วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

อูฐ ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร

ข้อมูลโดย Wikipedia
 อูฐ   เป็นสัตว์สี่เท้าที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยโดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำเลย 2 สัปดาห์เพราะมีไขมันสะสมไว้ในหนอกและร่างกายเก็บรักษาน้ำได้เป็นอย่างดี จึงสามารถอยู่ในที่ทุรกันดารเช่น ทะเลทรายได้ กินอาหารประเภทใบ ขนของหนักได้เยอะ ทำงานหนักให้คนได้หลายอย่าง แต่ยังไม่วาย โดนคนบางส่วนจับมาทำเป็นอาหาร นอกจากนี้อูฐยังให้นม และขนเป็นประโยชน์ต่อคนอีกด้วย
 
ภาษาสเปน                         Camello (กาเม้โหยะ)
ภาษาโปรตุเกส                  Camelo (กาเม้โหละ)
ภาษาอิตาลี                        Cammello (กัมเมลโหละ)
ภาษาฝรั่งเศส                    Chameau (ชาโม)
ภาษาเยอรมัน                    Kamel (คาเมล)
ภาษารัสเซีย                      Верблюд (เวียรบลูด)
ภาษากรีก                          Καμήλα (คามี้หละ)

ข้อมูลโดย Wasan Janthep
 รู้กันอยู่แล้วว่าอูฐเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย และเป็นสัตว์ที่เข้มแข็งมาก วันนี้ พี่ตินขอมาเล่าเรื่องอูฐให้น้องๆ ฟังกันดีกว่า ว่ามีอะไรน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์ตัวนี้บ้าง
ในทะเลทรายนั้น เป็นที่รู้กันดีว่าจะหาน้ำหรืออาหารยากมากๆๆๆ คนและสัตว์ส่วนมาก ยากที่จะอยู่รอด ก็ทั้งร้อน ทั้งหาของกินยากนี่นาแต่รู้ไหมว่าอูฐนี่แหละ เป็นสัตว์ที่เกิดมาเพื่อทะเลทรายโดยเฉพาะเลย
ความลับของอูฐมีอะไรบ้าง
- โหนกของอูฐเป็นที่เก็บไขมัน ซึ่งจะดึงออกมาใช้เมื่อไม่มีอาหารกิน และความร้อนที่สะสมในตัวอูฐก็จะลอดออกมาทางโหนกนี้ด้วย
- อูฐสามารถอุดจมูกได้ทันทีที่ต้องการ ทำให้พายุทรายกวนใจมันได้ยาก
- อูฐมีขนตายาวมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เม็ดทรายเข้าตา
- อูฐมีพื้นเท้าที่กว้างกว่าสัตว์อื่นๆ ช่วยไม่ให้จมลงในทรายอ่อนๆ ได้
- อูฐเป็นสัตว์ที่ขยับขาทางด้านเดียวพร้อมๆ กัน
- ท้องของอูฐเป็นที่เก็บน้ำชั้นดี แล้วจะปล่อยออกมาทางระบบย่อยทีละน้อยๆ ทำให้ย่อยแม้แต่หญ้าแห้งก็ได้ สบายมากๆ
- นมของอูฐเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญมาก ในการเดินทางไกลในทะเลทราย
- อูฐสามารถเดินฝ่าทะเลทรายได้วันละ 40 กม. ทั้งที่บรรทุกสัมภาระกว่า 100 กก.
- ขนของอูฐใช้ทำเสื้อผ้าได้ดีมาก และสามารถทอเป็นพรมได้ด้วย
- อุจจาระของอูฐใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงจุดผิงไฟในคืนที่หนาวจัดในทะเลทราย
และนี่แหละ คือเรื่องราวของอูฐแต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ รู้กันบ้างไหมว่า อูฐสะสมอาหารไว้ในโหนก และจะค่อยๆ ดึงมาใช้เมื่ออาหารหมดไป โหนกของมันก็จะเหี่ยวเล็กลงด้วย ....
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ โลกที่เราอยู่อาศัย 

