที่สำคัญคือบลูเบอร์รีสดยังเป็นผลไม้ที่ติด 1 ใน 10 ของผักผลไม้ที่มีค่าโอแร็ก (ORAC : Oxygen Radical Absorbance Capacity) สูงสุด ซึ่งค่าดังกล่าวเป็นหน่วยวัดความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ เพราะในบลูเบอร์รีนั้นมีวิตามินเอ ซี และอี ที่ช่วยบำรุงผิว บำรุงผม และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน มีแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่งที่ทำให้บลูเบอร์รีมีสีน้ำเงินเข็มหรือม่วง เป็นประโยชน์ต่อระบบการไหลเวียนโลหิต และช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ในร่างกายที่มีสาเหตุจากอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี การกินบลูเบอร์รีเป็นประจำจึงช่วยลดการเกิดริ้วรอยก่อนวัย และลดโอกาสเกิดโรคความจำเสื่อมอย่างอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) ได้ 

     นักวิจัยในสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอรายงานการค้นพบสารเทโรสทิลบีน (Pterostilbene) ที่มีฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอล ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยทีมวิจัยระบุว่า สารดังกล่าวใช้ได้ผลดีพอ ๆ กับยาลดคอเลสเตอรอลชนิดหนึ่ง แต่ให้ผลแม่นยำกว่าและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ตามธรรมชาติ  



     บลูเบอร์รีมีเพกตินซึ่งเป็นเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ จึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและยับยั้งการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย มีกรดเอลลาจิก ที่อาจช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งและการเจริญของเซลล์เนื้องอก และที่พิเศษสำหรับคุณผู้หญิงโดยเฉพาะก็คือ บลูเบอร์รีช่วยป้องกันโรคที่มักเกิดในผู้หญิง อย่างโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพราะมีสารช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียภายในระบบทางเดินปัสสาวะ ด้วยประโยชน์มากมายของบลูเบอร์รี จึงทำให้ใครหลายคนหันมาสนใจผลไม้ชนิดนี้มากขึ้น บอกได้เต็มปากว่าคุ้มค่าเกินราคาและสมแล้วที่เป็นผลไม้ที่ชาวยุโรปนิยมกินกัน

สำหรับคำว่า Blueberry ในภาษายุโรปเรียกต่างกันดังนี้

Myrtille (เมียร์ติล - ภาษาฝรั่งเศส) 
Mirtilo (มีร์ติลู - ภาษาโปรตุเกส)
Arándano (อารั้นดาโน - ภาษาสเปน)
Heidelbeere (ไฮเดลบีเครอ - ภาษาเยอรมัน)
Черни́ка (ชีร์นีกา - ภาษารัสเซีย)
Μυρτιλός (มีร์ติลอส - ภาษากรีก)


Participe do grupo do Facebook "Clube de línguas ocidentais da Universidade deRamkhamhaeng" ao https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
23 กุมภาพันธ์ 2014


วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แหล่งกำเนิดของ Strawberry

ข้อมูลโดย Wikipedia และ mju.ac.th
 

     สตรอว์เบอร์รีมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ (แคนาดาและสหรัฐอเมริกา) แล้วแพร่กระจายไปยังทวีปยุโรป ตลอดจนถึงซีกโลกตะวันตก สวนสตรอว์เบอร์รีแห่งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างปลายปีศตวรรษที่ 18 ชาวฝรั่งเศสเริ่มต้นปลูกสตรอว์เบอร์รีป่า ภายในสวนของพวกเขาไว้สำหรับการเก็บเกี่ยว ภายหลังสตรอว์เบอร์รีได้กระจายไปทั่วยุโรป นิยมปลูกกันในหลายประเทศ ภาษาฝรั่งเศสเรียกสตรอว์เบอร์ว่า Fraise (เฟรเซอ)

     สำหรับการแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยนั้น ชาวอังกฤษผู้หนึ่งได้นำต้นสตรอว์เบอร์รีเข้ามาปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 

 

     สตรอว์เบอร์รีเป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก สตรอว์เบอร์รีมีวิตามินเอ , วิตามินบี , วิตามินซี , กรดโฟลิก (Folic acid) และมีเส้นใยอาหาร (Fiber) อีกด้วย

ข้อมูลโดย kapook.com
ประโยชน์ของ Strawberry

          1.ช่วยล้างพิษที่สะสมในร่างกาย เช่น กรดยูริก สาเหตุสำคัญของโรคข้ออักเสบและโรคเกาท์

          2.ช่วยให้ห่างไกลโรคต่าง ๆ ทั้งโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็งลำไส้นิ่วในไต สีแดงสดของสตรอเบอร์รีล้วนอุดมไปด้วยซูเปอร์ไฟเบอร์เพคติน และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลและช่วยเคลือบทางเดินอาหารอีกด้วย

          3.ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองโดยสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยฟื้นคืนความอ่อนเยาว์ให้กับระบบประสาท

          4.ช่วยดูแลสายตา สารต้านอนุมูลอิสระในสตรอเบอร์มีส่วนช่วยชะลอขบวนการเสื่อสภาพของดวงตาได้

          5.ช่วยลดความอ้วน สตรอเบอร์รีคือผลไม้เพื่อการลดน้ำหนักที่สุดแสนจะเพอร์เฟ็กต์ เพราะปริมาณ 1 ถ้วยให้พลังงานเพียง 49 แคลอรี เท่านั้น และยังอุดมด้วยไฟเบอร์ช่วยให้อิ่มท้องและช่วยระบบการขับถ่าย

          6.ช่วยดูแลสุขภาพเหงือกและฟัน ช่วยรักษาแผลในปาก ช่วยดับกลิ่นปาก ทำให้ลมหายใจสดชื่น

          7.ใบสดของสตรอเบอร์รี ยังสามารถนำมาโขลกแล้วนำไปประคบ ช่วยลดอาการอักเสบและบวมช้ำได้อีกด้วย

