วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เเพะ ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร

     แพะ เป็นสัตว์สี่เท้ามีกีบ กินพืช เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นญาติของแกะ  แพะหาอาหารกินเองได้ ไม่เลือกกิน แม้ฤดูแล้ง เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็ว เพราะมีการเติบโตเป็นวัยเจริญพันธุ์ได้ ตั้งแต่อายุ 8 เดือน ใช้ระยะเวลาเลี้ยงลูกสั้น ทำให้ตั้งท้องได้ใหม่เร็ว มีขนาดเล็ก ผู้หญิงหรือเด็กจึงเลี้ยงดูได้ไม่ยาก ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงเพียงเล็กน้อย ปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้ง แน่นอน คนเราก็จับมันมาทำเป็นอาหารอีกเช่นเดิม กินได้ทั้งเนื้อและนม รวมทั้งนำขนของแพะมาใช้ด้วย

ภาษาสเปน                         Cabra (ก้าบระ)
ภาษาโปรตุเกส                   Cabra (ก้าบระ)
ภาษาอิตาลี                        Capra (ก้าประ)
ภาษาฝรั่งเศส                     Chèvre (เชอเวคฺรอะ)
ภาษาเยอรมัน                     Ziege (ซีเกอะ)
ภาษารัสเซีย                       Коза (กาซ่า)
ภาษากรีก                           Κατσίκα (กาทิกะ)

ข้อมูลโดย ichat.in.th
แพะรับบาป
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพาราณสี สมัยพระเจ้าพรหมทัต มีพราหมณ์ทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่ง คิดจะทำมตกภัต (อุทิศคนตาย) จึงให้ลูกศิษย์จับแพะตัวหนึ่งไปอาบน้ำและประดับดอกไม้ แพะพอถูกลูกศิษย์จูงไปที่ท่าน้ำ ก็ทราบถึงวาระสุดท้ายชีวิตของตนมาถึงแล้วอันเนื่องจากกรรมเก่า จึงแสดงอาการเดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ออกมา ทำให้พวกลูกศิษย์แปลกใจ เมื่อนำแพะกลับมาถึงสำนักแล้ว จึงบอกเรื่องนี้
 แก่พราหมณ์ พราหมณ์จึงถามแพะถึงอาการนั้น


     แพะจึงบอกพราหมณ์ว่า ” อดีตชาติเคยเป็นพราหมณ์เหมือนกัน เพราะได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งทำมตกภัต จึงเป็นเหตุให้ถูกฆ่าตัดศีรษะถึง ๔๙๙ ชาติ นี่เป็นชาติที่ ๕๐๐ พอดี จึงหัวเราะดีใจที่จะสิ้นกรรมในวันนี้ และร้องไห้ เพราะสงสารท่านที่จะเป็นเช่นกับเรา ”
     พราหมณ์ ได้ฟังแล้วเกิดความสลดใจ จึงยกเลิกไม่ฆ่าแพะ และสั่งให้ลูกศิษย์ทำการอารักขาแพะเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้แพะเกิดอันตราย แพะจึงบอกพราหมณ์ว่า ” การอารักขาของท่านมีประมาณน้อย ส่วนบาปกรรมของเรามีกำลังมาก อะไรก็ห้ามไม่ได้ ”
      แพะพอเขาปล่อย ก็ชะเง้อคอจะกินใบไม้ใกล้แผ่นหินแห่งหนึ่ง ทันใดนั้นเอง ฟ้าได้ผ่าลงที่แผ่นหิน สะเก็ดหินชิ้นหนึ่งได้ปลิวไปตัดคอแพะที่กำลังชะเง้อคออยู่พอดี แพะล้มลงสิ้นใจตายทันที รุกขเทวดาที่อยู่ในที่นั้น ได้กล่าวสอนว่า ” มนุษย์ผู้กลัวตกนรก พึงพากันงดจากปาณาติบาต ตั้งอยู่ในเบญจศีลเถิด ” และกล่าวเป็นคาถาว่า
     ”ถ้าสัตว์ทั้งหลาย พึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติภพนี้เป็นทุกข์
       สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะว่าผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศก ”

 
  นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เกิดเป็นคนไม่พึงทำกรรมชั่วด้วยการฆ่าสัตว์ด้วยกัน มิเช่นนั้นจะได้รับความทุกข์เช่นแพะรับบาปนี้

