ข้อมูลโดย มูลนิธิช่วยสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย
ชะนี เป็นลิง Apes (เอพ) ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ ลิงเอพ หมายถึง ลิงที่ไม่มีหาง ซึ่งนอกจาก ชะนีแล้วยังมีอีก 3 จำพวก คือ ลิงอุรังอุตัง ลิงซิมแปนซีและลิงกอริลลา ชะนีเป็นสัตว์ที่มีลักษณะ หลายอย่างที่ก้ำกึ่งระหว่างพวกลิงเอพชนิดอื่น เช่นมีแผ่นหนังบริเวณก้นคล้ายลิงโลกเก่า แผ่นหนังนี้มี ประโยชน์ในการทรงตัวเวลานั่ง เพราะชะนีจะนอนหลับในท่านั่งบนต้นไม้สูง และจะไม่สร้างที่นอน เหมือนพวกลิงเอพอื่น ชะนีมีลำตัวตั้งตรงเหมือน มนุษย์ มีขนาดเล็กกว่าพวกเอพอื่นๆ มีแขนยาวมาก และสามารถที่จะเดินด้วยสองเท้า ซึ่งแตกต่างจากลิง และค่างที่เดินด้วยเท้าทั้งสี่
ภาษาสเปน Gibón (ฆิบอน)
ภาษาโปรตุเกส Gibão (ชิบาว)
ภาษาอิตาลี Gibbone (จิบโบ้เหนะ)
ภาษาฝรั่งเศส Gibbon (ชิบบง)
ภาษาเยอรมัน Gibbon (กิบบอน)
ภาษารัสเซีย Гиббон (กงิบบอน)
ภาษากรีก Γίββων (กงิบโบน)
ชะนีกระจายอยู่เฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงไต้เท่านั้น สำหรับในประเทศไทยมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่
1.ชะนีมือขาว (Hylobates lar) หรือ white-handed gibbon ในอดีตเรียกว่า ชะนีธรรมดา เนื่องจากเป็นชนิดที่พบแพร่กระจายมากที่สุดในประเทศไทยและเป็น ชนิด ที่คนนิยมล่าลูกชะนีมาเลี้ยงมากที่สุด มีสีขน 2 แบบ (Phase) คือมีสีดำ และสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแก่ ทั้งสองแบบนี้จะมีขนที่บริเวณหลังมือและหลัง เท้าเป็นสีขาวและมีขนเป็นวงแหวนสีขาวรอบๆใบหน้า แม้ว่าจะมีสีขนต่างกัน แต่ก็เป็นชะนีชนิดเดียวกัน ตัวผู้และตัวเมียจะเป็นสีใดสีหนึ่งก็ได้ เรียกลักษณะ การมีสีขนแบบนี้ว่า asexually dimorphism
2. ชะนีมงกุฎ (Hylobates pileatus) หรือ crowned gibbon/pileated gibbon มีถิ่นแพร่กระจาย ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงเช่นเดียวกับชะนีมือขาว พบในเขมร ภาคตะวันออกของไทย จนถึงฝั่งตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ เมื่อเกิดใหม่ชะนีมงกุฎมีสีขาวนวลทั้งตัวผู้และตัวเมีย พออายุได้ 4-6 เดือน ขนที่หน้าอกจะเปลี่ยนเป็นสีดำขนหัวก็ เปลี่ยน เป็นสีดำ เมื่อตัวผู้เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะเปลี่ยนขน เป็น สีดำทั้งตัว ยกเว้นขนคิ้ว ขนรอบถุงอัณฑะ หลังมือหลังเท้าและ รอบวงใบหน้า ซึ่งจะเป็นขนสีขาวเช่นเดิม รอบกระหม่อมก็จะมี ขนสีขาวยาวเป็นปีกออกมา ทำให้ชะนีตัวผู้แลดูเหมือนสวมมงกุฎ ส่วนตัวเมียและตัววัยรุ่นจะดูเหมือน สวมเอี๊ยมมากกว่า จึงมีอีกชื่อเรียกว่า ชะนีเอี๊ยมดำ
ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นแนวแพร่กระจายที่ชะนีมือขาวและชะนีมงกุฎมาพบกัน ปรากฎว่ามีการผสมพันธุ์ข้ามชนิดระหว่างชะนีทั้งสอง เกิดเป็นชะนีลูกผสมซึ่งไม่เป็นหมัน สามารถ ขยายพันธุ์ต่อไปได้ แต่ตามปกติชะนีจะไม่ผสมข้ามสายพันธุ์กันอยู่แล้ว