          ถ้าจะให้ได้ประโยชน์จากสตรอว์เบอร์รีอย่างสูงสุด ควรรับประทานแบบสดแทนที่จะเป็นแบบผลไม้กวน (Jam) เพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อันใดแล้ว ยังมีน้ำตาลเยอะเกินไป ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ


Rejoignez le groupes de facebook "Le Club des Langues occidentales de Université Ramkhamhaeng" à https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
22 กุมภาพันธ์ 2014



วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ถิ่นกำเนิดของน้อยหน่า

 ข้อมูลโดย greenerald.com

 

     น้อยหน่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถวทวีปอเมริกากลางและใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ ภาษาสเปนเรียกน้อยหน่าว่า Anón (อาโนน) และพบได้ทั่วไปในเขตร้อนรวมถึงบ้านเรา โดยจะเพาะปลูกมากในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของผลน้อยหน่าเนื้อผลจะมีสีขาว ให้รสหวาน มีเมล็ดสีดำ ซึ่งส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาอาการต่างๆได้แก่ ผล ผลดิบ ผลแห้ง เมล็ด และใบ สำหรับบ้านเรานิยมนำใบหรือเมล็ดของน้อยหน่ามาใช้ในการกำจัดเหา เห็บหมัด เป็นต้น

     สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรบริโภคน้อยหน่าแต่เล็กน้อยและนานๆครั้ง เนื่องจากน้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีรสหวานจัดการรับประทานปริมาณมากอาจทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้



ประโยชน์ของน้อยหน่า

1.น้อยหน่า ประโยชน์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
2.ช่วยบำรุงผิวพรรณ เส้นผม และดวงตา
3.น้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีไขมันต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน และรักษาสุขภาพ (แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานถือเป็นข้อยกเว้น)
4.ช่วยรักษาโรคหอบหืด (วิตามินซี)
5.ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (เส้นใย)
6.น้อยหน่าช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล (วิตามินบี3)
7.ช่วยลดความดันโลหิต (โพแทสเซียม)
8.ช่วยบำรุงหัวใจ ให้มีสุขภาพแข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
9.มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
10.ใบน้อยหน่า สรรพคุณช่วยรักษาโรคมะเร็งและเนื้องอก (ใบ)
11.ช่วยรักษาโรคไขข้อและโรคข้ออักเสบ (แมกนีเซียม)
12.ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (แมกนีเซียม)
13.ช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย (แมกนีเซียม)
14.ช่วยส่งเสริมการผลิตพลังงานในร่างกาย (วิตามินบี)
15.ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบิน (hemoglobin) (ทองแดง)
16.ช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด (โฟเลต)
17.ช่วยทำให้อาเจียน (ราก)
18.ช่วยบรรเทาอาการปวดเหงือกปวดฟัน (เปลือกต้น)
19.ประโยชน์น้อยหน่า ช่วยในการย่อยอาการ ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก (ผล)
20.ใช้เป็นยาระบาย (ราก)
21.แก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น)
22.ใช้เป็นยาสมานลำไส้ (เปลือกต้น)
23.ช่วยแก้รำมะนาด (เปลือกต้น)
24.น้อยหน่า สรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคเริม (ผลแห้ง)
25.สรรพคุณทางยาของน้อยหน่า ใช้แก้พิษงู (ผล,ราก,เปลือกต้น)
26.แก้งูสวัด (ผลแห้ง)
27.ช่วยสมานแผล ใช้เป็นยาผาดสมาน (เปลือกต้น)
28.สรรพคุณน้อยหน่า ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ อักเสบ น้ำร้อนลวก (ผล)
29.น้อยหน่า สรรพคุณใช้แก้ฝีในลำคอ (ผล)
30.ใช้แก้ฝีในหู (ผลแห้ง)
31.เมล็ดน้อยหน่า สรรพคุณช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้เมล็ดหรือใบน้อยหน้าสดนำมาคั้นเอาน้ำแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ผล,ใบสด,เมล็ด)
32.ประโยชน์ของใบน้อยหน่า ใช้เป็นยารักษาหิด ด้วยการใช้สดหรือเมล็ดสด มาตำให้ละเอียด แล้วเติมน้ำมันพืชลงไปพอแฮะ แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 รอบ จนกว่าหิดจะหาย (ใบ,เมล็ด)
33.สรรพคุณ ใบน้อยหน่าช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม (ใบ)
34.สรรพคุณของน้อยหน่า ช่วยฆ่าพยาธิ (ผล,ใบ)
35.สรรพคุณของใบน้อยหน่า ช่วยฆ่าพยาธิในเด็ก ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 15 ใบนำมาต้มกับน้ำ 5 ถ้วยจนเหลือ 3 ถ้วยแล้วนำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง (ใบ)
36.ใบน้อยหน่ากำจัดเหา ช่วยทำให้ไข่เหาฝ่อ ฆ่าเหา ด้วยการใช้ใบน้อยหน้าสดประมาณ 4 ใบนำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วเอาน้ำที่ได้มาชโลมให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วใช้หวีสางออก (หรือจะใช้แค่น้ำคั้นจากใบอย่างเดียวก็ได้) หรือจะใช้เมล็ดนำมาบดคั้นกับน้ำมะพร้าว (อัตราส่วน 1:2) แล้วกรองเอาแต่น้ำมาชโลมให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผาโพกไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และห้ามชโลมยาทิ้งไว้ข้ามคืน ทำเสร็จแล้วให้สะผมทำความสะอาดทุกครั้ง (ใบ,เมล็ด)
37.ประโยชน์ของน้อยหน่า ใช้เป็นยารักษาจี๊ด ด้วยการใช้เมล็ดสดประมาณ 20 เมล็ดนำมาตำให้ละเอียด แล้วใช้สารส้มขนาดเท่าหัวแม่มือใส่ในฝาละมี ตั้งไฟอ่อนๆ เมื่อสารส้มละลายแล้ว ให้โรยผงของเมล็ดน้อยหน่าลงไปทีละน้อย คนให้เข้ากัน หลังจากนั้นใช้ไม้ป้ายยาที่กำลังร้อนแต่พอให้ผิวหนังทนได้ แล้วป้ายลงตำแหน่งที่บวม ทำวันละ 2 รอบเช้าเย็น จนกว่าจะหาย (เมล็ด)
38.เมล็ดน้อยหน่ากำจัดเห็บหมัดในสุนัข สูตรเดียวกับกำจัดเหา (ใบ,เมล็ด)


