ข้อมูลโดย Dek-d.com และ Wikipedia
มะละกอเป็นผลไม้ท้องถิ่นของประเทศในทวีปอเมริกากลางและใต้ มีหลักฐานว่าชาวพื้นเมืองการิเบ (Caribe) ในเขตชายฝั่งประเทศปานาม่า (Panamá) และโกโลมเบีย (Colombia) เป็นชนกลุ่มแรกที่ปลูกมะละกอกิน
ซึ่งชาวพื้นเมืองการิเบจะเรียกมะละกอเป็นภาษาพื้นเมืองว่า...อาบาบัย (Ababai) ภายหลังดินแดนแถบนี้ถูกชาวสเปนยึดเป็นอาณานิคมได้ในปี ค.ศ.1526 ชาวสเปนได้เรียกชื่อ อาบาบัย เพี้ยนเป็น ปาป๊ายา (Papaya) และเป็นที่มาของชื่อมะละกอ ในภาษาอังกฤษจนถึงทุกวันนี้
หลังจากนั้นมะละกอก็ได้แพร่หลายเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพ่อค้าชาวสเปน & โปรตุเกสนำเข้ามาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 17 สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการปลูกขยายพันธุ์จนแพร่หลาย ซึ่งสันนิษฐานกันว่า...ไทยอาจได้ชื่อผลไม้ชนิดนี้มาจาก เกาะมะละกา (ประเทศมาเลเซีย) จึงเป็นที่มาของคำว่า "มะละกอ" ในปัจจุบัน
มะละกอเป็นไม้ผลชนิดหนึ่งสูงประมาณ 5-10 เมตร ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้
นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/
สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/
สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/
จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
14 กุมภาพันธ์ 2014
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
14 กุมภาพันธ์ 2014
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น