วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รายงานผลแชมป์สโมสรฟุตบอลแห่งทวีปยุโรปฤดูกาล 2013-14

รายงานแชมป์ฟุตบอลสโมสรยุโรป
ฤดูกาล 2013-14


1.แชมป์ UEFA Champions League (ยัวฟ่า แชมเปียนส์ ลีก) 
ได้แก่ทีม Real Madrid (เรอัล มาดริด) จากประเทศสเปน

 

 2.แชมป์ UEFA Europa League (ยัวฟ่า ยูโรป้า ลีก) 
ได้แก่ทีม Sevilla FC (เซบียา เอเฟ เซ) จากประเทศสเปน
 

Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/


เนื้อเพลง UEFA Europa League พร้อมคำแปล

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
31 พฤษภาคม 2014

วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รายงานผลทีมแชมป์ฟุตบอลลีกยุโรป ฤดูกาล 2013-14

ทีมแชมป์ฟุตบอลลีกยุโรป ฤดูกาล 2013-14 
 

1.Premier League ของประเทศอังกฤษ
Premier = เป็นเลิศ , สูงสุด , League = สมาคม
แชมป์เป็นของทีม Manchester City (แมนเชสเทอร์ ซิที)


2.Bundesliga (บุนเดสลีกา) ของประเทศเยอรมัน
Bundes = แห่งชาติ , liga = สมาคม
แชมป์เป็นของทีม Bayern München (ไบเอิ้น มึนเช่น)


3.Calcio serie A (กั๊ลชิโอ เซริเอ อา) ของประเทศอิตาลี
Calcio = ฟุตบอล , Serie = อันดับ , A = พยัญชนะตัวแรก
แชมป์เป็นของทีม Juventus (ยูเวนตุส)



4.La liga (ลา ลี้กะ) ของประเทศสเปน
La = คำนำหน้านามแบบชี้เฉพาะเพศหญิง , liga = สมาคม
ทีม
Atlético Madrid (อัตเล้ตีโก มาดริด) 
 
 
5.Ligue 1 (ลีกจ์ เอิง) ของประเทศฝรั่งเศส
Ligue = สมาคม
Paris Saint-Germain F.C. (ปาคีแซ็ง-แฌร์แม็ง แอฟ เซ) 


 

 6.Primeira Liga (ปรีไมรา ลีกา) ของประเทศโปรตุเกส
Primeira = อันดับที่ 1 , Liga = สมาคม
Benfica (เบนฟีกา)


 
7.Чемпионат России по футболу (เชมปีอานัต ราสซิอี ปา ฟุตโบลู) ของประเทศรัสเซีย
Чемпионат = แชมป์ России = ของประเทศรัสเซีย по = เกี่ยวกับ футболу = ฟุตบอล
ЦСКА Москва (เสสก้า มาสกว้า)



8.Σούπερ Λίγκα Ελλάδα (ซู้เปร์ ลี้กะ เอลล้าดะ) ของประเทศกรีซ
Σούπερ = พิเศษ , Λίγκα = สมาคม , Ελλάδα = ประเทศกรีซ
แชมป์เป็นของทีม Παναθηναϊκός (ปานาธินาอีโกส)


Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
30 พฤษภาคม 2014

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เพลงชาติเบลเยียม (La Brabançonne)

 ข้อมูลโดย Wikipedia

 
 
La Brabançonne (ลาบราบ็องซอน - เพลงแห่งบราแบนต์) เป็นเพลงชาติของประเทศเบลเยียม ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี 1830 คำร้องโดย Louis-Alexandre Dechet (หลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ เดอเช) ในนามแฝง Jenneval (แฌนวาล) ทำนองโดย François Van Campenhout (ฟร็องซัว ฟาน กอมเปนฮูต) เพลงนี้ได้มีการรับรองเป็นเพลงชาติเบลเยียมอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1860 โดยมีคำร้องเป็นภาษาราชการของเบลเยียมทั้ง 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน
 

เมื่อเกิดการปฏิวัติเบลเยียมเพื่อปลดแอกเบลเยียมจากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเริ่มต้นในเดือนสิงหาคม ปี 1830 ชาวเบลเยียมได้ใช้เพลงลามาร์แซแยส และเพลง La Parisienne (ลา ปารีเซียน - เพลงของชาวปารีส) ทั้ง 2 เพลงร้องเฉพาะท่อนประสานเสียง เป็นเพลงในการปฏิวัติครั้งนั้น นักปฏิวัติหนุ่มผู้ใช้นามแฝงว่า "แฌนวาล" (ต่อมาเสียชีวิตระหว่างการปฏิวัติ) นักแสดงชาวฝรั่งเศสจากเมืองลียงซึ่งทำงานอยู่ในเบลเยียม และฟร็องซัว ฟาน กอมเปนฮูต นักร้องโอเปราชาวเบลเยียมเชื้อสายเนเธอร์แลนด์ จึงได้ร่วมกันแต่งเพลงเพื่อใช้ในการปฏิวัติดังกล่าว โดยในชั้นแรกได้ให้ชื่อเพลงนี้ว่า La Bruxelloise (ลาบรุกแซลวซ - เพลงแห่งบรัสเซลส์) ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเพลงเป็น "ลาบราบ็องซอน" อันเป็นชื่อที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน 

 