ข้อควรระวัง

    น้ำคั้นจากใบน้อยหน่า ต้องระวังอย่าให้ถูกบริเวณตาหรือเปลือกตา บริเวณรูจมูก ริมฝีปาก เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน ถ้าเข้าตาอาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบได้ ต้องให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที
    
น้ำสกัดจากเมล็ดน้อยหน่า อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ควรระวังอย่าให้เข้าตา เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง เยื่อบุตาอักเสบได้


Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

 จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
21 กุมภาพันธ์ 2014

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ถิ่นกำเนิดของพริก

 ข้อมูลโดย kapook.com

 

     พริกถือเป็นเครื่องเทศที่เก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก โดยถิ่นกำเนิดของพริกนั้นอยู่ในประเทศของทวีปอเมริกากลางและใต้ (ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ) และจากที่นั่นนักผจญภัยก็ได้นำพริกมาปลูกเผยแพร่ในยุโรป แล้วนำไปปลูกกันแพร่หลายทั่วโลก

     โดยหลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่า ชาวเม็กซิโกรู้จักบริโภคพริกเป็นอาหารมานานร่วม 9,000 ปีแล้ว เพราะอุจจาระที่เป็นก้อนแข็งที่พบที่เมืองอัวกะ เปรียตะ (Huaca Prieta) มีซากเมล็ดพริกอยู่ อีกทั้งการศึกษาวิถีชีวิตของชนเผ่าโอลเม้กะ (Olmeca) , โตลเต้กะ (Tolteca) และอัสเต้กะ (Azteca) ต่างก็แสดงให้รู้ว่า ชนเผ่าเหล่านี้รู้จักปลูกและบริโภคพริกเช่นกัน นอกจากนี้นักประวัติศาสตร์ยังได้ขุดพบซากของต้นพริกที่มีอายุกว่า 2,000 ปี ในเทวสถานของประเทศเปรู (Perú) ด้วย หรือแม้แต่ลายปักเสื้อผ้าของคนที่อาศัยอยู่ในประเทศเปรู เมื่อ 1,900 ปีก่อน ก็มีลวดลายปักเป็นต้นพริก


 
 

      ต่อมานักประวัติศาสตร์ชื่อ Peter Martyr (ปีเตอร์ มาร์เดอร์) ได้รายงานว่า พริกแดงที่  Cristoforo Colombo (กริสโตโฟโร โกโลมโบ ชาวอิตาลีผู้ค้นพบทวีปอเมริกา) นำมา มีรสเผ็ด และแพทย์ที่ติดตามโกโลมโบไปอเมริกาเป็นครั้งที่สองก็ได้กล่าวถึงชาวอเมริกาว่า นิยมปรุงอาหารด้วยพริก และเมื่อกองทัพสเปนบุกอาณาจักรอัสเต้กะ นายพลโกร์เตส (Cortes) ได้เขียนจดหมายเล่าว่า กษัตริย์อัสเต้กะดื่มน้ำที่มีรสพริกปน
     

     ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของพริกคือ มีรสเผ็ดนี้เองที่ทำให้ชาวอเมริกานิยมใช้พริกทรมานเชลยหรือศัตรู เช่น เผาพริกปริมาณมากให้ควันพริกขับไล่ทหารสเปน ส่วนชาวมายา (Los mayas) ก็มีประเพณีว่า ผู้หญิงมายาคนใดเวลาถูกจับได้ว่าแอบดูผู้ชาย จะถูกพริกขยี้ที่ตา และบิดามารดาของผู้หญิงมายาคนใด ถ้ารู้ว่าบุตรสาวของตนเสียพรหมจรรย์อย่างผิดประเพณี บริเวณของลับของเธอจะถูกละเลงด้วยพริก สำหรับชาวอินเดียนเผ่าคาริบในแอนทิลลิสนั้น ก็นิยมใช้พริกทาบาดแผลของเด็กผู้ชายเพื่อฝึกให้อดทน และเวลาจับเชลยได้ ชาวอินเดียนเผ่านี้ก็จะใช้ไฟจี้ตามตัวจนเป็นแผลพุพองแล้วเอาพริกทา และเมื่อเชลยเสียชีวิตลงเนื้อของเชลยก็จะถูกแล่เอาไปปรุงด้วยพริกเป็นอาหาร เป็นต้น

 

   
     นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์ชื่อ Francisco Hernandez (ฟรานซิสโก เอร์นันเดซ) ซึ่งเป็นแพทย์ในกษัตริย์
Felipe II (ฟิลิเปที่ 2) แห่งสเปน และได้เคยถูกส่งตัวไปศึกษาธรรมชาติของพืชและสัตว์ในดินแดนใหม่ (อเมริกา) ก็ได้รายงานกลับมาว่า ชาวบ้านนิยมปลูกพริกมาก ส่วน พี. เบอร์นาบี โคโบ ผู้ใช้เวลาสำรวจอเมริกานาน 50 ปี ในศตวรรษที่ 20-21 ก็ได้รายงานทำนองเดียวกันว่า ชาวเม็กซิโกนิยมปลูกพริก โดยได้เขียนลงในหนังสือ Historia ว่า ชาวบ้านถือว่าพริกเป็นพืชที่สำคัญรองจากข้าวโพด เพราะชอบบริโภคพริกสด และใช้พริกในพิธีสักการบูชาเทพเจ้าทุกงาน แต่เมื่อถึงเทศกาลอดอาหาร คนเหล่านี้จะไม่บริโภคอาหารที่มีพริกปนเลย โคโบ ยังกล่าวเสริมด้วยว่า ไม่เพียงแต่ผลพริกเท่านั้นที่เป็นอาหาร แม้แต่ใบพริกก็ยังสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ด้วย

