ข้อมูล bedo.or.th
ผีเสื้อ คือ สัตว์ปีกอีกชนิดหนึ่งที่มีสีสรรสวยงามเเต่มีอายุไม่ยืนยาว
ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์จะมีผีเสื้ออยู่มาก ผีเสื้อจึงเป็นเครื่องบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ดังนั้นเราควรรักษาผีเสื้อให้อยู่คู่กับป่าตลอดไป
ผีเสื้อเป็นแมลงที่มีลักษณะเด่นตรงที่ปีก สวยงาม เป็นสัตว์ในไฟลัมอาร์โทร์โปดา (Phylum Arthopoda) เช่นเดียวกับ แมลงทั่วไป ๆ อยู่ในอันดับเลพิดอปเทอรา (Order Lepidoptera) ของชั้นอินเซกตา (Class Insecta) ในอดีตการอนุรักษ์ ผีเสื้อในประเทศไทย ยังไม่เคย มีรูปแบบที่ชัดเจน เนื่องจากพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มิได้กำหนดให้แมลงและแมงเป็นสัตว์ ป่า ทำให้มีการดักจับผีเสื้อ เพื่อนำไปขายเป็น ของที่ระลึกอย่างไม่มีขอบเขต จนทำให้ผีเสื้อบางชนิดได้ สูญพันธุ์จากประเทศไทย ไปแล้ว ตัวอย่างเช่น ผีเสื้อสมิงเชียงดาว (Bhutanitis lidderdalei) และอีกหลาย ชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ผีเสื้อไกเซอร์ (Teinopalpus imperialis) เป็นต้น
ภาษาโปรตุเกส Borboleta (โบรฺโบเล้ตะ)
ภาษาอิตาลี Farfalla (ฟารฺฟั้ลหละ)
ภาษาฝรั่งเศส Papillon (ปาปิยง)
ภาษาเยอรมัน Schmetterling (ชเม็ทเทอลิง)
ภาษารัสเซีย Бабочка (บาโบชกะ)
ภาษากรีก Πεταλούδα (เปตาลู่ดะ)
ผีเสื้อ
จัดว่าเป็นแมลงที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศอีกชนิดหนึ่ง
โดยในระยะที่เป็นตัวหนอนจะกัดกินใบไม้ในป่า มิให้มีมาก หรือหนาแน่นจนเกินไป
ช่วยให้แสงแดดสอดส่องลงถึงพื้นด้านล่าง
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกมากมาย ในขณะเดียวกัน ก็เป็นอาหาร
ของนกชนิดต่างๆ รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ การถ่ายทอด
พลังงานในระบบนิเวศ เมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย ที่เรียกว่า ผีเสื้อ
เพศเมีย ซึ่งกินน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหารหลัก
จะบินไปมาระหว่างดอกไม้ดอกหนึ่ง สู่อีกดอกหนึ่ง ทำให้เกิดการผสมเกษร
ระหว่างเกษรตัวผู้กับเกษรตัวเมีย ทำให้เกิดการกระจายพันธุ์ของพืชชนิดนั้นๆ
และอีกทั้งยังเป็นอาหารของนก กิ้งก่า และสัตว์ชนิดอื่นๆ ด้วย
ก่อให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศและความยั่งยืนในธรรมชาติตลอดไป
แม้ว่าคนทั่วไปจะเข้าใจว่าผีเสื้อเป็นแมลงที่ไม่มีความสำคัญกับระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตมากนัก คงมีแต่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว
แต่แท้ที่จริงแล้วผีเสื้อมีหน้าที่สำคัญในการผสมเกษร ให้แก่พืชต่างๆ
ทำให้พรรณพืชสามารถดำรงพันธุ์และกระจายพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไปได้
ประกอบกับสภาพป่าธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของผีเสื้อได้ถูกทำลายลง จึงทำให้ชนิดและปริมาณของเสื้อลดลงอย่างรวดเร็ว
ผีเสื้อบางชนิดอาจจะสูญพันธุ์ ไปก่อนที่จะถูกค้นพบ ดังนั้นในพระราชบ
ัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จึงกำหนดไว้ว่า
“สัตว์ป่าทุกชนิดไม่ว่า สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง และแมง
ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ
และให้หมายความรวมถึง ไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย…
จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
30 มกราคม 2013
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น