เล่ากันว่าทั้งสองได้ร่วมกันแต่งเพลงนี้ขึ้นที่คาเฟ่ชื่อ Aigle d'Or (แอกล์ดอร์ - ร้านอินทรีทอง) ระหว่างการประชุมครั้งหนึ่งของคณะปฏิวัติ เพลงนี้เมื่อแต่งสำเร็จแล้วก็ได้มีการบรรเลงครั้งแรกในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้นเอง

 

ต่อมาในปี 1860 รัฐบาลเบลเยียมได้มีการแก้ไขคำร้องของเพลงลาบราบ็องซอนเสียใหม่ พร้อมทั้งประกาศรับรองให้เพลงนี้เป็นเพลงชาติเบลเยียมอย่างเป็นทางการ ตามคำสั่งของ Charles Rogier (ชาร์ล รอฌีเย) นายกรัฐมนตรีของเบลเยียมในขณะนั้น ซึ่งเนื้อร้องดังกล่าวมีเนื้อหามุ่งโจมตีประเทศเนเธอร์แลนด์ผู้เป็นเจ้าอาณานิคมเก่าอย่างชัดเจน ภายหลังกระทรวงมหาดไทยแห่งเบลเยียมจึงได้มีหนังสือเวียนลงวันที่ 8 สิงหาคม 1921 ให้ใช้คำร้องบทที่ 4 ของฉบับที่มีการแก้ใขในปี 1860 เป็นคำร้องเพลงชาติฉบับทางการ


 เนื้อเพลง La Brabançonne
(ลา บราบ็องซอน - เพลงแห่งบราแบนต์)

 ภาษาฝรั่งเศส

Noble Belgique, Ô mère chérie,
ประเทศเบลเยียมอันสง่างาม โอ้มารดาที่รัก
À toi nos cœurs, à toi nos bras,
หัวใจของเรา , แขนของเราอยู่ที่เธอ
À toi notre sang, Ô Patrie!
เพลงของเราเพื่อเธอ โอ้ แผ่นดินเกิด
Nous le jurons tous, tu vivras!
เราขอสาบานด้วยทุกสิ่ง ว่าเธอจะคงอยู่!
Tu vivras toujours grande et belle.
เธอจะอยู่ด้วยความยิ่งใหญ่และสวยงามตลอดไป
Et ton invincible unité.
และความกลมเกลียวของเธอจะอยู่ยงคงกระพัน
Aura pour devise immortelle.
รัศมีแห่งคำขวัญจะอยู่ชั่วกาลปาวสาน
Le Roi, la Loi, la Liberté!
ทั้งกษัตริย์ , กฎหมาย และเสรีภาพ



ภาษาเยอรมัน

O liebes Land, o Belgiens Erde,
โอ ผืนดินที่รัก , โอ แผ่นดินของประเทศเบลเยียม
Dir unser Herz, Dir unsere Hand,
หัวใจเรา , มือของเรามีเพื่อเธอ
Dir unser Blut, O Heimaterde,
โลหิตของเราเพื่อเธอ , โอ ดินแดนที่แท้จริง
Wir schworen's dir, O Vaterland!
เราขอสาบานกับเธอ , โอ แผ่นดินเกิด
So blühe froh in voller Schöne,
โอ้ ความสุขความเจริญในความสวยงามที่เพียบพร้อม
Zu der die Freiheit Dich erzog,
เพื่อเสรีภาพที่เธอฟูมฟักมา
Und fortan singen deine Söhne.
และนับแต่นี้ร้องเพลงให้ลูกหลานของเธอฟัง
Gesetz und König und die Freiheit hoch!
ถึงกฎหมาย , กษัตริย์ และเสรีภาพอันยิ่งใหญ่


ภาษาดัชต์

O dierbaar België, O heilig land der Vad'ren,
โอ ประเทศเบลเยียมที่รัก , โอ ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของพ่อ
Onze ziel en ons hart zijn u gewijd.
วิญาณและหัวใจของเราอุทิศให้เธอ
Aanvaard ons hart en het bloed van onze ad'ren,
ตอบรับหัวใจและโลหิตจากหลอดเลือดของเรา
Wees ons doel in arbeid en in strijd.
มันคือเจตจำนงของเราในการทำงานและต่อสู้
Bloei, o land, in eendracht niet te breken;
โอ ดินแดน ความรุ่งเรืองในความกลมเกลียวที่ทำลายไม่ได้
Wees immer uzelf en ongeknecht,
มันจะอยู่ในเธอ และไม่เป็นทาสใครตลอดไป
Het woord getrouw, dat ge onbevreesd moogt spreken,
เธอสามารถพูดได้อย่างไม่หวาดหวั่นในโลกที่ซื่อสัตย์
Voor Vorst, voor Vrijheid en voor Recht.
แด่กษัตริย์ , เสรีภาพ และความถูกต้อง


Rejoignez le groupes de facebook "Le Club des Langues occidentales de Université Ramkhamhaeng" à https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/


จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
29 พฤษภาคม 2014



วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เพลงชาติอาร์เจนตีนา (Himno Nacional Argentino)