3.ชะนีมือดำ(Hylobates agilis) หรือ Dark-handed gibbon มีสีขนได้สอง ลักษณะ เช่นเดียวกับชะนีมือขาวต่างกันที่มือและเท้าเป็นสีดำ และวงรอบใบหน้า ต่างกันเล็กน้อย ในเมืองไทยมักจะพบชะนีชนิดนี้เป็นสีดำ มากกว่าแต่ในปัจจุบันไม่มีรายงานการพบ จนคาดว่าสุญพันธุ์จาก ไทยไปแล้ว เนื่องจากมีถิ่นแพร่กระจายน้อยมากบริเวณจังหวัด ยะลาและนราธิวาสเท่านั้น
4.เซียมัง (Symphalangus syndactylus) หรือ Siamang เป็นชะนีขนาดใหญ่ ตัวเต็มวัยของชะนีชนิดนี้ มีน้ำหนัก 11-12 กิโลกรัม หนักกว่าชะนีมือขาวถึงเท่าหนึ่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียมี สีดำเหลือบ ลักษณะเด่นคือ ถุงลมที่คอซึ่งจะพองออกเมื่อส่งเสียงร้อง เดิมมีถิ่นแพร่ กระจายเฉพาะในประเทศมาเลเซียกับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียเท่านั้น จนกระทั่งมีรายงานการพบแบบทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยคุณอุทัย ตรีสุคนธ์ และกลุ่มดูนกเมื่อเดือน ตุลาคม 2539
ลักษณะการเคลื่อนที่ (Locomotion)
ชะนีเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม ้ไม่ค่อยลง มาบนพื้นดิน จัดเป็นพวก arboreal mammals มีนิสัยและพฤติกรรมที่แตกต่างจาก arboreal mammals ชนิดอื่นอย่างพวกลิงและค่างมาก คือแทนที่จะใช้ขาวิ่งและกระโดดจากกิ่งไม้หนึ่ง ไปยังกิ่งอื่นๆ จะใช้แขนห้อยโหนโยนตัวไปตามกิ่งไม้ด้วยความรวดเร็ว ชะนีจะแขนยาว เพื่อให้ เหมาะสมกับการห้อยโหนและมีนิ้วมือที่เรียวยาว ทำให้การจับกิ่งไม้ได้เหนียว แน่น การเคลื่อนไหวที่แขนห้อยโหนนี้เรียกว่า branchiating locomotion แม้ว่าการเคลื่อนที่แบบนี้จะไม่รวดเร็วและคล่องตัวเท่ากับการเคลื่อนที่ ของพวกลิงและค่างก็ตาม แต่เป็นการปรับตัวให้เหมาะสมกับการหาอาหาร ซึ่งชะนีสามารถที่จะห้อยโหน ไปหากินยังปลายกิ่งหรือยอดกิ่งของต้นไม้ ได้ในขณะที่พวกลิงและค่างไม่สามารถที่จะกระโดดหรือเดินถึงได้
สภาพถิ่นที่อยู่อาศัยและการหากิน
ชะนีมีกระจายอยู่เฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ซึ่งมีลักษณะของภูมิอากาศร้อน และมีความชุ่มชื้น เรียก Tropical zone จะอาศัยอยู่แต่ในเฉพาะในป่าดงดิบที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น Evergreen forest ไม่พบชะนีในบริเวณที่เป็นป่าเต็งรัง (deciduous dipterocarp) หรือบริเวณที่เป็น ทุ่งหญ้า ชะนีเป็นสัตว์ที่ไม่สร้างรัง แต่จะเลือกต้นไม้ที่สูงใหญ่และมีเรือนยอดหนาทึบเป็นที่อยู่อาศัย มักจะนอนบนต้นไม้ที่สูงใหญ่มีความสูงตั้งแต่ 25 เมตร ขึ้นไป และส่วนมากมักจะเป็นต้นไม้ใน สกุลยางในการนอน ชะนีแต่ละตัวแยกกันนอนต้นไม้คนละต้นไม่นอนรวมกัน นอกจากลูกอ่อน เท่านั้นที่จะนอนบนต้นเดียวกันกับแม่
ชะนีเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารหลักซึ่งประกอบด้วยผลไม้ ใบไม้อ่อน ยอดอ่อน นอกจากนี้ชะนี ยังสามารถกินสัตว์เล็กๆเป็นอาหารได้ พวกแมลงต่างๆ เช่นปลวก มด และยังมีลูกนก ไข่นก สัตว์เลื้อย คลานเล็กๆ เช่นจิ้งเหลน ผลไม้ที่ชะนีใช้เป็นอาหารมีมากมายหลายชนิดซึ่งส่วนมากมักจะมีสีเหลือง ส้มหรือแดง เช่นผลไทร ลูกทราย ลูกสารภี ผลชมวงป่า เป็นต้น จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าชะนี จะมีการดำเนินชีวิตเกือบทั้งหมดอยู่บนต้นไม้ ไม่ว่าจะหาอาหาร การพักผ่อนตลอดจนพฤติกรรม ต่างๆจะห้อยโหนไปมาจากกิ่งไม้หนึ่งไปยังกิ่งอื่นๆอย่างคล่องแคล่ว นอกจากนี้ชะนียังสามารถเดิน ด้วยสองขา ไต่ไปตามต้นไม้อย่างชำนาญ มักจะไม่พบชะนีลงมาหากิน บนพื้นดินนอกจากคราวจำเป็น เช่นในช่วงฤดูแล้ง น้ำตามกิ่งไม้ โพรงไม้แห้ง จึงจำเป็นต้องลงมาหาแหล่งน้ำ บนพื้นดิน วิธีการกินน้ำของชะนีแบ่งเป็นสามแบบ ดังนี้
1. โดยการใช้มือจุ่มลงไปในน้ำแล้วยกขึ้นดูดน้ำจากขนบริเวณหลังมือ
2. โดยการเลียน้ำที่เกาะอยู่ตามใบไม้ กิ่งไม้หรือตามส่วนต่างๆของ ต้นไม้ที่มีน้ำเกาะอยู่
3. โดยการก้มลงกินน้ำจากแหล่งน้ำโดยตรง ซึ่งมักจะเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ พอที่จะสามารถก้มลงกินได้
ชะนีจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มแบบครอบครัวเล็กๆ จะมีตั้งแต่ 2-6 ตัว ประกอบด้วยพ่อ แม่และลูกๆที่ยังโตไม่เต็มที่ ซึ่งจะอาศัยอยู่ในเนื้อที่เล็กๆ ประมาณ 20-30 เฮกแตร์ หรือประมาณ 100-200 ไร่ ชะนีจะใช้เนื้อที่นี้เป็นแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัยและประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น ใช้ในการเลี้ยงลูกอ่อน และมีการป้องกันมิให้ชะนีครอบครัวอื่นรุกล้ำเข้าไป เนื้อที่ดังกล่าวนี้ เรียกว่า เขตครอบครอง (territory) แต่ละกลุ่มจะอาศัยอยู่ในเขตครอบครองเฉพาะของมันในป่า ตลอดการดำรงชีพของมัน จะมีการประกาศเขตครอบครองโดยวิธีการส่งเสียงร้อง ซึ่งจะแตกต่าง กันไปตามชะนิดของชะนี แม้ในชะนีชนิดเดียวกันเสียงร้องของตัวผู้และตัวเมียก็ยังแตกต่างกันอีก ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ใช้เสียงร้องในการจำแนกชนิดและเพศของชะนี เสียงร้องเพื่อประกาศอาณา เขตครอบครองจะมีขึ้นในตอนเช้าตรู่ จะประกอบด้วยเสียงร้องของตัวเมียซึ่งจะร้องขึ้นต้นก่อน เรียกว่า great call และขานรับด้วยเสียงร้องของตัวผู้ การขานรับของตัวผู้จะแตกต่างกันไปตามชนิด ในชะนีธรรมดาและชะนีมือดำ ตัวเมียจะเริ่มส่งเสียงร้องก่อน และเมื่อตัวเมียร้องจบตัวผู้จะขานรับต่อ เสียงร้องของชะนีตัวเมียทั้งสองชนิดนี้จะคล้ายกันมาก แต่เสียงร้องของตัวผู้จะต่างกัน ส่วนในชะนี มงกุฎ ขณะที่ตัวเมียยังร้องไม่จบ ตัวผู้จะร้องรับขึ้นมาเสียงร้องของชะนีจะร้องซ้ำกันทุกๆ ประมาณ 1-3 นาที และร้องอยู่นานประมาณ 10-30 นาที ชะนีมิได้หาอาหารหรืออาศัยอยู่แต่เฉพาะในเขต ครอบครองเท่านั้น ยังอาจออกไปนอกเขตครอบครองหากินบริเวณใกล้ๆ ซึ่งมักจะใช้เป็นกิจวัตร โดยไม่มีการต่อต้านสัตว์ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดที่เข้ามาใช้ประโยชน์ บริเวณที่อาศัยและสัตว์อื่น สามารถเข้ามาใช้ร่วมได้นี้เรียกว่า เขตที่อยู่อาศัย (home range)
