วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทพแห่งสงคราม (Ares)

 ข้อมูลจาก sad-love-story.exteen.com
 
เทพผู้เป็นเจ้า แห่งการสงครามคือ มาร์ส (Mars) หรือ เอเรส (Ares) ซึ่งเป็นชู้รักของเทวีอโฟรไดท์ เธอเป็นบุตรองค์หนึ่งของเทพปริณายก ซูส กับเจ้าแม่ ฮีรา และเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ทั้งปวงเว้นแต่ชาวโรมัน ผู้มีนิสัยชอบการสงคราม


ชาวโรมันเทิดทูนสดุดีเทพองค์นี้ยิ่งนัก ถึงกับอุปโลกน์ให้เป็นเทพบิดาของ โรมิวลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรม และพรรณาสรรเสริญเกียรติคุณของเธอนานัปการ ตรงกันข้ามกับชาวกรีก ซึ่งนอกจากจะไม่นิยมเลื่อมใสเทพองค์นี้แล้ว ยังถือว่า เธอเป็นเทพที่มีสันดานป่าเถื่อนดุร้าย ปราศจากความเมตตากรุณาเสียอีก ในมหากาพย์อิเลียด ซึ่งเป็นบทกวี เกี่ยวกับการ สงคราม แท้ ๆ เธอเป็นที่เกลียดชังตลอดเรื่อง นักกวีโฮเมอร์ถึงแก่ประณามเธอว่า "ยินดีในการประหัตประหาร มีมลทินด้วยเลือด เป็นอุบาทว์สำหรับมนุษย์ทั้งปวง" เมื่อสรุปตามสายตาของกรีกดังกล่าว โดยสำนวนปัจจุบันเราจะเห็นว่า เอเรสคือ เทพอันธพาลของกรีก
เอเรสเป็นโอรสขององค์เทพซูสกับฮีร่าเทวี และทรงเป็นโอรสที่เทพบิดาซูสตรัสใส่หน้าเลยว่า "เจ้าเป็นที่น่าชังที่ สุดในบรรดาลูกของข้า ทั้งโหดร้าย ดื้อด้านเหมือนแม่เจ้าไม่ผิด!" ซึ่งวาทะประโยคนี้นับว่าวิจารณ์อุปนิสัยใจคอของ เอเรสได้ตรงเป็นที่สุด นอกจากโหดร้ายและดื้อดึง เอเรสยังบุ่มบ่าม โกรธง่าย และนิยมความรุนแรงมาก นับว่าเป็นอุปนิสัยที่ แตกต่างกับเจ้าแม่เอเธน่า มากซึ่งเป็นเทวีแห่งสงครามเหมือนกัน เอเธน่านั้นสุขุม เฉลียวฉลาดและกล้าหาญ จึงได้รับการ ยกย่องทั่วทุกหนแห่ง เป็นเหตุให้เอเรสเกิดจิตริษยาเอามาก เป็นดั่งว่า "ฟ้าให้เอเรสเกิดแล้วไฉนให้เอเธน่ามาเกิดอีกเล่า" เวลาพบกันทีไรจึงมักมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ มีครั้งสำคัญอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไปพบกันกลางทางและมีเรื่องทะเลาะกัน อย่างเคย เทพเอเรสเกิดบันดาลโทสะ จึงขว้างจักรอันเรืองฤทธิ์แรงกล้าพอ ๆ กับอสนีบาตขององค์ซูสเทพบิดา เข้า ใส่เอเธน่า เจ้าแม่เอี้ยวหลบแล้วทรงยกเอาหินที่วางอยู่แถว ๆ นั้นขึ้นทุ่มตอบกลับไป หินก้อนนั้นมิใช่หินธรรมดา แต่เป็นหินที่ตั้งไว้เพื่อ แสดงเขตแดนของนคร หินนั้นกระทบถูกเอเรสเข้าให้ถึงกับทรุดลงกองกับพื้น ก่อนที่เทวีเอเธน่าจะกลับไป เจ้าแม่ยังกล่าวเยาะ ให้เจ็บใจเล่นด้วยว่า "เจ้างั่ง! เพียงแค่นี้ เจ้าก็เดาได้แล้วใช่ไหมว่าเรี่ยวแรงของเรามากขนาดไหน อย่าแหยมมารบกวน เราอีกต่อไปเลย!" เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเอเรสองค์นี้ คือในฐานะที่เป็นเทพแห่งสงคราม ตามปกติหากรบที่ไหนต้องมีชัยที่นั่น แต่ผิดถนัดสำหรับเทพองค์นี้ หากว่าเอเรส รบที่ไหนปราชัยที่นั่นมากกว่า จนน่าประหลาดใจ นอกจากจะพ่ายแพ้แก่เทวีเอเธน่าแล้ว ยังแพ้มนุษย์อีกด้วย อาทิเช่น วีรบุรุษเฮอร์คิวลิส เคยสังหารโอรสของเอเรสมาแล้ว ครั้นผู้เป็นพ่อเข้าช่วยลูก ก็ถูกต่อยตีจนต้องหลบหนีขึ้นไปบนโอลิมปัสแทบไม่ทัน เมื่อนำเรื่องทูลฟ้องซูสเทพบดี ไท้เธอก็ตัดสินไกล่เกลี่ยให้เลิกรากันไป เนื่องจากแท้ที่จริง เฮอร์คิวลิสก็เป็นโอรสของไท้เธอเช่นเดียวกัน เพียงแต่มีมารดาเป็นมนุษย์สามัญ