 ข้อมูลโดย Wikipedia


Himno Nacional Argentino (อิมโน นาเซียวนัล อาร์เฆนตีโน - เพลงชาติอาร์เจนตินา) เป็นเพลงชาติของประเทศอาร์เจนตินา เนื้อร้องประพันธ์โดย Vicente López y Planes (บิเซ้นเต โล้เปซ อี ปล้าเนส) และเรียบเรียงทำนองโดย Blas Parera (บลาส ปาเร้รา) ต่อมาประกาศรับรองผลงานชิ้นนี้ ใช้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคมปี 1813 ภายหลังเหตุการณ์ Revolución de Mayo (เรโบลูซีโอน เด ม้าโย - การปฏิวัติเดือนพฤษภาคม) 3 ปี ซึ่งวันที่ 11 พฤษภาคม ได้กำหนดให้เป็นวันเพลงชาติของประเทศอาร์เจนตินา

เนื่องจากเพลงชาติอาร์เจนตินาฉบับอย่างเป็นทางการ มีความยาวของเนื้อร้องมากเกินไป ดังนั้นในการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ เช่น กีฬาโอลิมปิก ฟุตบอล และ รักบี้ชิงแชมป์โลก จึงใช้เพลงชาติฉบับสังเขป ซึ่งมีความยาว 1 นาที 6 วินาที โดยบรรเลงในท่อนดนตรีนำ และบทประสานเสียง แม้เพลงชาติฉบับสังเขปนี้ จะไม่ได้รับการยอมรับจากกฎหมายอาร์เจนตินา เพลงชาติฉบับสังเขปนิยมใช้ในการแข่งขันกีฬา หรือพิธีการที่ไม่เป็นทางการ และในงานพิธีการ อาจใช้เพลงชาติฉบับสังเขปบรรเลงเป็นเพลงคำนับสำหรับประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีของอาร์เจนตินาแทน



เนื้อเพลง Himno Nacional Argentino
(อิมโน นาเซียวนัล อาร์เฆนตีโน - เพลงชาติอาร์เจนตีนา)

 ฟังเพลงชาติอาร์เจนตินาแปลไทย คลิก

Oíd, mortales, el grito sagrado.
พวกเธอจงฟัง เหล่ามนุษยชาติ การโห่ร้องอันศักดิ์สิทธิ์
¡Libertad!
เสรีภาพ
Oíd el ruido de rotas cadenas,
พวกเธอจงฟังเสียงของโซ่ที่ขาด
Ved en trono a la noble igualdad.
พวกเธอจงดูการครองบัลลังก์เกียรติยศแห่งความเท่าเทียม
Ya su trono dignísimo abrieron.
บัลลังก์ที่คู่ควรได้เปิดออกมาแล้ว
Las Provincias Unidas del Sud.
เหล่าจังหวัดที่รวมกันทางตอนใต้
Y los libres del mundo responden.
และเหล่าเสรีชนของโลกต่างตอบรับ
"Al gran pueblo argentino, ¡Salud!"
ถึงประชาชนชาวอาร์เจนตีนาที่ยิ่งใหญ่ ขอคำนับ

Sean eternos los laureles.
มันจะเป็นเกียรติยศตลอดไป
Que supimos conseguir,
ซึ่งเรารู้วิธีทำให้สำเร็จ
Coronados de gloria vivamos.
เราจะสวมมุงกุฎอันทรงเกียรติ
¡o juremos con gloria morir!
หรือให้เราสาบานด้วยการตายอย่างมีเกียรติ


Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

 จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
28 พฤษภาคม 2014




วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เพลงชาติอิตาลี (Il Canto degli Italiani)

 ข้อมูลโดย Wikipedia

 

Il Canto degli Italiani (อิล กันโต เดลยี อีตาเลียนี - เพลงจากชาวอิตาลี) เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอิตาลี เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวอิตาลีในชื่อ Inno di Mameli (อินโน ดี มาเมลี - เพลงสรรเสริญของมาเมลี) อันเป็นการขนานนามตามชื่อผู้ประพันธ์เพลง และ Fratelli d'Italia (ฟราเตลลี ดีตาเลีย - พี่น้องชาวอิตาลีทั้งหลาย) ซึ่งเรียกตามบทร้องวรรคเปิดของเพลงนี้


บทร้องของเพลงนี้ได้ประพันธ์โดย
Goffredo Mameli (กอฟเฟรโด มาเมลี - ขณะนั้นยังเป็นนักศึกษาชาว Genoa "เจนัว" และมีอายุได้ 20 ปี) ในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1847 ที่เมืองเจนัว ท่ามกลางบรรยากาศในการต่อสู้ของประชาชนเพื่อการรวมชาติและการทำสงครามปลดแอกจากจักรวรรดิออสเตรีย อีกสองเดือนต่อมา Michele Novaro (มีเกเล โนวาโร) ซึ่งเป็นชาวเจนัวเช่นกัน ได้ประพันธ์ทำนองสำหรับบทร้องของมาเมลีขึ้นที่เมือง Torino "โตริโน" เพลงดังกล่าวนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากมหาชนท่ามกลางยุคแห่งการรวมชาติ (Risorgimento) นานนับทศวรรษ


หลังการรวมชาติสำเร็จลงในปี 1861 เพลงที่ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติอิตาลีนั้นมิใช่เพลง "อิล กันโต เดลยี อีตาเลียนี" ซึ่งได้รับความนิยมจากมหาชน แต่เป็นเพลง Marcia Reale d'Ordinanza (มาร์ชา เรอาเล ดอร์ดีนันซา - เพลงเดินขบวนชั้นเลิศตามบัญชา) เพลงดังกล่าวนี้เป็นเพลงสรรเสริญประจำราชวงศ์ซาวอย อันเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์ผู้ปกครองอิตาลีหลังยุคการรวมชาติ 

