วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ช้างน้ำ ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร

ข้อมูลโดย พี่ปัด Dek-D.com

ช้างน้ำ (วอลรัส)


“วอลรัส”(Walrus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนใหญ่แล้วจะอาศัยอยู่ในแถบขั้วโลกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงฤดูร้อนที่สุดแสนจะสั้นของทวีปนี้ วอลรัสจะใช้ครีบและงาของมันดึงตัวเองขึ้นจากน้ำมาสู่หาดหินเพื่อทำการอาบแดด
               สัตว์ชนิดนี้ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีนิสัยรักครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผูกพันของแม่ - ลูก ผิวหนังของวอลรัสมีความหนามากถึง 4 เซนติเมตร!! และสามารถเปลี่ยนสีได้อีกด้วย โดยถ้าช่วงอากาศหนาวจะเป็นสีขาว แต่ถ้าอากาศอบอุ่นก็จะเปลี่ยนเป็นสีชมพู - แดง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์วอลรัสจะชอบอวด “งา” หรือก็คือฟันบนซี่ยาวๆ 2 ซี่ ที่สามารถงอกยาวได้ถึง 1 เมตร เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจเพศตรงข้าม นอกจากนี้งายังมีประโยชน์ในการใช้หาอาหารทั้งขุดกุ้ง ขุดหอยขึ้นมาจากพื้นทะเลที่เป็นน้ำแข็ง และยังสามารถใช้ป้องกันตัวเองได้อีกด้วย วอลรัสที่มีขนาดตัวใหญ่มากจะมีขนาดตัวยาวถึง 3 เมตร และหนักถึง 1.5 ตัน (1,500 กิโลกรัม) เลยทีเดียว!! แต่พี่ปัดขอบอกว่าถึงจะเห็นตัวใหญ่แบบนี้แต่สัตว์ชนิดนี้มันสามารถดำน้ำได้ ลึกถึง 90 เมตรเลยนะจ๊ะ
               ถิ่นอาศัยของสัตว์ชนิดนี้ อาศัยอยู่ในแถบขั้วโลกเหนือที่หนาวจัด ฉะนั้นถ้าทุกคนไม่ช่วยกันแก้ไขปัญหาลดโลกร้อน ที่เป็นสาเหตุหลักทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย "วอลรัส" ก็อาจจะหายไปจากโลกนี้ได้เพราะขั้วโลกคือบ้านที่แสนสบายของสัตว์ชนิดนี้นั่นเอง

ภาษาสเปน                        Morsa (โม้รฺสะ)
ภาษาโปรตุเกส                 Morsa  (โม้รฺสะ)
ภาษาอิตาลี                       Morse (โม้รฺเสะ)
ภาษาฝรั่งเศส                   Morse (โมครฺเสอะ)
ภาษาเยอรมัน                  Walross (วั้ลรอส)
ภาษารัสเซีย                    Mорж (โมรฺช)
ภาษากรีก                        θαλάσσιος ίππος (ธาลาสซีส อิปโปส)
  
ข้อมูลโดย Ikamiso  in Chishiki

สัตว์จำพวกแมวน้ำและสิงโตทะเลนั้นอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีเท้าเป็นครีบ ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า  Pinniped ส่วนภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 鰭脚類(ききゃくるい, คิเคียกุรุย) แปลตรงๆว่า "สัตว์เท้าครีบ" พวกนี้มัลักษณะที่เหมือนกันก็คือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่ว่าร่างกายถูกพัฒนาให้สามารถว่ายน้ำได้ดี อาศัยอยู่บนทะเลเป็นหลัก สัตว์เท้าครีบนั้นเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับ Carnivora ซึ่งก็คือลำดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินเนื้อ แต่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ネコ目 (เนโกะ โมกุ) หมายถึง "สัตว์ในอันดับเดียวกับแมว" นั่น เพราะกลุ่มหลักของอันดับนี้คือแมวนั่นเอง (รวมเสือ สิงโต และชีตาห์) ดังนั้นแมวกับแมวน้ำ และสิงโตกับสิงโตทะเล ก็ไม่ใช่ญาติไกลกันมาก อย่างไรก็ตาม แมวน้ำกับสิงโตทะเล ก็มีความใกล้เคียงกับหมามากกว่าแมว
 
 แมวน้ำ

Fócido (โฟ้ซิโดะ)
Foca (โฟ้กะ)
Foche (โฟ้เขะ)
Phoque (โฟเกอะ)
Hundsrobben (ฮุนซร็อบเบน)
Настоящие тюлени (นาสตาเยียเชีย ติยูเลียหนิ)
Φώκια (โฟ้เกีย)

สัตว์ในอันดับ Carnivora มีทั้งหมด ๑๗ วงศ์ ในจำนวนนั้นเป็นสัตว์เท้าครีบ ๓ วงศ์ ดังนี้
- วงศ์สิงโตทะเล (Otariidae, アシカ科) ประกอบด้วย แมวน้ำมีใบหู ๘ สายพันธุ์ และสิงโตทะเล ๖ สายพันธุ์
- วงศ์แมวน้ำ (Phocidae, アザラシ科) ประกอบด้วย แมวน้ำไม่มีใบหู มีทั้งหมด ๑๘ สายพันธุ์
- วงศ์วอลรัส (Odobenidae, セイウチ科) ประกอบด้วย วอลรัส มีเพียงสายพันธุ์เดียว
มีรวมทั้งหมด ๓๓ สายพันธุ์

 
สิงโตทะเล
  
León marino (เลโอน มาริโหนะ)
 Leão-marinho (เลอาว มารินโหยะ)
Otaria (โอต้าเรีย)
Otarie (โอ้ตาครี)
Seelöwe (ซีลูเหวอะ)
Морской лев (มารฺสโกย เลียบ)
Θαλάσσιο λιοντάρι (ธาล้าสซี เลียนต้าหริ)

ที่แมวน้ำมีใบหูถูกจัดอยู่วงศ์เดียวกับสิงโตทะเลก็เพราะมีความใกล้เคียงกันมากกว่า
ในภาษาอังกฤษจะเรียกแมวน้ำไม่มีใบหูว่า seal คือเป็นแมวน้ำเฉยๆ และเรียกแมวน้ำมีใบหูว่า fur seal แมวน้ำที่มีขนเฟอร์ (ขนหนานิ่ม) แต่ในภาษาญี่ปุ่นเรียกแยกกันเลย คือแมวน้ำไม่มีใบหูจะเรียกว่า 海豹(アザラシ, อาซาราชิ) ซึ่งแปลตรงตัวว่า "เสือดาวทะเล" และเรียกแมวน้ำมีใบหูว่า 膃肭臍(オットセイ, อตโตะเซย์) ส่วน สิงโตทะเลก็เรียกว่า 海驢(アシカ, อาชิกะ) ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ลาทะเล" และตัววอลรัสเรียกว่า 海象(セイウチ, เซย์อุจิ) ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ช้างทะเล"
                                        


จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
 ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
12 ธันวาคม 2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น