วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ไข่ปลาคาเวียร์ (Caviar)

ข้อมูลโดย postjung.com
 

      "Caviar" มาจากภาษาเปอร์เซีย ว่า خاگ‌آور (Khag-avar) ซึ่งมีความหมายว่า “ไข่ปลาที่ปรุงรส” ซึ่งความจริงไม่ได้มาจากปลาคาเวียร์แต่อย่างใด โดยไข่นั้นได้มาจากปลาหลากหลายชนิด ส่วนมากจะนำมาจากไข่ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon) เพราะคำว่า "คาเวียร์" ในแถบเปอร์เซียหมายถึงปลาสเตอร์เจียน ซึ่งคาเวียร์ขึ้นชื่อว่า “เป็นหนึ่งในอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก” คาเวียร์ที่ชื่อเสียงจะได้มาจากฝั่งทะเลสาบแคสเปียน ในแถบประเทศอาเซอร์ไบจัน , อิหร่าน และรัสเชีย การรับประทาน คาเวียร์ นิยมตักไข่ปลาด้วยช้อนคันเล็กๆ ทาลงบนขนมปังแล้วรับประทาน




      โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อว่ามีปลาสเตอร์เจียนชุกชุมคือ ทะเลสาบแคสเปียน ในอดีตเคยอาศัยอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ให้ชาวประมงรัสเซียได้จับกันเป็นจำนวน มาก จนทำให้ปลาลดจำนวนลง รัฐบาลรัสเซียจึงต้องออกกฎหมายห้ามจับโดยเด็ดขาด


 



     ในปัจจุบันทั้งทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ มีการล่าจับปลาสเตอร์เจียนกันมาก จนองค์การ CITES (ไซเตส - อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญ พันธุ์) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการค้าสัตว์และพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ทั้งหมดราว 30,000 ชนิด ได้เข้ามาควบคุมการจับปลาสเตอร์เจียนด้วย เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ 

 


ทั้งนี้เพราะได้มีการพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า คาเวียร์ จากทะเลสาบแคสเปียนมีคุณภาพดีที่สุด จึงทำให้มีการซื้อขายคาเวียร์ปีละ 2,000–4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ CITES ก็ตระหนักดีว่าการปกป้องคุ้มครองปลาจำพวกนี้นั้น จำต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งศุลกากร, นักวิทยาศาสตร์ และชาวประมง จึงได้ออกกฎหมายบังคับห้ามจับปลาสเตอร์เจียน ในปริมาณที่เกินกำหนด อีกทั้งห้ามชาวประมงไม่ให้สร้างมลภาวะที่ร้ายแรงในทะเลสาบ และห้ามฆ่าปลาสเตอร์เจียนในช่วงก่อนอายุวางไข่ (15 ปี) รวมถึงให้มีการจำกัดโควตาการผลิต คาเวียร์ โดยให้ทุกประเทศที่อยู่เรียงรายรอบทะเลสาบแคสเปียนปฏิบัติตาม


สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

 จอมณรงธร (ตี๋)
กรรมการชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2556-57
กลุ่ม "Fanclub FS"
12 กุมภาพันธ์ 2014

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น