 

และได้ใช้เป็นเพลงชาติอิตาลีสืบมาจนถึงปี 1946 เมื่ออิตาลีได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยการลงประชามติยกเลิกระบอบราชาธิปไตยและสถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐขึ้นแทนที่ โดยเพลง "อิล กันโต เดลยี อีตาเลียนี" ได้รับเลือกให้ใช้เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐอิตาลีเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1946 และอีกเกือบ 60 ปีให้หลัง เพลงนี้จึงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการตามกฎหมายเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนปี 2005

 
เนื้อเพลง Il Canto degli Italiani 
(อิล กันโต เดลยี อีตาเลียนี - เพลงจากชาวอิตาลี)

Fratelli d'Italia,
เหล่าพี่น้องชาวอิตาลี
l'Italia s'è desta,
ประเทศอิตาลีได้ผงาดขึ้นแล้ว
Dell'elmo di Scipio
โดยหมวกเกราะของแม่ทัพชิปิโอ
S'è cinta la testa.
ซึ่งสวมศีรษะไว้
Dov'è la Vittoria?
ชัยชนะอยู่ที่ไหน?
Le porga la chioma,
มอบมงกุฎที่ว่านั้นมา
Ché schiava di Roma.
เพราะมันเป็นข้ารับใช้ของกรุงโรม
Iddio la creò.
พระเจ้าสร้างมันขึ้นมา
Stringiamci a coorte,
ให้เราเข้าร่วมกับฝูงชนเถิด
Siam pronti alla morte.
เราพร้อมจะตายแล้ว
l'Italia chiamò! sì
ประเทศอิตาลีได้ร้องเรียก ใช่


 สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
27 พฤษภาคม 2014

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เพลงชาติบราซิล (Hino Nacional Brasileiro)

 ข้อมูลโดย Wikipedia

Hino Nacional Brasileiro (อีนู นาเซียวนัล บราซิเลย์รู - เพลงชาติบราซิล) เป็นเพลงที่เรียบเรียงโดย Francisco Manuel (ฟรานซิสกู มานูเอล) มีท่วงทำนองที่เป็นการสรรเสริญและปลุกใจ ซึ่งถือว่าเป็นเพลงประจำชาติ ก่อนที่จะได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่ก็มิได้ทำให้ความหมายบิดเบือนไป โดยให้มีระดับเสียงที่นุ่มนวล เดิมเรียบเรียงโดยวงออร์เคสตราของกองทัพ ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งของในรูปแบบของ Osorio Duque Estrada (โอโซริอู ดูกี เอสตราดา) ในปี 1892



ประวัติความเป็นมาของเพลงชาตินี้เป็นเรื่องที่โต้เถียงกัน แต่รูปแบบที่เชื่อถือได้คือที่เรียบเรียงโดยนักเรียบเรียงเสียงประสานที่มีชื่อเสียงชาวบราซิล คือ Alberto Nepomuceno (อัลเบร์ตู  นีโปมูเซนู) ซึ่งเป็นผู้เขียนในปีเดียวกัน (1841) บางทีอาจเป็นช่วงสูงสุดในอาชีพของเขา ฟรานซิสกู มานูเอลได้เรียบเรียงเพลงชาติเพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์ของจักรพรรดิ์พระองค์ที่ 2 ของบราซิล ซึ่งแสดงตนเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานที่ยิ่งใหญ่ในงานของเขาซึ่งยังคงปลุกใจคนในชาติมาจนกระทั่งทุกวันนี้


คำพิพากษาฉบับที่ 15671 วันที่ 6 กันยายน 1922 ได้พัฒนาจากเนื้อเพลงของ
โอโซริอู ดูกี เอสตราดา ซึ่งเขียนไว้ในปี 1907 ซึ่งเป็นรูปแบบแรก กฎหมายเลขที่ 259 ของวันที่ 1 ตุลาคม 1936 ได้ระบุให้รูปแบบของ Leopoldo Miguez (เลโอโปลดู มิเกซ) มากับการเล่นดนตรีของวงออเคสตร้า และรูปแบบที่เรียงเรียงโดย Lt. Antonio Pinto Junio (ร้อยโทอันโตนิอู ปินตู ชูนีออร์ ของกองดับเพลิงกลาง ใช้เล่นกับวงโยธวาทิตด้วยคีย์ บีแฟลต และในที่สุดรูปแบบที่เขียนโดย อัลเบร์ตู  นีโปมูเซนู ก็เป็นแม่แบบที่นำมาใช้ร้อง

 

เนื้อเพลง Hino Nacional Brasileiro 
(อินู เนเซียวนัล บราซิลเลย์รู - เพลงชาติบราซิล)