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
ชะนีจะโตเต็มวัยและสืบพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 6-8 ปีเป็นระยะที่มี sex maturity ชะนีทุกชนิดจะมีการจับคู่แบบ monogamy คือตัวผู้หนึ่งตัวจะผสมพันธุ์กับตัวเมียเพียงหนึ่งตัว และจะอยู่ด้วยกันในเขตครอบครองอย่างถาวรตลอดไป การจับคู่นั้นชะนีจะเลือกตัวที่พอใจเป็นคู่ โดยมีการส่งเสียงร้องโต้ตอบกัน และเมื่อได้คู่ที่พอใจแล้วจะแยกออกไปสร้างเขตครอบครองของตนเอง ตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะตั้งท้องประมาณเจ็ดเดือน คลอดลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกที่ออกมาจะเกาะติดกับอกแม่จน อายุประมาณ 1 ปี ลูกจะผละจากอกแม่แต่ก็ยังหากินและ วนเวียนอยู่ใกล้ตัวแม่ จนอายุประมาณหนึ่งปีครึ่ง ซึ่งระยะ นี้ตัวแม่เริ่มตั้งท้องครั้งใหม่ได้และจะคลอดลูกตัวใหม่ เมื่อลูกตัวเดิมอายุได้ประมาณ 2-3 ปี ซึ่งเป็นระยะที่ลูกชะนี สามารถดูแลและหากินเองได้แล้ว จะเห็นได้ว่าชะนีตก ลูกหนึ่งตัวต้องใช้เวลาถึง 3 ปี นับว่าเป็นสัตว์ที่มี อัตราการเกิดต่ำ ลูกชะนีจะเจริญเติบโตและหากิน อยู่กับครอบครัวจนมีอายุประมาณ 6-8 ปี ก็จะเริ่มแยกจากฝูงไปหาคู่และสร้างเขตครอบครองใหม่ ต่อไป ชะนีมีอายุยืนเฉลี่ยประมาณ 20-30 ปี
ระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่เล็กจนเป็นตัวเต็มวัย แบ่งออกเป็นระยะได้ดังนี้
1. Infant (วัยเด็ก) เป็นระยะตั้ง แต่แรกเกิดจนถึงอายุ 2-2.5 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าตัวแม่จะมีลูกใหม่ เร็วหรือช้า ถ้าตัวแม่มีลูกตัวใหม่เร็ว วัยนี้ก็จะพ้นไปเร็วตามด้วย การสิ้นสุดของวัยนี้ต่อเมื่อตัวลูก ไม่ได้นอนอยู่กับตัวแม่ จะแยกไปนอนตามลำพัง ตอนระยะแรกเกิดลูกจะเกาะอยู่กับอกแม่ตลอดเวลา อายุประมาณ 2 เดือน ลูกชะนีเริ่มเลียนเสียงร้องของตัวพ่อตัวแม่ และเริ่มมีการส่งเสียงร้องบ้างในตอน เช้า อายุประมาณ 4 เดือน จะเริ่มกินผลไม้ ใบไม้ ยอดอ่อนเหมือนตัวเต็มวัย และเริ่มที่จะห่างจากแม่บ้าง เป็นครั้งคราว และเมื่ออายุ 2 ปี เริ่มมีการแยกไปอยู่ตามลำพังและไปเล่นกับตัวพี่ๆ บ้าง
2. Juvenile (วัยรุ่น) เป็นระยะที่มีอายุประมาณ 2-2.5 ถึง 4-4.5 ปี เป็นระยะที่ตัวลูกแยกออก จากตัวแม่อย่างอิสระ วัยนี้เริ่มสนใจในการเล่นกับตัวพี่ๆ มากขึ้น และเริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากตัวพ่อและตัวแม่
