วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แหล่งกำเนิดของ Strawberry

ข้อมูลโดย Wikipedia และ mju.ac.th
 

     สตรอว์เบอร์รีมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ (แคนาดาและสหรัฐอเมริกา) แล้วแพร่กระจายไปยังทวีปยุโรป ตลอดจนถึงซีกโลกตะวันตก สวนสตรอว์เบอร์รีแห่งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างปลายปีศตวรรษที่ 18 ชาวฝรั่งเศสเริ่มต้นปลูกสตรอว์เบอร์รีป่า ภายในสวนของพวกเขาไว้สำหรับการเก็บเกี่ยว ภายหลังสตรอว์เบอร์รีได้กระจายไปทั่วยุโรป นิยมปลูกกันในหลายประเทศ ภาษาฝรั่งเศสเรียกสตรอว์เบอร์ว่า Fraise (เฟรเซอ)

     สำหรับการแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยนั้น ชาวอังกฤษผู้หนึ่งได้นำต้นสตรอว์เบอร์รีเข้ามาปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 

 

     สตรอว์เบอร์รีเป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก สตรอว์เบอร์รีมีวิตามินเอ , วิตามินบี , วิตามินซี , กรดโฟลิก (Folic acid) และมีเส้นใยอาหาร (Fiber) อีกด้วย

ข้อมูลโดย kapook.com
ประโยชน์ของ Strawberry

          1.ช่วยล้างพิษที่สะสมในร่างกาย เช่น กรดยูริก สาเหตุสำคัญของโรคข้ออักเสบและโรคเกาท์

          2.ช่วยให้ห่างไกลโรคต่าง ๆ ทั้งโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็งลำไส้นิ่วในไต สีแดงสดของสตรอเบอร์รีล้วนอุดมไปด้วยซูเปอร์ไฟเบอร์เพคติน และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลและช่วยเคลือบทางเดินอาหารอีกด้วย

          3.ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองโดยสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยฟื้นคืนความอ่อนเยาว์ให้กับระบบประสาท

          4.ช่วยดูแลสายตา สารต้านอนุมูลอิสระในสตรอเบอร์มีส่วนช่วยชะลอขบวนการเสื่อสภาพของดวงตาได้

          5.ช่วยลดความอ้วน สตรอเบอร์รีคือผลไม้เพื่อการลดน้ำหนักที่สุดแสนจะเพอร์เฟ็กต์ เพราะปริมาณ 1 ถ้วยให้พลังงานเพียง 49 แคลอรี เท่านั้น และยังอุดมด้วยไฟเบอร์ช่วยให้อิ่มท้องและช่วยระบบการขับถ่าย

          6.ช่วยดูแลสุขภาพเหงือกและฟัน ช่วยรักษาแผลในปาก ช่วยดับกลิ่นปาก ทำให้ลมหายใจสดชื่น

          7.ใบสดของสตรอเบอร์รี ยังสามารถนำมาโขลกแล้วนำไปประคบ ช่วยลดอาการอักเสบและบวมช้ำได้อีกด้วย

          ถ้าจะให้ได้ประโยชน์จากสตรอว์เบอร์รีอย่างสูงสุด ควรรับประทานแบบสดแทนที่จะเป็นแบบผลไม้กวน (Jam) เพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อันใดแล้ว ยังมีน้ำตาลเยอะเกินไป ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ


Rejoignez le groupes de facebook "Le Club des Langues occidentales de Université Ramkhamhaeng" à https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
22 กุมภาพันธ์ 2014



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น