         นักเดินทางสมัยก่อนเชื่อกันว่า ขณะที่อยู่ในทะเลทรายและต้องการน้ำดื่ม สามารถฆ่าอูฐและนำน้ำจากกระเพาะอาหารของมันมาดื่มได้ โดยทางทฤษฎีแล้ว วิธีการดังกล่าวก็น่าจะเป็นไปได้ ทว่าปริมาณน้ำที่เก็บสะสมไว้ในกระเพาะก็มีไม่มากพอที่จะทำให้อูฐสามารถเดิน ทางในทะเลทรายได้ไกล ๆ โดยไม่ต้องดื่มน้ำเลย
          ส่วนโหนกบนหลังอูฐนั้นไม่ใช่ที่เก็บน้ำ อวัยวะส่วนนี้จะเต็มไปด้วยไขมันต่างหาก  เมื่ออูฐไม่สามารถเก็บน้ำไว้ในร่างกายได้มาก ๆ ร่างกายอูฐจึงต้องมีกลไกบางอย่างที่ช่วยประหยัดน้ำให้ได้มากที่สุด นั่นคือ
๑. โดยทั่ว ๆ ไป อุณหภูมิร่างกายคนเราจะไม่สูงเกินกว่า ๓๗ องศาเซลเซียสได้มากนัก เมื่ออุณหภูมิสูงกว่าเกณฑ์ ร่างกายจะหลั่งเหงื่อเพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลง แต่อูฐจะรับความร้อนได้ถึง ๔๑ องศาเซลเซียส เหงื่อจึงจะหลั่งออกมา ดังนั้นอูฐจึงรักษาน้ำไว้ในร่างกายได้มาก
๒.  ขนอูฐสามารถกันความร้อนภายนอกได้ แต่ขนอูฐจะไม่หนาหรือยาวเกินจำเป็น มิฉะนั้นเหงื่อซึ่งระบายออกจากร่างกายจะไม่สามารถระเหยได้
๓.  ระบบสรีระของอูฐสามารถทนทานต่อการสูญเสียน้ำในร่างกายได้ดี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอื่นจะตายทันทีเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำเพียงร้อยละ ๒๐ แต่อูฐสามารถทนอยู่ได้ แม้ร่างกายจะสูญเสียน้ำถึงร้อยละ ๔๐
๔.  อูฐดื่มน้ำได้ครั้งละมาก ๆ อูฐบางตัวดื่มน้ำในปริมาณเกือบ ๑ ใน ๓ ของน้ำหนักตัวภายใน ๑๐ นาที


          
ข้อมูลโดย พู่กันสีหมอก

ลามะ เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง ตัวเมียประมาณ ๕ ถึง ๑๕ ตัวต่อตัวผู้ ๑ ตัวในหนึ่งฝูง
ตัวผู้ลักษณะสูงใหญ่กว่าตัวเมีย ลำตัวมีความยาวถึง ๑.๙๐ เมตร หนักประมาณ ๕๐ กิโลกรัม

ฤดูผสมพันธุ์ที่ดีจะอยู่ในช่วงเดือน เมษายน ถึง เดือน มิถุนายน ตั้งท้องนาน ๑๐ เดือน
มีอายุยืนนานประมาณ ๒๕ ปี อาหารได้แก่ พืชตระกูลหญ้าและถั่วชนิดต่างๆ

ถิ่น กำเนิดอยู่ที่บริเวณแถบเทือกเขาแอนดิส ทวีปอเมริกาใต้

 

Llama (ย้าหม) 
Lhama (ล้าหมะ) 
Lama (ล้าหมะ)
Lama (ล้าหมะ)
Lama (ล้าหมะ)
Лама (ล้าหมะ)
Λάμα (ล้าหมะ)

 รูปร่างละม้ายกวาง หน้าตาคล้ายอูฐ เขาล่ะ ลามะ (Llama) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lama glama เจ้าถิ่นภูเขาสูงแห่งอเมริกาใต้ โดยเฉพาะย่านตะวันตก คือเปรู โบลิเวีย ชิลี และมีบ้างทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา



ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ราชบัณฑิต เขียนถึงตัวลามะ ไว้ในหนังสือไขปริศนาวิทยาการ สรุปความได้ว่า เทือกเขาแอนดีสที่สูงจรดฟ้าคือถิ่นอาศัยของลามะ ชาวพื้นเมืองอเมริกาใต้เผ่าอินคารู้จักเลี้ยงลามะเป็นสัตว์ขนสัมภาระข้ามภูเขามาช้านาน มันอดทนกว่าม้า และตีนก็สามารถยึดแผ่นดินได้ดีกว่า ประวัติศาสตร์อินคาบันทึกว่าทั้งกษัตริย์และขุนนางผู้ใหญ่ต่างนิยมเลี้ยงลามะ ส่วนชาวบ้านธรรมดาจะวัดความร่ำรวยด้วยจำนวนลามะที่มี และเมื่อถึงเทศกาลศาสนาสำคัญ จะมีวิ่งแข่งลามะ และฆ่าลามะที่มีขนสีขาวในพิธีบูชาเทพเจ้า


ชาวอินคาพึ่งพาลามะเหมือนชาวแลปป์ในยุโรปตอนเหนือพึ่งพากวางเรนเดียร์ และชาวอาหรับพึ่งพาอูฐในทะเลทราย ร่างกายของลามะใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน เนื้อเป็นอาหาร มีน้ำนมให้ดื่ม หนังทำเครื่องใช้ ขนอ่อนสั้นใช้ถักเป็นเครื่องนุ่งห่ม ขนแก่ยาวใช้ฟั่นเป็นเชือก ไขมันใช้ต่างเทียนไข ปฏิกูลใช้เป็นเชื้อเพลิงถ่านเผาให้ความอบอุ่น