          ขณะที่ Garcilaso de la vega (การ์ซิล้าโซ เด ลา เบ๊กา) ผู้เป็นบุตรของขุนนางสเปนนั้นก็ได้เล่าว่า ชาวอินกา (La Inca) ถือว่าพริกเป็นผลไม้ที่มีคุณค่ามาก เพราะอาหารอินกาจะมีพริกปนไม่มากก็น้อย นอกจากนี้หมอชาวบ้านของชนเผ่านี้ก็มีความรู้อีกว่า ใครก็ตามที่บริโภคพริกในปริมาณที่พอดี ระบบขับถ่ายของคนคนนั้นจะทำงานปกติ แต่ถ้าบริโภคมากเกินไป กระเพาะจะเป็นอันตราย โดย Alexander Fon Humbolt นักปราชญ์ชาวเยอรมันก็เป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ได้เดินทางไปสำรวจทวีปอเมริกาเป็นเวลานานหลายปี ได้เปรียบเทียบความสำคัญของพริกว่าคนยุโรปถือว่า เกลือมีความสำคัญต่อชีวิตเพียงใด คนอเมริกาก็ถือว่าพริกมีความสำคัญต่อเขาเพียงนั้น
     

 


         สำหรับประวัติการเดินทางของพริกจากทวีปอเมริกาสู่โลกภายนอก Alvarez Chanca (อัลบาเรซ ช้านกา) ชาวสเปนเป็นบุคคลแรกที่นำพริกสู่ประเทศตน ในปี ค.ศ. 1493 (พ.ศ. 2036) และคนสเปนเรียกพริกว่า Chili (ชิลี) ซึ่งเป็นคำที่แปลงมาจากคำ Chile (ชิเล) อันเป็นชื่อของประเทศที่ให้กำเนิดพริกในอเมริกาใต้ และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1555 (พ.ศ. 2098) บรรดาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปกลางก็เริ่มรู้จักปลูกพริกกันแล้ว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1757 (พ.ศ. 2300) พ่อค้าชาวโปรตุเกสได้นำพริกจากยุโรปไปปลูกในอินเดียและเอเชียอาคเนย์


Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
20 กุมภาพันธ์ 2014

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ถิ่นกำเนิดของข้าวโพด

ข้อมูลโดย kanchanapisek.or.th
 
     ถิ่นฐานดั้งเดิมของข้าวโพดนั้น ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด ถึงแม้ว่าได้มีนักค้นคว้าหลายท่านได้ทำการศึกษา และให้ข้อสันนิษฐานมานาน บางท่านสันนิษฐานว่า ข้าวโพดอาจมีถิ่นฐานในแถวที่ราบสูงซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศเปรู (Perú) , โบลิเบีย (Bolivia) และเอกวาโดร์ (Ecuador) ในทวีปอเมริกาใต้ เนื่องจากมีผู้พบข้าวโพดพันธุ์พื้นเมืองหลายพันธุ์มีความปรวนแปรในด้านกรรมพันธุ์ และมีลักษณะผิดแผกกันมาก นอกจากนี้ข้าวโพดบางชนิดที่มีลักษณะคล้ายข้าวโพดป่ายังพบขึ้นในแถบนั้นอีกด้วย 

     แต่บางท่านก็ให้ข้อคิดว่า ในแถบอเมริกากลาง และตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก (México) น่าจะเป็นแหล่งกำเนิดข้าวโพดมากกว่า เพราะมีหญ้าพื้นเมืองของบริเวณนี้ 2 ชนิด ซึ่งมีลักษณะทางพฤกษาศาสตร์หลายประการคล้ายคลึงกับข้าวโพดมาก 

 

    นอกจากนี้ยังมีนักโบราณคดี ได้ขุดพบซากซังของข้าวโพดปนกันอยู่กับซากของโบราณวัตถุ ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินลึกถึง 28 เมตร บริเวณเมืองหลวงของประเทศเม็กซิโกในบริเวณถ้ำ และสุสานหลายแห่ง จากการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์ทำให้ทราบว่า ซากสิ่งของเหล่านี้มีอายุนานกว่า 4,๐๐๐ ปี ซึ่งแสดงว่า มีข้าวโพดปลูกอยู่ในแถบนี้เป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว 

     ประเทศเหล่านี้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ เรียกข้าวโพดว่า Maíz (มาอีซ) ซึ่งภาษาอังกฤษได้นำไปใช้เป็นคำว่า Maize (เมส) ส่วนคำว่า Corn ของภาษาอังกฤษนอกจากจะแปลว่าข้าวโพดได้แล้ว ยังหมายถึง ข้าวโอ๊ต หรือข้าวอื่นทั่วไปได้ด้วย

ข้อมูลโดย umarin.com

 

     การกินข้าวโพดหวานมีประโยชน์หลายประการ อาทิเช่น บำรุงกระเพาะอาหาร บำรุงหัวใจและปอด ช่วยเจริญอาหาร และขับปัสสาวะ เป็นต้น 
     
     นอกจากนั้น การกินข้าวโพดต้ม ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ และมะเร็งได้ การต้มทำให้ข้าวโพดหวานปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระ ออกมาหลายตัวและที่สำคัญตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า “กรดเฟอรูลิก” (Ferulic acid ) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพ กรดเฟอรูลิกเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงถูกใช้สำหรับต่อต้านการแก่ (aging) ของเซลล์ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด รักษาสุขภาพของกล้ามเนื้อ และต่อต้านผลกระทบจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต (จึงป้องกันมะเร็งผิวหนังได้)


Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

 จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
19 กุมภาพันธ์ 2014

 



วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฟักทอง มีต้นกำเนิดจากที่ใด

 ข้อมูลโดย Wikipedia

 
     
     ฟักทองมีถิ่นกำเนิดแถบอเมริกากลาง ภาคเหนือของประเทศเม็กซิโก (ซึ่งพูดภาษาสเปน) และภาคตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ ภายหลังได้แพร่หลายกระจายไปทั่วโลก ในเขตร้อน และเขตแห้งแล้ง ในภาษาสเปนเรียกฟักทองว่า Calabaza (กาลาบ๊าซา) เพราะมีลักษณะที่คล้ายศีรษะของมนุษย์ ซึ่งภาษาสเปนคือคำว่า Cabeza (กาเบ๊ซา)

     เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาเลื้อย ตามพื้นดิน ลักษณะลำต้นแข็ง เป็นเหลี่ยม มีร่องยาว ใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม ขนาดใหญ่ ขอบใบหยักลึก มีขนปกคลุม เนื้อใบหยาบ ก้านใบและดอกมีขนาดเล็ก ผลมีสีเขียว รูปทรงกลมค่อนข้างแบน เนื้อแน่นแข็ง ฟักทองอ่อนเนื้อสีเหลือง เมื่อแก่เนื้อจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม รสเข้ม เมล็ดแบนรี สีขาวนวล อายุเก็บเกี่ยว หลังจากย้ายปลูก ประมาณ 110 วัน

 

     ฟักทองเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยพ่อค้าชาวโปรตุเกสเมื่อราว พ.ศ. 2083 โดยนำมาจากประเทศกัมพูชา ชื่อภาษาโปรตุเกสคือ Cambodia abóbora (กัมโบเดีย อาโบ๊โบรา) ภายหลังเรียกอย่างย่อว่า Abóbora 




     ส่วนตำนานงานฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคม หรือวันฮาโลวีน ซึ่งเกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา 

     วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทเป็นรูปไม้กางเขนไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ "ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก" แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาด และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง "การหยุดยั้งความชั่ว" (Trick or Treat) เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ 

     แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้



Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
18 กุมภาพันธ์ 2014

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มะพร้าว ประเทศไหนปลูกมาก่อน

 ข้อมูลโดย wordpress.com
 
     
     มะพร้าว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ใด ยังไม่มีข้อสรุปและชี้ชัด แต่ก็มีบันทึกไว้มากมายว่า ในทวีปอเมริกาใต้ ที่ประเทศโกโลมเบีย (Colombia) มีพืชตระกูลเดียวกับมะพร้าวขึ้นอยู่มากมาย นักพฤกษศาสตร์ ให้ความเห็นว่า มะพร้าวน่าจะวิวัฒนาการมาจากพืชพรรณเหล่านั้น และหลังจากนั้นได้กระจายไปสู่ภูมิภาคอื่น เช่น หมู่เกาะแปซิฟิก ส่วนในแถบอเมริกากลาง มีปลูกมะพร้าวมาช้านาน โดยเฉพาะประเทศปานาม่า (Panamá) 

     ในภาษาสเปน และโปรตุเกส คำว่ามะพร้าวเขียนเหมือนกันคือ "Coco" แต่ภาษาสเปนอ่านว่า "โก้โก" ส่วนภาษาโปรตุเกส อ่านว่า "โก้กู" ส่วนภาษาอังกฤษน่าจะนำรากคำของ 2 ชาตินี้มาใช้เรียกมะพร้าวว่า Coconut 


ข้อมูลโดย angelfire.com

      คนไทยคุ้นเคยกับมะพร้าวมาเป็นเวลานาน และใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของมะพร้าว เช่น ผลอ่อนใช้รับประทานสด ทั้งน้ำและเนื้อ ส่วนเนื้อมะพร้าวจากผลแก่นำไปปรุงอาหารและขนมหลายชนิด และใช้สกัดน้ำมัน กากที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์ น้ำมันมะพร้าวใช้ประกอบอาหาร เนยเทียม และสบู่ เปลือกมะพร้าวนำไปแยกเอาเส้นใยใช้ทำเชือก วัสดุทำเบาะและที่นอน ขุยมะพร้าวใช้ทำวัสดุเพาะชำต้นไม้ กะลาใช้ทำภาชนะ ตักตวงของเหลว (กระจ่า กระบวย ฯลฯ) ทำกระดุม เครื่องประดับ เครื่องดนตรี (ซออู้) ทำเชื้อเพลิง และถ่านกัมมันต์ (มีคุณสมบัติในการดูดซับสูง) ใบมะพร้าวทั้งอ่อนและแก่ ตลอดจนก้านใบใช้มุงหลังคา เครื่องจักสาร ไม้กวาดทางมะพร้าว ใช้ทำรั้วและเชื้อเพลิง ลำต้นแก่ใช้ในการก่อสร้างประดิษฐ์เครื่องเรือน ยอดอ่อนใช้เป็นอาหาร จั่น (ช่อดอก) มีน้ำหวานรองมาดื่มเป็นน้ำผลไม้หรือทำน้ำตาล หมักทำเหล้าและน้ำส้น รากใช้ทำยา สีย้อมผ้า และเชื้อเพลิง แต่อย่างไรก็ตามการปลูกมะพร้าวโดยทั่วไปก็เพื่อนำเอาเนื้อมะพร้าวไปประกอบอาหารและสกัดเอาน้ำมันเช่นเดียวกับปาล์ม

 

 ข้อมูลโดย eduzones.com

     'น้ำมะพร้าว' ถือเป็นเครื่องดื่มเกลือแร่จากธรรมชาติ เพราะต้นมะพร้าวมีลำต้นสูง ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่างๆ ของลำต้นกว่าจะถึงลูกมะพร้าวที่อยู่ข้างบน น้ำมะพร้าวที่ได้มาจึงบริสุทธิ์มาก และอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม เหล็ก โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ และวิตามินบี แถมยังมีน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ภายใน 5 นาที และยังช่วยในการขับสารพิษและชำระล้างร่างกายด้วย

     การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์ได้ จากผลงานวิจัยของ ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนสูง ซึ่งมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง นอกจากนี้ การดื่ม น้ำมะพร้าวเป็นประจำทุกวันยังสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าปกติ และไม่ทิ้งรอยแผลเป็นอีกด้วย



     น้ำมะพร้าวสามารถช่วยเสริมสร้างความสวยใสของผิวพรรณ ทำให้เปล่งปลั่งและขาวนวลขึ้นจากภายในสู่ภายนอก เพราะในน้ำมะพร้าวมีเอสโตรเจนอยู่ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ และในน้ำมะพร้าวยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดี แถมยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย (คล้ายๆ กับการทำดีท็อกซ์) จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูง ทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในเป็นปกติ ส่งผลให้มีสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก

     เนื่องจากน้ำมะพร้าวมีปริมาณเกลือแร่ที่จำเป็นสูง รวมทั้งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาความอ่อนเพลียเนื่องจาก อาการท้องเสียหรือท้องร่วงได้ จึงจัดเป็นสปอร์ตดริ๊งค์ (Sport Drink) สามารถดื่มหลังการสูญเสียเหงื่อจากการเล่นกีฬาหรือออ กกำลังกาย นอกจากนี้ ในบางประเทศ ยังนิยมดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อลดอาการเมาหลังการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย

 

     น้ำมะพร้าวเป็นอาหารบริสุทธิ์ และเต็มไปด้วยกลูโคสที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปใช้ได้ง่าย นอกจากนั้นมะพร้าวยังเป็นผลไม้ที่มีความเป็นด่างสูง สามารถรักษาโรคที่เกิดจากร่างกายมีความเป็นกรดมากเกินไป หมอพื้นบ้านไทยถือกันว่า มะพร้าวเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูกได้ ส่วนคนจีนเชื่อว่า น้ำมะพร้าวมีฤทธิ์เป็นกลาง ไม่เป็นทั้งหยินและหยาง มีสรรพคุณในการขับพยาธิ สำหรับคนไข้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกัน สามารถดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมกลูโค สไปใช้ในเวลาอันรวดเร็วได้..
   น้ำมะพร้าวดื่มได้ทุกวัน ทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติ ทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่เป็นอันตรายเหมือนน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือน้ำที่ผ่านการปรุงแต่ง เพราะไม่ทำให้เกิดพิษหรือทัอกซินขึ้นในร่างกาย แต่สำหรับคนที่เป็นโรคไตและโรคเบาหวานไม่ควรดื่ม เพราะน้ำมะพร้าวมีความหวาน ไม่เหมาะกับโรคดังกล่าว น้ำมะพร้าวควรดื่มทันที ไม่ควรทิ้งไว้นาน ถ้าเราตัดหรือหั่นผลไม้ อย่าทิ้งไว้เกินครึ่งชั่วโมง แม้จะเก็บในตู้เย็นก็ตาม ควรกินให้หมดในครั้งเดียว ผลไม้แต่ละอย่างจะมีพลังชีวิต ถ้ากินผลไม้สุกจากต้นจะได้รับพลังชีวิตสูง หากเก็บทิ้งค้างไว้ พลังชีวิตหรือคุณค่าของผลไม้จะลดต่ำลงเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เก็บ



Participe do grupo do Facebook "Clube de línguas ocidentais da Universidade deRamkhamhaeng" ao https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 
  
จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
17 กุมภาพันธ์ 2014


วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สับปะรด ไทยนำมาจากไหน?

 ข้อมูลโดย mahidol.ac.th

 

     สับปะรดมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบทวีปอเมริกาใต้ มีความทนทานต่อสถาพแวดล้อมได้ดี ชาวสเปน (Piña = ปิ้นยา - ภาษาสเปนแปลว่าสับปะรด) นำสับปะรดไปปลูกในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซียเมื่อราว 500 ปีมาแล้ว อุตสาหกรรมการทำสับปะรดกระป๋องเริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในหมู่เกาะฮาวาย และสิงคโปร์เมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว ปัจจุบันสับปะรดมีปลูกทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งร้อนทั่วโลก ประเทศผู้ผลิตสับปะรดสำคัญของโลก ได้แก่ สหรัฐ เม็กซิโก ไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย 

      สับปะรดเป็นผลไม้ชนิดผลรวม ตาสับปะรดแต่ละตาคือ 1 รังไข่ที่เจริญขึ้นมา สับปะรดนอกจากเป็นผลไม้กินสด และนำไปปรุงอาหารได้มากมายแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลากหลาย เช่น ทำเป็นผลไม้กระป๋อง ผลไม้กวน น้ำผลไม้ น้ำส้มสายชู ไอศกรีม ไวน์ แยมและเยลลี่ น้ำคั้นก้านช่อดอกและเปลือกผลซึ่งเป็นกากเหลือทิ้งยังสามารถนำไปสกัดเอา เอนไซม์โปรตีเอส (protease) ทำเป็นผงหมักเนื้อ เส้นใยจากใบสามารถนำไปทอผ้าพินา (pina cloth) ยอดสับปะรดนำมาปรุงอาหารได้แบบเดียวกับยอดมะพร้าว 

 

 ข้อมูลโดย coopthai.com

     สับปะรดในประเทศไทยสันนิษฐานว่า มีการนำสับปะรดเข้ามาโดยพ่อค้าชาวโปรตุเกส ( Pinha = ปิ้นยา - ภาษาโปรตุเกส แปลว่า สับปะรด) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สับปะรดที่นำเข้ามานั้นเป็นสับปะรดในกลุ่มสแปนนิส (Spanish) เช่น พันธุ์อิทรชิต ซึ่งมีการปลูกกันทั่วไปจนเข้าใจกันว่าเป็นพันธุ์พื้นเมือง
     

