วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตำนาน ขนมปังฝรั่งเศส (Baguette)

 ข้อมูลจาก kroobannok.com

 ทำไม Baguette (บาแก็ตต์) จึงทำเป็นแท่งยาว?



     "บาแก็ตต์" (Baguette) ที่มีความหมายว่า "แท่งไม้" ตามรูปลักษณ์ของมัน เอกลักษณ์ของมันคือความกรอบของเปลือก บาแก็ตต์ผิดกับขนมปังทั่วไปตรงความ "กรอบนอกนุ่มใน" ทำให้เวลาผ่า , ตัด หรือเฉือนเป็นส่วนๆ ทำได้ง่าย และขนมปังไม่เสียรูป บาแก็ตต์เป็นขนมปังที่คนฝรั่งเศสกินกันอย่างแพร่หลายจนแทบจะกลายเป็นขนมปังประจำชาติ ทำให้คนส่วนใหญ่เรียกบาแก็ตต์ว่า "ขนมปังฝรั่งเศส" แต่จริงๆ แล้ว ต้นกำเนิดของบาแก็ตต์ไม่ใช่ของฝรั่งเศสแท้ ๆ หากมันมีต้นกำเนิดจากเมือง "เวียนนา" ประเทศออสเตรีย ในช่วงประมาณยุคกลางศตวรรษที่ 19

 

    ขนมปังฝรั่งเศสจริงๆ แบบดั้งเดิมคือ "บูล" (Boule) ครับ เป็นขนมปังกลมๆ ใหญ่ๆ ซึ่งขนมปังบูลนี้ คนฝรั่งเศสกินกันมานานจนเป็นประวัติศาสตร์และเป็นที่มาของคำว่าเบเกอรี่ของ ภาษาฝรั่งเศสที่ออกเสียงว่า "บูลองเฌอฆรี" (Boulangerie) ด้วย 

     เหตุที่คนฝรั่งเศสหันมากินบาแก็ตต์แทนบูลกันทั้งประเทศ ก็เพราะรูปร่างที่ไม่เป็นก้อนอวบกลม ทำให้เนื้อขนมไม่สุกจนเกินไป และความกรอบของผิวพอดีกับความหยุ่นของเนื้อขนม อย่างที่ภาษาขนมปังเรียกว่าได้ส่วนกันระหว่าง "เปลือก" และ "ปุย" คืออร่อยกว่า หรือเนื้อถูกปากกว่า 

 

     นอกจากนี้ ในช่วงปี ค.ศ.1920 ประเทศฝรั่งเศสเคยมีกฎหมายแปลกๆ คือห้ามคนทำงานก่อนตี 4 ทำให้การอบขนมปังบูลไม่ทันเวลาเปิดร้าน เพราะใช้เวลาอบนานกว่าบาแก็ตต์ จึงได้มีการออกแบบรูปทรงของขนมปังใหม่ให้สามารถทำและอบสุกได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลาของผู้คนที่จะมาซื้อขนมปังไปรับประทานในเวลาเช้า และรูปทรงใหม่นี้ เหมาะแก่การหั่นทำแซนวิชได้เร็วขึ้นอีกด้วย ประวัติศาสตร์การกินขนมปังของฝรั่งเศสจึงพลิกโฉมไปนิยมกินบาแก็ตต์แท่งยาวจากออสเตรีย และนิยมสืบต่อมาจนกลายเป็นขนมปังประจำชาติด้วย

  

 ข้อมูลโดย l3nr.org

     เมื่อทำสงครามต้องมีเสบียงอาหารเพื่อให้ทหารมีกำลังในการทำศึก แต่แทนที่จะเป็นพวกข้าวที่จะต้องหอบไปและเสียเวลาในการลากจูง และอาจจะถูกปล้นเสบียงได้ ชาวฝรั่งเศสก็เลยทำขนมปังขึ้น แต่แทนที่จะทำเป็นก้อนหรือว่าเป็นแผ่น ชาวฝั่งเศสทำเป็นแท่งยาวแทน เพราะง่ายต่อการพกพา และสามารถจะกินได้หลายวัน และสามารถเหน็บเอาไว้ที่ขา แถวด้านข้างหน้าแข้งได้ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดขนมปังฝรั่งเศสขึ้นและเป็นที่นิยมกัน

     ผลิตภัณฑ์ขนมอบเบเกอรี่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรืออาจจะพูดได้ว่าตั้งแต่ที่มีการนำเอาแป้งสาลีเข้ามา แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมเนืองจากมีราคาค่อนข้างแพง และคิดว่าสมัยก่อนคนยังทำไร่ ทำนา จึงกินข้าวกันมากกว่า 


Rejoignez le groupes de facebook "Le Club des Langues occidentales de Université Ramkhamhaeng" à https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/

จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
11 กุมภาพันธ์ 2014



     














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น