Ouviram do Ipiranga as margens plácidas.
พวกเขาได้ยินเสียงจากริมเขตอิปิรังกาอันเงียบสงบ
De um povo heróico o brado retumbante,
ของวีรชนผู้กล้าที่โห่ร้องดังก้อง
E o sol da Liberdade, em raios fúlgidos,
และดวงตะวันแห่งเสรีภาพ อยู่ในรัศมีอันสดใส
Brilhou no céu da Pátria nesse instante.
ที่ฉายแสงบนท้องฟ้าของแผ่นดินเกิดในปัจจุบัน
Se o penhor dessa igualdade.
ถ้าเป็นสัญญาแห่งความเท่าเทียมนี้
Conseguimos conquistar com braço forte,
เราจะได้รับชัยชนะด้วยมือที่แข็งแรง
Em teu seio, ó Liberdade,
บนหน้าอกของเธอ โอ้ เสรีภาพ
Desafia o nosso peito a própria morte!
หัวใจเราจะท้าทายความตายด้วยตัวมันเอง
Ó Pátria amada,
โอ้ แผ่นดินเกิดที่รัก
Idolatrada,
ที่น่าเทอดทูน
Salve!
ขอให้รักษาไว้

Brasil, um sonho intenso, um raio vívido,
ประเทศบราซิล ความฝันอันแรงกล้า รัศมีอันเรืองรอง
De amor e de esperança à terra desce,
ของความรักและความหวังสืบสานแผ่นดิน
Se em teu formoso céu, risonho e límpido,
ถ้าท้องฟ้าที่สวยงามของเธอ ยิ้มรับและสดใส
A imagem do Cruzeiro resplandece.
ภาพของดาวกางเขนจะเปล่งประกาย
Gigante pela própria natureza,
ซึ่งใหญ่โตตามธรรมชาติ
És belo, és forte, impávido colosso,
มันสวยงาม , แข็งแรง , ยักษ์ใหญ่ที่ไม่สะทกสะท้าน
E o teu futuro espelha essa grandeza.
และอนาคตของเธอจะสะท้อนความยิ่งใหญ่นี้

Terra adorada.
แผ่นดินที่เคารพรัก
Entre outras mil.
ท่ามกลางหลายพันสิ่ง
És tu, Brasil,
คือเธอ ประเทศบราซิล
Ó Pátria amada!
โอ้ แผ่นดินเกิดที่รัก
Dos filhos deste solo.
ของลูกหลานแห่งดินแดนนี้
És mãe gentil,
คือแม่ที่เมตตา
Pátria amada,
แผ่นดินเกิดที่รัก
Brasil!
ประเทศบราซิล

Deitado eternamente em berço esplêndido,
การนอนลงในเปลที่โอ่โถงชั่วนิรันดร
Ao som do mar e à luz do céu profundo,
ฟังเสียงทะเลและอาบแสงแห่งท้องฟ้าที่มั่นคง
Fulguras, ó Brasil, florão da América,
เธอจะเปล่งปลั่ง โอ้ ประเทศบราซิล มาลัยแห่งทวีปอเมริกา
Iluminado ao sol do Novo Mundo!
สว่างไสวบนดวงอาทิตย์แห่งโลกใหม่
Do que a terra mais garrida.
ซึ่งเป็นดินแดนที่ปราดเปรื่องที่สุด
Teus risonhos, lindos campos têm mais flores,
รอยยิ้มมากมายของเธอ , ทุ่งหญ้าที่สวยงาม มีดอกไม้มากกว่า
"Nossos bosques têm mais vida",
ป่าไม้ของเรามีชีวิตชีวายิ่งกว่า
"Nossa vida" no teu seio "mais amores".
ชีวิตของเรา บนอกของเธอ มีความรักมากขึ้น
Ó Pátria amada,
โอ้ แผ่นดินเกิดที่รัก
Idolatrada,
ที่น่าเทอดทูน
Salve!
ขอให้รักษาไว้

Brasil, de amor eterno seja símbolo.
ประเทศบราซิล คือสัญลักษณ์แห่งความรักตลอดไป
O lábaro que ostentas estrelado,
คือตราที่เธอแสดงออกมาด้วยดาว
E diga o verde-louro dessa flâmula.
และบอกดอกลอเรลสีเขียวของชายธงนี้
Paz no futuro e glória no passado.
ถึงสันติสุขในอนาคตและความรุ่งโรจน์ในอดีต
Mas se ergues da justiça a clava forte,
แต่ถ้าเธอยกค้อนอันแข็งแรงแห่งความยุติธรรม
Verás que um filho teu não foge à luta,
เธอจะเห็นว่าลูกหลานของเธอไม่หนีจากการต่อสู้
Nem teme, quem te adora, a própria morte.
และผู้ที่รักเธอจะไม่กลัวความตายของตัวเอง

Terra adorada.
แผ่นดินที่เคารพรัก
Entre outras mil.
ท่ามกลางหลายพันสิ่ง
És tu, Brasil,
คือเธอ ประเทศบราซิล
Ó Pátria amada!
โอ้ แผ่นดินเกิดที่รัก
Dos filhos deste solo.
ของลูกหลานแห่งดินแดนนี้
És mãe gentil,
คือแม่ที่เมตตา
Pátria amada,
แผ่นดินเกิดที่รัก
Brasil!
ประเทศบราซิล


 Participe do grupo do Facebook "Clube de línguas ocidentais da Universidade deRamkhamhaeng" ao https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
26 พฤษภาคม 2014

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เพลงชาติโปรตุเกส (A Portuguesa)

 ข้อมูลโดย Wikipedia

 

A Portuguesa (อา โปร์ตูเก๊ซา - เพลงของชาวโปรตุเกส) เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐโปรตุเกส ประพันธ์บทร้องโดย Henrique Lopes de Mendonça (เองรีกี ลอปิช ดี เมงดงซา) ทำนองโดย Alfredo Keil (อัลเฟรดู เกย์ล) เริ่มใช้ในฐานะเพลงประจำกลุ่มการเมืองนิยมสาธารณรัฐในโปรตุเกส
 