     ส่วนสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียนั้นนิยมปลูกกันมากเพื่ออุตสาหกรรมแปรรูปและบริโภคสด แหล่งเริ่มปลูกนั้นอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในอำเภอปราณบุรี โดยนำพันธุ์มาจากประเทศอินโดนิเซีย และได้นำไปปลูกที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ต่อมาได้มีการนำสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปปลูกทางภาคเหนือที่จังหวัดลำปาง และแพร่หลายในภูมิภาคนี้ แต่สับปะรดที่รู้จักกันมากคือสับปะรดบริโภคสดพันธุ์ปัตตาเวีย ปลูกที่ตำบลนางแล อำเภอเมือง ที่เรียกกันว่าสับปะรดนางแล เช่นเดียวกับพันธุ์ภูแล (พันธุ์ภูเก็ต) 

ข้อมูลโดย greenerald.com

     สับปะรด จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่ง โดยประโยชน์ของสับปะรดนั้นมีอยู่หลากหลาย เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆจำนวนมาก ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพเราเป็นอย่างมาก และสรรพคุณสับปะรดทางสมุนไพรนั้น ก็ชวยรักษาอาการต่างๆได้อย่างหลากหลายเช่นกัน เช่น โรคบิด โรคนิ่ว ช่วยบรรเทาอาการแผล เป็นหนอง ขับปัสสาวะ เป็นต้น

      การรับประทานสับปะรดแนะนำให้ทานสดๆ ไม่ผ่านกระบวนการประกอบอาหารหรือผ่านความร้อนเพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามิน โดยสับปะรดที่เริ่มนิ่มแล้วและมีน้ำเหนียวๆไหลออกมา แสดงว่าเริ่มเน่าหรือสุกมากจนเกินไป จึงไม่ควรรับประทาน



Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
16 กุมภาพันธ์ 2014





วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ผลไม้ฝรั่ง เข้ามาไทยได้อย่างไร

 ข้อมูลโดย wikipedia 
 

       
     ฝรั่งเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีจุดกำเนิดอยู่ในประเทศในทวีปอเมริกากลางและหมู่เกาะอินดีสต์ตะวันตก หลักฐานทางโบราณคดีของประเทศเปรู (Perú) ชี้ให้เห็นว่า มีผลไม้ฝรั่งมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนครืสตกาล โดยพ่อค้าชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำผลไม้ชนิดนี้ไปเผยแพร่ทั่วโลก

      ฝรั่งเข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนในประเทศไทย คาดว่าเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คำว่าฝรั่งในภาษาอังกฤษคือ Guava ซึ่งมาจากคำในภาษาสเปนว่า Guayaba (กวาย้าบา) และ ภาษาโปรตุเกส คำว่า Goiaba (โกย้าบา)

 

     ฝรั่งเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินซี และวิตามิน เอ  มีมากกว่ามะนาวถึง 4 เท่า ทำให้ฝรั่งมีคุณค่าในการสร้างความต้านทานโรคหวัดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีการแนะนำให้รับประทานฝรั่งเพื่อลดความอ้วน เพราะฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีความกรอบ เคี้ยวเพลิน และไม่เพิ่มน้ำหนัก คุณค่าทางอาหารประกอบด้วย วิตามินเอ , วิตามินซี , บี1 , บี2 , แคลเซียม , ฟอสฟอรัส , นอกจากนี้ยังมีสารพวกเพคตินและแทนนินจำนวนมากด้วย สำหรับคุณประโยชน์ทางอาหารสรุปได้ดังนี้ 

ข้อมูลโดย eduzones.com

วิตามินซีและวิตามินเอ
     ช่วยให้มีความต้านทานต่อโรคหวัดเพิ่มขึ้น บำรุงเหงือกและฟัน , ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
สารเพคติน 
     เป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้ท้องผูกได้ดี 
สารแทนนิน
      มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน สามารถบรรเทาอาการท้องร่วงและห้ามเลือดได้ , ช่วยสมานแผลและบรรเทาอาหารเจ็บคอ นอกจากนี้ยังช่วยระงับกลิ่นปากและรักษาแผลเรื้อรังเช่น น้ำกัดเท้า และผื่นคันจากผิวหนังที่ถูกใบไม้คันได้ด้วย ดังนั้นการกินฝรั่ง ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง

 

ข้อมูลโดย exteen.com

     
     ทำไมเรียกชาวต่างชาติว่า "ฝรั่ง" คำว่าฝรั่งเป็นคำไทยทั่วไปที่ใช้เรียกชาวต่างชาติผิวขาว และในบางครั้งเราจะเรียกชาวต่างชาติที่มีผิวดำว่า ‘ฝรั่งดำ’ และแม้ว่าฝรั่งจะมีความหมายเป็นกลาง แต่บางครั้งก็อาจจะใช้ในความหมายเชิงดูถูกได้ขึ้นอยู่กับบริบท เช่น ฝรั่งตาน้ำข้าว ส่วนชาวต่างชาติที่มีท่าทีขี้งกและไม่เรียบร้อยนั้นจะถูกเรียกว่า ‘ฝรั่งขี้นก’ ได้

      ฝรั่งยังหมายถึงชาวต่างชาติได้ด้วยเช่นกัน ไม่ได้หมายถึงชนชาติผิวขาวที่มาจากยุโรปเท่านั้น แต่รวมถึงพวกที่มาจากทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลียด้วย สำหรับที่มาของการเรียกชาวต่างชาติว่า ‘ฝรั่ง’ นั้นยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็มีผู้พยายามอธิบายถึงที่มาเอาไว้หลายประเด็นด้วยกัน 