3. Adolescence or sub-adult (วัยหนุ่มสาว) เป็น ระยะที่มีอายุประมาณ 4-6 ปี ช่วงนี้ตัวพ่อ ตัวแม่จะแสดงอาการกีดกันในการหากินมากขึ้น ทำให้ลูกชะนีต้องไปหากินไกลจากครอบครัวมากขึ้น และออกไปอยู่โดดเดี่ยวเป็นเวลานานๆ และจะเข้าไปอยู่กับครอบครัวบ้างเป็นครั้งคราว วัยนี้จะรู้จัก วิธีการดูแลและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง
4. Adult (ตัวเต็มวัย) เป็นระยะที่มีอายุประมาณ 6-8 ปี จะแยกออกไปหากินและท่องเที่ยวไปตาม ลำพังและเริ่มที่จะหาคู่โดยส่งเสียงร้องในตอนเช้า เมื่อเกิดความพอใจในคู่แล้ว ซึ่งอาจจะเป็นตัว ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกันหรือครอบครัวอื่นก็ได้ แล้วจะสร้างเขตครอบครองของตัวเอง
ศัตรูของชะนี
มนุษย์ถือว่าเป็นศัตรูที่สำคัญต่อการลดขนาดของประชากรไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม ทางตรงโดยการล่าอย่างไร้ความเมตตา เพียงต้องการความสนุกในการกีฬา หรือเพื่อการค้าหรือ เพียงเพื่อให้ได้เนื้อมาเป็นอาหาร โดยไม่มีการคำนึงถึงว่าสัตว์ป่าก็มีความรักชีวิตเหมือนกัน ทางอ้อมมนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการทำลายสภาพธรรมชาติ เช่น ตัดไม้ การถางหรือเผาป่า เพื่อเพิ่มเนื้อที่ในการเกษตรกรรม ยังผลให้สัตว์ป่าขาดแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำ ทำให้ขนาดประชากรสัตว์ป่าลดลง นอกจากมนุษย์แล้วยังมีศัตรูตามธรรมชาติ คือ ตัวล่า (predator) ที่สำคัญได้แก่ งูเหลือม งูหลาม (pythons) ซึ่งจะคอยดักกินลูกชะนีที่ผ่านมาหรือชะนีที่กำลังหลับ ซึ่งมักเป็นเหยื่อได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีพวกนกเหยี่ยวต่างๆ ที่คอยบินโฉบลูกชะนี ชะนีเมื่อเห็นศัตรู จะส่งเสียงร้องเตือนภัยกันพร้อมทั้งหนีขึ้นไปหลบซ่อนบนต้นไม้อย่างรวดเร็ว
สภาวะของชะนีในปัจจุบัน
ในสภาวะปัจจุบันชะนีได้ลดจำนวนลงอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชะนีมงกุฎ ซึ่งทางหนังสือปกแดงของ IUCN (IUCN Red Data Book) ได้จัดไว้ว่าเป็นสัตว์ที่ กำลังจะสูญพันธุ์ (endanger species) ในสภาวะสงครามอินโดจีนทำให้ประเทศ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ขาดความ สนใจในการอนุรักษ์ด้านสัตว์ป่า ดังนั้น การอยู่รอดของชะนีมงกุฎจึงฝากไว้กับ การอนุรักษ์ของประเทศไทยเท่านั้น แม้ว่า ได้มีการนำเอาชะนีชนิดต่างๆมาเลี้ยงใน กรงเพื่อขยายพันธุ์ แต่เนื่องจากชะนี เป็นสัตว์ที่มีอัตราการขยายพันธุ์ต่ำ ประกอบกับชะนีเป็นสัตว์ที่มีความต้อง การปัจจัยในการดำรงชีพและสภาพ แวดล้อมที่เฉพาะเจาะจงมาก จึงทำให้ ชะนีในกรงเลี้ยงไม่สามารถขยายพันธุ์ หรือมีแต่ก็อยู่ในอัตราที่ต่ำมากหรือ ไม่สามารถที่จะชดเชยกับจำนวน ที่ถูกทำลายไปด้วยฝีมือของมนุษย์
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
10 มกราคม 2013
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น