ลามะเตี้ยกว่าอูฐ มีความสูงตั้งแต่ 1-1.3 เมตรเมื่อวัดถึงไหล่ ขาค่อนข้างยาวเมื่อเปรียบเทียบกับ ลำตัว ตัวมีขนปกคลุมเต็ม ขนมีสีแตกต่างกันตั้งแต่สีขาว สีน้ำตาล สีดำ หัวมีขนาดเล็ก ตาใหญ่ หูยาวแหลม มันใช้วิธีขยับหูขึ้นลงเพื่อบอกความรู้สึก ตีนมีลักษณะคล้ายอูฐคือมีกีบเล็กและคมช่วยให้ยึดหินภูเขาได้ดี ไม่ล้มพลาด ทั้งนี้เพราะภูเขาแอนดีสมีโกรกผาและเหวลึกมากมาย



ลามะยังเผชิญลมแรง อากาศหนาว และทนสภาพลำบากได้ดี หาอาหารประเภทหญ้าที่ขึ้นตามทางกินเองได้ ทั้งเจ้าของไม่ต้องซื้อบังเ...ยนหรืออานบรรทุกของให้มันด้วย อาหารของลามะคือหญ้า และเพราะมีกระเพาะสำรองเหมือนอูฐมันจึงเก็บตุนอาหารสำหรับการเดินทางไกลได้มาก ลามะที่เติบโตเต็มที่สามารถเดินทางไกลได้วันละ 30 กิโลเมตร แล้วถึงแม้จะเดินได้ช้าแต่ลามะอาจเดินได้นาน 20 วันติดต่อกัน และเดิน 3-4 วันโดยไม่ต้องกินน้ำเลย



ลามะตกลูกระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม ซึ่งเป็นหน้าร้อน ลูกที่เกิดใหม่มักมีขนยาว ขณะอายุยังน้อย ศัตรูสำคัญของมันคือเหยี่ยว เมื่ออายุ 2 ปีมันก็จะโตเต็มที่ แต่ชาวพื้นเมืองจะใช้มันบรรทุกสัมภาระก็ต่อเมื่อมันอายุ 3-5 ปีขึ้นไป ลามะมีอายุยืนประมาณ 20 ปี สำหรับการต่อสู้ป้องกันตัว มันจะใช้วิธีถ่ม น้ำลายที่มีกลิ่นเหม็นมากใส่ศัตรู หรือไม่ก็ขยอกเศษอาหารออกมาใส่ศัตรูที่ไปตอแยมัน


นอกจากขนสัมภาระ ทุกวันนี้คนเลี้ยงแกะในอเมริกาใต้ยังใช้ลามะเลี้ยงแกะแทนเด็ก หรือสุนัข ซึ่งมันก็ทำหน้าที่นี้ได้ดี เพราะปรับตัวให้เข้ากับแกะได้ดีกว่าสุนัข คือไปไหนมาไหนด้วยกันได้ กินอาหารชนิดเดียวกัน เมื่อหมาป่าบุก ลามะซึ่งหนักประมาณ 12 เท่าของหมาป่าจะใช้ขาเตะใส่อย่างรุนแรง



ปัจจุบัน  นักชีววิทยากำลังศึกษาชีวิตของลามะ เพื่อความเข้าใจว่าเหตุใดมันจึงสามารถมีชีวิตและทำงานได้ดีบนภูเขาสูงๆ ซึ่งเป็นที่ที่อากาศมีความหนาแน่นน้อย โดยหวังว่าข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อนักไต่เขาและชาวเขา


อัลปากา เป็นสัตว์เลี้ยงในตระกูลอูฐในทวีปอเมริกาใต้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวลามะ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ไม่ได้นำมาใช้งานขนของ แต่จะถูกเลี้ยงเพื่อนำขนมา ทำเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ขนอัลปากานำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่ผ้าห่ม เสื้อหนาว หมวก ถุงมือ ผ้าพันคอ และเครื่องนุ่งห่มประเภทต่าง ๆ โดยขนของอัลปากาตามธรรมชาติมีหลายสี โดยในเปรูมีการจำแนกสีขนออกเป็น 52 สี ขณะที่ทางออสเตรเลียจำแนกไว้ 12 สี และสหรัฐอเมริกาจำแนกเป็น 16 สี
 
 อัลปากาเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ในที่สูงบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีส ทางตอนใต้ของประเทศเปรู ตอนเหนือของประเทศโบลิเวีย เอกวาดอร์ และตอนเหนือของประเทศชิลี โดยจะอยู่บริเวณที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตร ถึง 5,000 เมตร 


Alpaca (อัลป้ากะ)
 Alpaca (อัลป้ากะ)
 Alpaca (อัลป้ากะ)
 Alpaga (อั้ลปากะ)
 Alpaka (อัลพาคะ)
 Альпака (อัลป้ากะ)
Αιγοκάμηλος (เอโกก้ามีโลส)




จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป" 
2 มกราคม 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น