เทพเอเรสมักเสด็จไปไหน ๆ โดยรถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธของเธอส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ เดมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟบอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บริวารนี้บางตำนานกล่าวว่าเป็นโอรสของเทพเอเรส ในทาง ดาราศาสตร์เมื่อตั้งชื่อดาวอังคารว่า มาร์ส ตามชื่อเทพแห่งสงครามแล้ว ก็เลยตั้งชื่อดวงจันทร์บริวารทั้งสองของดาวอังคารว่า เดมอสกับโฟบอสตามตำนานไปด้วยเลย
ในด้านความรักของเอเรสนั้นเร่รักไป เรื่อยเช่นเดียวกับเทพบุตรอื่น ๆ ในโอลิมปัส ไม่ได้ยกย่องใครเป็นชายา แต่มีเรื่องรักสำคัญของเอเรสอยู่ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้น ได้แก่การลักลอบเป็นชู้กับเทวีแห่งความงามและความรักนาม อโฟรไดที่


เมื่อ เอเรสเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ (ชาวกรีก) เช่นนั้นพฤติการณ์ของเธอตอนเป็นชู้กับเทวี อโฟรไดที่จึงเป็นที่ครหารุนแรงและมวลเทพก็คอยจ้องจับผิดก็เพราะความมืดของ ราตรีกาลเป็นใจ ตราบใดเธอ หลบไปได้ก่อนดวงอาทิตย์ของอพอลโลไขแสง หากยังจับไม่ได้คาหนังคาเขา ตราบนั้นพฤติการณ์ของเธอ ก็ยังคง เป็นความลับ เธอเกรงกลัวอยู่ก็แต่แสงสว่าง ซึ่งเปรียบประดุจนักสืบของเทพอพอลโลเท่านั้น ถ้านักสืบนั้นแฉ พฤติการณ์ของเธอให้ประจักษ์แก่เทพอพอลโลแล้ว เทพอพอลโลก็คงจะนำความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ถึงกรณี ที่เธอลักลอบกับเทวีอโฟรไดที่ เธอจึงวางยามไว้คนหนึ่งให้คอยปลุกเมื่อใกล้รุ่ง ผู้ทำหน้าที่นี้คือ หนุ่มน้อยชื่อว่า อเล็กไทรออน (Alectryon) ในคราวที่ความจะแตก อเล็กไทรออนหลับยามเพลินไปจนรุ่งเช้าเป็นเหตุให้อพอลโลเห็นเอเรสกับอโฟรได ที่นิทรา หลับอยู่ด้วยกัน อพอลโลจึงนำความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ฮีฟีสทัสสานร่างแหเหล็กเตรียมไว้ก่อนแล้ว พอได้ความดังนั้นก็หอบ ร่างแหไปทอดครอบเอเรสกับอโฟรไดที่ไว้ให้เทพทั้งปวงมาดูและหัวเราะเยาะอย่าง ครื้นเครง แล้วจึงปล่อยไป ฝ่ายเอเรสได้รับ ความอัปยศอดสูท่ามกลางธารกำนัลยิ่งนัก จึงสาปอเล็กไทรออนให้กลายเป็นไก่ ทำหน้า ที่คอยขันยามในเวลาใกล้รุ่งทุกคืน เป็นการลงโทษในการที่หลับยาม ด้วยเหตุนี้ไก่ผู้ทุกตัวที่เกิดขึ้นในโลก จึงสืบสกุลมาจากไก่อเล็กไทรออนตัวแรกนั้นทั้งสิ้น