และนับเป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐโปรตุเกสมาตั้งแต่ปี 1911 แทนที่เพลง O Hino da Carta (อู อีนู ดา การ์ตา - เพลงสดุดีจดหมาย) อันเป็นเพลงชาติเพลงสุดท้ายของราชอาณาจักรโปรตุเกสสมัยราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโปรตุเกส

เนื้อเพลง A Portuguesa
(อา โปรตุเก๊ซา - เพลงของชาวโปรตุเกส

Heróis do mar, nobre povo,
เหล่าวีรบุรุษแห่งทะเล , ประชาชนผู้ทรงเกียรติ
Nação valente, imortal,
ชนชาติผู้กล้าหาญ , ไม่มีวันตาย
Levantai hoje de novo.
วันนี้จงลุกขึ้นมาใหม่
O esplendor de Portugal!
ราศีแห่งประเทศโปรตุเกส
Entre as brumas da memória,
ท่ามกลางหมอกแห่งความทรงจำ
Ó Pátria, sente-se a voz,
โอ้ แผ่นดินเกิด จงสัมผัสถึงเสียงร้อง
Dos teus egrégios avós,

ของบรรพบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของเธอ
Que há-de guiar-te à vitória!
ที่จะนำเธอไปสู่ชัยชนะ
Às armas!
จงสวมเกราะ
Sobre a terra, sobre o mar,
บนแผ่นดิน , เหนือทะเล

Pela Pátria lutar!
จงต่อสู้เพื่อแผ่นดินเกิด
Contra os canhões marchar!
เข้าต่อกรกับเหล่าปืนใหญ่ หน้าเดิน


 Participe do grupo do Facebook "Clube de línguas ocidentais da Universidade deRamkhamhaeng" ao https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
25 พฤษภาคม 2014


วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เพลงชาติกรีซ (Ύμνος εις την Ελευθερίαν)

 ข้อมูลโดย Wikipedia
 

Ύμνος εις την Ελευθερίαν (อีมนอส ซีส ตีน เอเลวเธรีอัน - สรรเสริญเสรีภาพ) เป็นบทกวีประเภทบทเพลงสรรเสริญหรือบทเพลงสดุดี ความยาว 158 บท ซึ่งประพันธ์โดย Διονύσιος Σολωμός (ดิโอนิซิออส โซโลมอส) เมื่อปี 1823 นับเป็นบทกวีสรรเสริญที่มีความยาวมากที่สุดในโลก ทำนองประพันธ์โดย Νικόλαος Μάντζαρος (นิโก้ลาออส มันต์ซารอส) บทเพลงนี้ได้มีการรับรองเป็นเพลงชาติกรีซอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1865 แต่ต่อมาได้มีการนำไปใช้เป็นเพลงชาติสาธารณรัฐไซปรัสด้วยอีกเพลงหนึ่ง



ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไซปรัสระบุว่า เพลงชาติกรีซจะใช้บรรเลงเป็นเกียรติยศแก่ประธานาธิบดีชาวไซปรัสเชื้อสายกรีก หรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นชาวไซปรัสเชื้อสายกรีก และใช้เพลงชาติตุรกีสำหรับรองประธานาธิบดีชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี อย่างไรก็ตาม ประเทศไซปรัสได้ยุติการใช้เพลงชาติตุรกี หลังจากชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกีได้แบ่งแยกประเทศเป็นประเทศใหม่เมื่อปี 1963


เนื้อเพลง Ύμνος εις την Ελευθερίαν
 (อีมนอส ซีส ตีน เอเลวเธรีอัน - สรรเสริญเสรีภาพ)

Σε γνωρίζω από την κόψη,
ฉันจดจำคุณได้จากคมมีด
του σπαθιού την τρομερή.
ของดาบอันน่าเกรงขาม
Σε γνωρίζω από την όψη.
ฉันจดจำคุณได้จากใบหน้า
που με βία μετράει την γη.
ซึ่งเป็นผลสะท้อนความรุนแรงของโลก
Απ’ τα κόκκαλα βγαλμένη.
จากกระดูกซึ่งล่วงลับไป
των Ελλήνων τα ιερά.
ของชาวกรีกอันศักดิ์สิทธิ์
και σαν πρώτα ανδρειωμένη,
และเหมือนกับความกล้าหาญอันแรกเริ่ม
χαίρε, ω χαίρε, Ελευθεριά!
ชื่นชมยินดีเถิด โอ้ ชื่นชมยินดีในเสรีภาพ!

