วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ผึ้ง ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร

ข้อมูลโดย Wikipedia
ผึ้ง จัดเป็นเป็นแมลงชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหาร นั่นคือน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่ คนเรารู้จักผึ้งมา นาน 7000 ปีแล้ว กษัตริย์ Menes ของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์ คาดว่าผึ้งมีมากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งมากกว่ามนุษย์ ปลา และสัตว์เลื้อยคลานรวมกันเสียอีก
ภาษาสเปน                                     Abeja (อาเบ้ฆะ)
ภาษาโปรตุเกส                              Abelha (อาเบ้ลหยะ)
ภาษาอิตาลี                                    Ape (อ้าเปะ)
ภาษาฝรั่งเศส                                Abeille (อ้าเบเหยอะ)
ภาษาเยอรมัน                                Biene (บีเหนอะ)
ภาษารัสเซีย                                  Пчела (ปชีละ)
ภาษากรีก                                      Μέλισσα (เม้ลิสะ)
 
ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
  1. ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
    1. ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ
    2. ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็ก ๆ 3 จุด อยู่ ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีม่วง ฟ้า สีฟ้าปนเขียว และเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 มิลลิไมครอน ผึ้งจะมองเห็นเป็นสีดำ
    3. หนวด ประกอบข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่า ๆ กันจำนวน 10 ปล้อง ประกอบเป็นเส้นหนวด ซึ่งจะทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ไวมาก
  2. ส่วนอก ประกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง ส่วนด้านล่างของอกปล้องแรกมีขาคู่หน้า อมปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่างอกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึ่งขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตระกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมีปีกคู่หลังอยู่หนึ่งคู่ที่เล็กกว่าปีกหน้า
  3. ส่วน ท้อง ส่วนท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญาเราจะเห็นภายนอกเพียง 6 ปล้อง ส่วนปล้องที่ 8-10 จะหุบเข้าไปแทรกตัวรวมกันอยู่ในปล้องที่ 7 ส่วนผึ้งตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อง
  
ข้อมูลโดย pantip.com
นมผึ้ง (Royal Jelly)

 
         นมผึ้ง หรือ รอยัลเยลลี (royal jelly) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ของผึ้งที่ใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งนางพญา มีลักษณะเหมือนครีมข้นสีขาว และให้หมายรวมถึงรอยัลเยลลีที่นำไประเหยน้ำออกจนแห้งด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดหรือลักษณะอื่น 
       
 นมผึ้งเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงดูตัวอ่อนของผึ้ง และผึ้งนางพญา ซึ่งเป็นสารอาหารที่ผลิตขึ้นโดยผึ้งงาน (Apis mellifera) หรือ ผึ้งนางพยาบาล (nurse bees) ในช่วงอายุ 7 วัน ซึ่งผึ้งงานเป็นผึ้งเพศเมียเช่นเดียวกับผึ้งนางพญา นมผึ้งจะขับออกจากจากต่อมไฮโปฟาริงค์ (hypo-pharyngeal gland) และต่อมน้ำลาย (mandibular gland) ที่อยู่บริเวณส่วนหัวของผึ้งงาน ซึ่งนมผึ้งจะถูกสร้างขึ้นจากที่ต่อมไฮโปฟาริงค์มากกว่าที่ต่อมน้ำลาย ผึ้งงานจะคายนมผึ้งออกจากปากใส่ลงในหลอดรวงตัวอ่อน (brood cells) นอกจากนั้นผึ้งงานจะป้อนนมผึ้งให้แก่ผึ้งนางพญาตั้งแต่เป็นหนอนตัวอ่อน จนกลายเป็นผึ้งนางพญาที่สมบรูณ์ ผึ้งทั่วไปได้รับนมผึ้งเพียงแค่ 3 วันแรก ซึ่งมีเฉพาะตัวอ่อนที่เจริญไปเป็นผึ้งนางพญาเท่านั้นที่ได้รับนมผึ้งตลอดชีวิต เหตุนี้จึงถูกเรียกว่า อาหารทิพย์ วุ้นทิพย์ วุ้นราชินี อาหารราชินี หรือ อาหารนางพญา

นมผึ้งใช้สำหรับเร่งการเจริญเติบโตของหนอนตัวอ่อนของทั้งผึ้งงาน และตัวอ่อนที่เจริญไปเป็นผึ้งนางพญา ซึ่งตัวอ่อนของผึ้งนางพญาจะได้รับนมผึ้งมากกว่าตัวอ่อนของผึ้งงาน ส่งผลให้ผึ้งนางพญามีรูปร่างใหญ่โต และสวยงามกว่าผึ้งงาน (รูปที่ 2.1) อีกทั้งยังมีอายุยืนกว่าผึ้งชนิดอื่น ซึ่งมีช่วงอายุยืนกว่าผึ้งงานทั่วไป 10-20 เท่า และสามารถออกไข่เพื่อสืบพันธุ์ได้ สามารถออกไข่ได้ตลอดเวลาจนสิ้นสุดอายุขัย วางไข่วันละประมาณ 2,000-3,000 ฟอง

        นมผึ้งที่ผลิตได้ต่อรังจะมีปริมาณน้อยมาก ผึ้งงาน 1 รัง (ประมาณ 60,000 ตัวขึ้นไป) จะสามารถผลิตนมผึ้งได้เพียงวันละ 1.5-3.3 g เท่านั้น การผลิตนมผึ้งเพื่อการค้าจะเก็บทุก 3 วันประมาณ 5-10 g/วัน ปริมาณการผลิตนมผึ้งของผึ้งงานจะแตกต่างขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ พืชอาหาร และสภาพแวดล้อม  


นมผึ้งมีองค์ประกอบหลัก คือ น้ำ โปรตีน ไขมัน น้ำตาล ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับฤดูกาล และพื้นที่ในการเลี้ยงผึ้ง นอกจากนี้นมผึ้งยังมีวิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน และสารชีวโมเลกุล ส่วนประกอบของนมผึ้งจะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะของการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่จะเป็นนางพญาผึ้ง หากเก็บรักษานมผึ้งไว้ไม่ดีเท่าที่ควร จะส่งผลให้ส่วนประกอบต่างๆ ของนมผึ้งนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว





จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
27 มกราคม 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น