      โดยคำอธิบายแรกนั้นอธิบายไว้ว่า ‘ฝรั่ง’ น่าจะมาจากภาษาโปรตุเกสคำว่า francês (ฟรานเซส) ที่ใช่เรียกชาวฝรั่งเศสที่มาไทยในเวลาไล่เลี่ยกัน เพราะชาวโปรตุเกส เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยมาช้านานกว่า 500 ปี คนไทยเราอาจใช้คำว่า "ฝรั่ง" เรียกตามชาวโปรตุเกส ซึ่งหมายถึงคนผิวขาวมาจนกระทั่งทุกวันนี้

      แม้แต่ภาษาฝรั่งเศสเองคำว่า français (ฟรองเซ่ - ชาวฝรั่งเศส) ก็น่าจะเป็นคำที่คนไทยใช้เรียกชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในชนชาติยุโรปแรกๆ ที่เข้ามาสร้างความสัมพันธ์กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 17 ด้วยเหตุนี้ในสมัยนั้นคนผิวขาวและคนฝรั่งเศสจึงมีความหมายเหมือนกัน


 

Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
15 กุมภาพันธ์ 2014
 

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มะละกอ เข้ามาประเทศไทยได้อย่างไร?

ข้อมูลโดย Dek-d.com และ Wikipedia
 

      มะละกอเป็นผลไม้ท้องถิ่นของประเทศในทวีปอเมริกากลางและใต้ มีหลักฐานว่าชาวพื้นเมืองการิเบ (Caribe) ในเขตชายฝั่งประเทศปานาม่า (Panamá) และโกโลมเบีย (Colombia) เป็นชนกลุ่มแรกที่ปลูกมะละกอกิน

ซึ่งชาวพื้นเมืองการิเบจะเรียกมะละกอเป็นภาษาพื้นเมืองว่า...อาบาบัย (Ababai) ภายหลังดินแดนแถบนี้ถูกชาวสเปนยึดเป็นอาณานิคมได้ในปี ค.ศ.1526 ชาวสเปนได้เรียกชื่อ อาบาบัย เพี้ยนเป็น ปาป๊ายา (Papaya) และเป็นที่มาของชื่อมะละกอ ในภาษาอังกฤษจนถึงทุกวันนี้


 




      หลังจากนั้นมะละกอก็ได้แพร่หลายเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพ่อค้าชาวสเปน & โปรตุเกสนำเข้ามาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 17
สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการปลูกขยายพันธุ์จนแพร่หลาย ซึ่งสันนิษฐานกันว่า...ไทยอาจได้ชื่อผลไม้ชนิดนี้มาจาก เกาะมะละกา (ประเทศมาเลเซีย) จึงเป็นที่มาของคำว่า "มะละกอ" ในปัจจุบัน

     มะละกอเป็นไม้ผลชนิดหนึ่งสูงประมาณ 5-10 เมตร ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้

 

     มะละกอเป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็กอยู่ภายใน กินไม่ได้

     นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้



Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
14 กุมภาพันธ์ 2014

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ไข่ปลาคาเวียร์ (Caviar)

ข้อมูลโดย postjung.com
 

      "Caviar" มาจากภาษาเปอร์เซีย ว่า خاگ‌آور (Khag-avar) ซึ่งมีความหมายว่า “ไข่ปลาที่ปรุงรส” ซึ่งความจริงไม่ได้มาจากปลาคาเวียร์แต่อย่างใด โดยไข่นั้นได้มาจากปลาหลากหลายชนิด ส่วนมากจะนำมาจากไข่ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon) เพราะคำว่า "คาเวียร์" ในแถบเปอร์เซียหมายถึงปลาสเตอร์เจียน ซึ่งคาเวียร์ขึ้นชื่อว่า “เป็นหนึ่งในอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก” คาเวียร์ที่ชื่อเสียงจะได้มาจากฝั่งทะเลสาบแคสเปียน ในแถบประเทศอาเซอร์ไบจัน , อิหร่าน และรัสเชีย การรับประทาน คาเวียร์ นิยมตักไข่ปลาด้วยช้อนคันเล็กๆ ทาลงบนขนมปังแล้วรับประทาน




      โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อว่ามีปลาสเตอร์เจียนชุกชุมคือ ทะเลสาบแคสเปียน ในอดีตเคยอาศัยอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ให้ชาวประมงรัสเซียได้จับกันเป็นจำนวน มาก จนทำให้ปลาลดจำนวนลง รัฐบาลรัสเซียจึงต้องออกกฎหมายห้ามจับโดยเด็ดขาด


 



     ในปัจจุบันทั้งทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ มีการล่าจับปลาสเตอร์เจียนกันมาก จนองค์การ CITES (ไซเตส - อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญ พันธุ์) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการค้าสัตว์และพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ทั้งหมดราว 30,000 ชนิด ได้เข้ามาควบคุมการจับปลาสเตอร์เจียนด้วย เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ 

 


ทั้งนี้เพราะได้มีการพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า คาเวียร์ จากทะเลสาบแคสเปียนมีคุณภาพดีที่สุด จึงทำให้มีการซื้อขายคาเวียร์ปีละ 2,000–4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ CITES ก็ตระหนักดีว่าการปกป้องคุ้มครองปลาจำพวกนี้นั้น จำต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งศุลกากร, นักวิทยาศาสตร์ และชาวประมง จึงได้ออกกฎหมายบังคับห้ามจับปลาสเตอร์เจียน ในปริมาณที่เกินกำหนด อีกทั้งห้ามชาวประมงไม่ให้สร้างมลภาวะที่ร้ายแรงในทะเลสาบ และห้ามฆ่าปลาสเตอร์เจียนในช่วงก่อนอายุวางไข่ (15 ปี) รวมถึงให้มีการจำกัดโควตาการผลิต คาเวียร์ โดยให้ทุกประเทศที่อยู่เรียงรายรอบทะเลสาบแคสเปียนปฏิบัติตาม


สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

 จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
12 กุมภาพันธ์ 2014