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
24 พฤษภาคม 2014

วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เพลงชาติรัสเซีย (Государственный гимн Российской Федерации)

ข้อมูลโดย Wikipedia

 

Государственный гимн Российской Федерации (กาซูดาร์สตเวนนือ กิมน์ รัสซีย์สโกย ฟีดีราซี - เพลงสรรเสริญสหพันธรัฐรัสเซีย) เป็นชื่อของเพลงชาติอย่างเป็นทางการของประเทศรัสเซีย องค์ประกอบทางดนตรีและเนื้อร้องของเพลงได้รับดัดแปลงมาจากเพลงชาติสหภาพโซเวียต ประพันธ์โดย Александр Александров (อเล็กซันดร์ อเล็กซันดรอฟ) และผู้แต่งบทร้อง Серге́й Михалко́в (เซียร์เกย์ มิฆัลคอฟ) และ Габриэ́ль Урекля́н (กาบรีแอล อูเร็กลัน)



เพลงชาติโซเวียตใช้ตั้งแต่ปี 1944 โดยแทน L'Internationale (แลงเตอร์นาซิอองนาล) ด้วยเพลงที่เน้นรัสเซียเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เพลงชาติดังกล่าวถูกแก้ไขในปี 1956 เพื่อลบเนื้อร้องที่อ้างถึงอดีตผู้นำโซเวียต Иосиф Сталин (โยซีฟ สตาลิน) เพลงดังกล่าวถูกแก้ไขอีกครั้งในปี 1977 เพื่อนำเนื้อร้องใหม่ที่เขียนโดยมิฆัลคอฟ

 

รัสเซียมองหาเพลงชาติใหม่ในปี 1990 เพื่อเริ่มต้นใหม่หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เพลง Патриотическая Песнь (ปาตรีอาตีเชสกายา เปสนี - เพลงรักชาติ) ที่ไม่มีเนื้อร้อง ประพันธ์โดย  Михаи́л Гли́нка (มิฆาอิล กลีนกา) ซึ่งรับมาอย่างเป็นทางการในปี 1990 โดยสภาโซเวียตสูงสุดแห่งรัสเซีย และได้รับยืนยันในปี 1993 โดยประธานาธิบดีรัสเซีย Бори́с Е́льцин (บาริส เยลซิน) รัฐบาลสนับสนุนการประกวดเพื่อสร้างเนื้อร้องสำหรับเพลงชาติที่ไม่ได้รับความนิยม เพราะเพลงดังกล่าวไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจแก่นักกีฬารัสเซียในการแข่งขันระหว่างประเทศได้ แต่ไม่มีการเห็นชอบกับเนื้อร้องที่ส่งเข้าประกวดเลย


ทำให้ประธานาธิบดี Влади́мир  Пу́тин (วลาดีมีร์ ปูติน) รื้อฟื้นเพลงชาติโซเวียตอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลจัดการสนับสนุนการประกวดเนื้อร้องอีกครั้ง กระทั่งไปลงตัวที่การประพันธ์ของมิฆัลคอฟ ตามข้อมูลของรัฐบาล เนื้อร้องถูกเลือกเพื่อทำให้ระลึกถึงและสรรเสริญประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมรัสเซีย เพลงชาติใหม่ได้ใช้ในปลายปี 2000 และเป็นเพลงชาติที่ 2 ที่ใช้ในรัสเซียนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต 


แนวคิดของสาธารณะต่อเพลงชาตินั้นผสมผสานกันไปในหมู่ชาวรัสเซีย เพลงชาติทำให้บางคนระลึกถึงวันที่ดีที่สุดของประเทศรัสเซียและการเสียสละในอดีต ขณะที่ทำให้บางคนระลึกถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายใต้การปกครองของสตาลิน รัฐบาลรัสเซียยืนยันว่าเพลงชาติเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีในหมู่ประชาชน และเพลงนี้เคารพอดีต การสำรวจความเห็นในปี 2009 แสดงให้เห็นว่า ผู้ตอบ 56% รู้สึกภูมิใจเมื่อได้ยินเพลงชาติ และ 81% ชอบเพลงนี้ หากแม้จะมีแนวคิดบวกนี้ แต่หลายคนกลับจำเนื้อร้องไม่ได้


เนื้อเพลง Государственный гимн Российской Федерации
 (กาซูดาร์สตเวนนือ กิมน์ รัสซีย์สโกย ฟีดีราซี - เพลงสรรเสริญสหพันธรัฐรัสเซีย)
 
Россия — священная наша держава.
ประเทศรัสเซีย คืออำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของเรา
Россия — любимая наша страна.
ประเทศรัสเซีย คือประเทศอันเป็นที่รักของเรา
Могучая воля, великая слава,
คือความตั้งใจอันแรงกล้า คือศักดิ์ศรีอันยิ่งใหญ่
Твоё достоянье на все времена!
คืออาณาจักรของเธอตลอดไป

Славься, Отечество наше свободное,
จงรุ่งโรจน์ , แผ่นดินเกิดแห่งเสรีของเรา
Братских народов союз вековой,
พี่น้องประชาชนแห่งสหภาพอันเก่าแก่
Предками данная мудрость народная!
บรรพบุรุษได้มอบภูมิปัญญาประจำชาติ
Славься, страна! Мы гордимся тобой!
จงรุ่งโรจน์เถิด ประเทศชาติ เราภูมิใจในตัวเธอ

От южных морей до полярного края,
จากทะเลทางตอนใต้ถึงดินแดนขั้วโลก
Раскинулись наши леса и поля.
ขยายสู่ผืนป่าและท้องทุ่งของเรา
Одна ты на свете! Одна ты такая!
เธอคือหนึ่งเดียวในโลก! เธอคือหนึ่งเดียวอย่างแท้จริง!
Хранимая Богом родная земля!
แผ่นดินเกิดได้รับการคุ้มครองโดยพระเจ้า