อาเรสมีบุตรชายกับวีนัส 2 คน คือ อีรอส (Eros) กับ แอนตีรอส (Anteros) และบุตรสาว 2 คน คือ ฮาร์โมเนีย (Harmonia) หรือ เฮอร์ไมโอนี (Hermione) กับ อัลซิปเป (Alcippe)
        เฮอร์ไมโอนีนั้นวิวาห์กับแคดมัส (Cadmus) ต่อมาภายหลังถูกคำสาปของอาเรสทำให้ลูกหลานต้องประสบเคราะห์กรรม ส่วนอัลซิปเปถูกโอรสของโพเซดอน Halirrhotius ลักพาตัวไป อาเรสโกรธจึงตามไปฆ่าโอรสของโพเซดอนเสีย โพเซดอนฟ้องร้องต่อศาลสวรรค์ ว่าอาเรสทำเกินกว่าเหตุ แต่ศาลสวรรค์ตัดสินให้อาเรสชนะความ การตัดสินนั้นมีขึ้นที่ยอดเขา
แห่งหนึ่งในกรุงเอเธนส์ ต่อมาจึงให้ชื่อยอดเขานั้นตามชื่ออาเรสว่า อาเรโอปากัส (Areopagus)
        อาเรสมีความสัมพันธ์กับนางรีอาซิลเวีย (Rhea Silvia บางที่ว่าชื่อ อีเลีย) ธิดาของท้าว นิวไมเนอร์ เจ้าเกาะอัลบา แต่นางเป็นหญิงพรหมจารีเวสตัล (Vestal คือ สาวกของเทวีแห่งเตาไฟ เฮสเตีย (Hestia: ชื่อกรีก) หรือ เวสตา (Vesta : ชื่อโรมัน) พี่สาวคนโตของซีอุส เป็นเทวีที่คอยดูแลความผาสุขในบ้าน และเป็นเทวีพรหมจารี ดังนั้นจึงมีข้อห้ามเวสตัล สาวกของพระนาง ไม่ให้แต่งงานจนกว่าจะพ้นหน้าที่ (การคัดเลือกเวสตัลใช้การจับฉลาก แต่เดิมมี 4 นาง ต่อมาเพิ่มเป็น 6 นาง เด็กหญิงที่ถูกจับฉลากให้เป็นเวสตัล จะทำหน้าที่ตั้งแต่อายุ 6-10 ขวบ โดยการดูแลไฟศักดิ์สิทธิ์ในวิหารแห่งเวสตาและจะพ้นหน้าที่เมื่ออายุประมาณ 40 ปี หลังจากนั้นถึงอนุญาตให้มีสามีได้ เวสตัลที่ละเมิดกฏนี้จะถูกฝังทั้งเป็น)

   รีอาซิลเวียให้กำเนิดลูกชายแฝดของอาเรส ชื่อ โรมิวลัส (Romulus) กับ รีมัส (Remus) ก่อนที่จะถูกฝังตามกฏ ต่อมา อัมมิวเลียส น้องชายของท้าวนิวไมเนอร์ได้ชิงราชบัลลังก์ของพี่ชาย และเอาลูกทั้งสองของรีอาซิลเวียไปลอยแพในแม่น้ำไทเบอร์ เมื่อแพไปเกยฝั่ง ก็มีแม่สุนัขป่ามาเจอเด็กทั้งสองและคาบไปเลี้ยงเป็นลูก พอทั้งคู่โตได้สักหน่อย ก็มีชายเลี้ยงแกะมาพบและพาไปเลี้ยงดูอีก
 
เมื่อโตเป็นหนุ่มทั้งคู่ก็รวบรวมผู้คนไปขับไล่อัมมิวเลียส และคืนบัลลังก์ให้ท้าวนิวไมเนอร์ผู้เป็นตา (ผมสงสัยอยู่ว่าตากับหลานรู้จักกันได้อย่างไร) จากนั้นทั้งคู่คิดจะสร้างเมืองใหม่ บริเวณริมฝั่งน้ำที่เคยอยู่ตอนเป็นเด็ก ระหว่างที่สร้างเมืองเกิดไม่ลงรอยกัน จนโรมิวลัสบันดาลโทสะฆ่ารีมัสตาย โรมิวลัสสร้างเมืองต่อไปจนเสร็จ ตั้งชื่อว่า โรม (Rome) ตามชื่อตน (แต่บางที่กล่าวว่าผู้ที่สร้างกรุงโรมคืออีเนียส ผู้ที่หนีรอดไปจากสงครามเมืองทรอย) เนื่องจากบุตรชายเป็นผู้สร้างเมือง อาเรสจึงดูแลกรุงโรมเป็นพิเศษ ครั้งหนึ่งเกิดกาฬโรคระบาด อาเรสก็มอบโล่ของตนเพื่อคุ้มครองโรมให้พ้นจากภัยพิบัติ ชาวโรมันเกรงจะมีใครมาขโมยโล่นั้น จึงสร้างโล่ปลอมอีก 11 อัน วางเรียงอยู่กับโล่จริงภายในวิหารแห่งอาเรสมีเพียงหัวหน้าผู้ดูแลวิหารเท่านั้นที่รู้ว่าโล่อันใดเป็นของจริงอาเรสมีความสัมพันธ์กับน้องสาวของตนเองอีกคนหนึ่ง คือ เทวีแห่งความแตกร้าวอีริส (Eris : ชื่อกรีก) หรือ ดิสคอร์เดีย (Discordia : ชื่อโรมัน) (เทวีที่โยนแอปเปิ้ลแห่งความแตกร้าวเข้าไปในงานแต่งจนเกิดสงครามทรอยนั่นแหละ Discord = ความบาดหมาง,แตกแยก)
มีโอรสด้วยกัน 2 องค์คือ
        ไดมอส (Deimos) แปลว่า ความกลัว
        โฟบอส (Phobos) แปลว่า ความหวาดสยอง
นอกจากนี้อีริสยังมีโอรสอีก 1 องค์ กับซีอุสบิดาของตัวเอง คือ เอตี (Ate)
แปลว่า ความบันดาลโทสะ



จอมณรงธร ศรีอริยนันท์ (ตี๋)
23 กรกฎาคม 2012 
สมัครเข้ากลุ่มเฟสภาษาตะวันตกได้ที่ 
https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น