ข้อมูลโดย moohin.com
เลียงผา รูปร่างคล้ายแพะ แต่ไม่มีเครา ขนหยาบและยาวกว่า มีสีดำเกือบทั้งตัว หูยาวเหมือนลา มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขายาวประมาณ 4 - 8 นิ้ว โคนเขามีหยักเป็นวงรอบ ๆ ปลายเขากลมเรียวโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย เท้าของมันแข็งแรงมาก กีบเท้าแข็งแกร่งและสั้น เหมาะที่จะกระโดดไปตามหน้าผา มีต่อมขนาดใหญ่อยู่ใต้ตา
อาศัยอยู่ในปัญจาบ แคชเมียร์ ทางใต้ของเทือกเขาหิมาลัยไปจนจรดอัสสัม จีนตอนใต้ พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา ไต้หวัน ญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าภูเขา และเกาะต่าง ๆหลายแห่ง
     อาหารของเลียงผาได้แก่ ใบไม้อ่อน หน่อพืชบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีกลิ่นหอม รวมทั้งกินหญ้า เปลือกไม้ และกิ่งไม้

ชอบอาศัยอยู่ตามป่าสูงที่มีหน้าผาหรือโขดหินสูงชัน มีชะง่อนผากำบังเพียงพอ หรือเข้าไปอยู่ ในถ้ำที่คนเข้าไปไม่ถึง นิสัยปกติขี้อาย ปกติชอบออกหากิน แต่จะดุเมื่อบาดเจ็บหรือจนตรอก ปกติชอบออกหากินตามลำพังตัวเดียว ออกหากินตอนเย็นและเช้าตรู่ ส่วนตอนกลางวันนอนหลบพักตามป่าละเมาะหรือป่าลึก ๆ สามารถอดน้ำได้นานเป็นสัปดาห์
     เลียงผามีฤดูผสมพันธุ์ประมาณช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ตั้งท้องนาน 7-8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกเลียงผาพอมีอายุได้สองสามวัน ก็สามารถเดินตามแม่ได้ มันจะอยู่กับแม่นานราว 1 ปี มีอายุยืนราว 10 ปี

 
สถานภาพปัจจุบัน
     เลียงผามีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากถูกล่าอย่างหนัก เพื่อเอาเขา กระดูก และน้ำมันมาใช้ทำยาสมานกระดูก นอกจากนี้พื้นที่หากินของเลียงผาลดลงอย่างรวดเร็วจากการทำการเกษตรตามลาดเขา และบนพื้นที่ที่ไม่ชันจนเกินไป เลียงผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิด ตามพระรา

Capricornis (าปริโก้รฺนิส)
 Capricornis (กาปริโก้รฺินิส)
Capricornis (กาปริโก้รฺนิส)
 Capricornis (กาปริโกครฺนี)
  Seraue (เซร์ออ)
Сероу (เซียโรย)
 Αιγόκερως (เอโก้เกรฺโรส)

แอนทีโลป เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว มีลักษณะคล้ายกวาง และคำนิยามในพจนานุกรมก็ระบุเช่นนั้น ว่าเป็นสัตว์จำพวกเนื้อและกวางซึ่งมีเขาเป็นเกลียว หรือบางทีก็เรียกว่า ละมั่ง
แต่ที่จริงแล้ว แอนทีโลป ไม่ใช่กวางแม้รูปร่างภายนอกจะคล้ายกัน แต่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับวัว ควาย เเพะ หรือแกะมากกว่า
 
ซึ่งสัตว์ในตระกูลนี้ จะมีเขาโค้งเป็นเกลียว และมีถุงน้ำดี แอนทีโลป กระจายพันธุ์ไปในทวีปเอเชียและแอฟริกา และยูเรเซีย แต่ไม่พบในประเทศไทย โดยศัพท์คำว่า แอนทีโลป ปรากฏครั้งแรกในภาษาอังกฤษ โดยได้รับมาจากภาษาฝรั่งเศสโบราณ หรืออาจจะมาจากภาษากรีกคำว่า "anthos" ซึ่งหมายถึง ดอกไม้ และ "ops" ที่หมายถึง ตา อาจหมายถึง "ตาสวย" หรือแปลได้ว่า สัตว์ที่มีขนตาสวย 
  Antilope (อันติโล้เปะ)
Antílope (อันตี้โลปิ)
 Antilope (อันติโล้เปะ)
Antilope (อองติโลเปอะ)
Antilope (แอนทิโลเพอะ)
Антило́па (แอนติโล้ปะ)
Αντιλόπη (แอนติโล้ปิ)


จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
30 พฤศจิกายน 2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น