Широкий простор для мечты и для жизни,
พื้นที่อันไพศาลเพื่อความฝันและเพื่อชีวิต
Грядущие нам открывают года.
เปิดกว้างให้เราในปีต่อไป
Нам силу даёт наша верность Отчизне.
ทำให้ความจงรักภักดีที่มีต่อบ้านเกิดของเราเข้มแข็ง
Так было, так есть и так будет всегда!
อย่างที่เคยเป็น , ที่เป็นอยู่ และจะเป็นตลอดไป


สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

 จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
23 พฤษภาคม 2014

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เพลงชาติสเปน (La Marcha Real)

ข้อมูลโดย Wikipedia 
 

La Marcha Real (ลา มาร์ชา เรอัล - เพลงเดินขบวนชั้นเลิศ) เป็นเพลงชาติของราชอาณาจักรสเปน และเป็นหนึ่งในเพลงชาติจำนวนไม่กี่เพลงในโลกนี้ที่ไม่มีเนื้อร้อง


เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงชาติที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป มีที่มาที่ไปไม่ชัดเจนนัก ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในเอกสารชื่อ Libro de Ordenanza de los toques militares de la Infantería Española (ลีโบร เด โอร์เดนั้นซา เด โลส โต๊เกส มิลิต๊าเรส เด ลา อินฟันเตรีอา เอสปันโยลา - หนังสือคำสั่งติดต่อทหารราบสเปน) พิมพ์โดย Manuel de Espinosa (มานวยล์ เด เอสปีโนซา) เมื่อปี 1761 ในหนังสือเล่มดังกล่าวเรียกชื่อเพลงนี้ว่า
La Marcha Granadera (ลา มาร์ชา กรานาเด๊รา - เพลงเดินขบวนของชาวกราน้าดา) และไม่ระบุชื่อผู้ประพันธ์ไว้
 

ถึงปี 1770 พระเจ้า Carlos III (การ์โลสที่ 3) ได้มีพระบรมราชโองการให้ใช้เพลง "ลา มาร์ชา กรานาเดรา" เป็นเพลงเกียรติยศในทางราชการ เนื่องจากเพลงนี้มักจะใช้บรรเลงในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์เสด็จพระราชดำเนินในที่สาธารณะและในพระราชพิธีต่าง ๆ อยู่เสมอ ต่อมาไม่นานนัก ชาวสเปนก็รับเอาเพลงนี้มาใช้เป็นเพลงชาติและขนานนามเสียใหม่ว่า "ลา มาร์ชา เรอัล" ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

 

ในสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (ปี 1931-1940) เพลง "ลา มาร์ชา เรอัล" ถูกงดใช้ในฐานะเพลงชาติและแทนที่ด้วยเพลง El Himno de Riego (เอล อิมโน เด เรียโก - เพลงสดุดีนายพลเรียโก) สมัยนี้เป็นสมัยที่เกิดสงครามกลางเมืองเป็นระยะเวลานาน เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว จอมพล Francisco Franco (ฟรานซิสโก ฟรังโก) ได้ปกครองประเทศในฐานะผู้เผด็จการ และนำเอาเพลงลามาร์ชาเรอัลกลับมาใช้เป็นเพลงชาติอีกครั้งในชื่อเพลง "ลา มาร์ชา กรานาเดรา"


เพลงชาติสเปนฉบับปัจจุบันนี้ได้กำหนดให้ใช้ตามรัฐธรรมนูญแห่งสเปนฉบับปี 1979 โดยไม่มีเนื้อร้องประกอบ จนกระทั่งในเดือนตุลาคมปี 1997 มีพระบรมราชโองการให้ใช้เพลง "ลา มาร์ชา เรอัล" เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการสืบมาจนถึงทุกวันนี้ เพลงนี้มีใช้บรรเลงอยู่สองฉบับ คือ ฉบับสังเขป (ความยาวประมาณ 35 วินาที) และฉบับเต็ม (ความยาวประมาณ 1 นาที) ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้บรรเลงในโอกาสใด


เนื้อเพลง La Marcha Real
(ลา มาร์ชา เรอัล - เพลงเดินขบวนชั้นเลิศ)

¡Viva España!
ขอให้ประเทศสเปนจงยั่งยืน
Alzad los brazos, hijos del pueblo español.
ชูแขนขึ้น เหล่าลูกหลานของชนชาติสเปน
Que vuelve a resurgir.
ผู้คืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง

Gloria a la Patria que supo seguir.
ชื่อเสียงจงอยู่คู่บ้านเกิดตราบที่มันเป็นไป
Sobre el azul del mar el caminar del sol.
เหนือสีฟ้าแห่งทะเลและทางเดินแห่งพระอาทิตย์

¡Triunfa España!
ประเทศสเปนจงเจริญ
Los yunques y las ruedas cantan al compás.
เหล่าทั่งตีเหล็กและกงล้อจงร้องเพลงไปตามจังหวะ
Del himno de la fe.
ของเพลงชาติแห่งความศรัทธา

Juntos con ellos cantemos de pie.
มายืนร้องเพลงไปกับพวกเขา
La vida nueva y fuerte del trabajo y paz.
ด้วยชีวิตใหม่ , ความมั่นคงของงาน และสันติภาพ


Únete al grupo de Facebook "Club de las lenguas occidentales de la Universidad de Ramkhamhaeng" al https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

 จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
22 พฤษภาคม 2014