วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ผู้นำประเทศตะวันตก (2014) ที่มีวิชาภาษาสอนใน ม.รามฯ

ข้อมูลโดย Wikipedia
 

1.Deutschland (ด๊อยชลันด์ - ประเทศเยอรมนี) ปกครองในรูปแบบสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ตั้งแต่การสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิเยอรมันในปี 1918 และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ Weimar (ไวมาร์) ให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศเยอรมนี

 

แต่ระบบการปกครองของประเทศเยอรมนีมีพื้นฐานจากเอกสารรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 1849 ซึ่งเรียกว่า Grundgesetz (กรุนด์เกอเซตส์ - กฎหมายพื้นฐาน) การเรียกกฎหมายนี้ว่า "Grundgesetz" แทนที่จะเป็น "Verfassung" (ฟาร์ฟัสซุง - รัฐธรรมนูญ) เป็นเพราะความตั้งใจที่ว่าจะแทนที่โดยรัฐธรรมนูญเมื่อประเทศเยอรมนีได้รวมเป็นรัฐเดียว ชื่อ Grundgesetz ยังคงใช้หลังการรวมเป็นประเทศเยอรมนี

 

ตำแหน่งประธานาธิบดี Bundespräsident (บุนเดสเพรซิเดนท์ - ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์) เป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ได้รับเลือกจากที่ประชุมสหพันธ์ Bundesversammlung (บุนเดสฟาร์ซัมลุง - สมัชชาแห่งชาติ) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกของ Bundestag (บุนเดสทัก - สภาผู้แทนราษฎร) และตัวแทนของรัฐต่างๆ ในจำนวนเท่ากัน ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสหพันธ์ ตำแหน่งประธานาธิบดีประเทศเยอรมนีมีวาระครั้งละ 5 ปี สำหรับตำแหน่งหัวหน้าคณะบริหารประเทศของเยอรมนีนั้น คือตำแหน่ง Bundeskanzler (บุนเดสกันสเลอร์ - มุขมนตรี เทียบเท่ากับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี)

 

นายกรัฐมนตรี คือตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารประเทศเยอรมนี เป็นชื่อเรียกตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่ประเทศเยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน ในสมัย Otto von Bismarck (อ็อตโท ฟอน บิสมาร์ค) ในปี 1871 โดยรัฐต่าง ๆ ของประเทศเยอรมนีที่เป็นประเทศอิสระหลายประเทศ หลายแว่นแคว้น ได้เข้ามารวมกันภายใต้การนำของราชอาณาจักรปรัสเซีย เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศเยอรมนีเปลี่ยนไปเป็นระบบประธานาธิบดี หรือแม้แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบสหพันธรัฐก็ยังคงอยู่ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงยังคงเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารไม่เปลี่ยนแปลง

 

ในสมัย Adolf Hitler (อดอล์ฟ ฮิตเลอร์) ได้รวมตำแหน่งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีเข้าด้วยกัน แล้วเรียกใหม่ว่าตำแหน่ง Führer (ฟูเคอร์ - ผู้นำ) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีกลับไปใช้ระบบสหพันธรัฐ และมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเช่นเดิม หัวหน้าฝ่ายบริหารก็ยังคงเรียกแบบเดิมคือนายกรัฐมนตรี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาประเทศเยอรมนี มีนายกรัฐมนตรี 8 คน ถ้าไม่นับฮิตเลอร์

 

ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศเยอรมนีคือ Joachim Gauck (โยอาคิม เกาค์) ส่วนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคือ Angela Merkel (อังเกอลา แมร์เคิล) จากพรรค Demokratischer Aufbruch (เดโมคราทิสเชอร์ เอาฟ์บรุค - การเดินทางของประชาธิปไตย) ซึ่งถือเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศเยอรมนี สังกัดพรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต นางขึ้นดำรงตำแหน่งในปี 2005 และได้รับเลือกให้เป็นสมัยที่ 2 ในปี 2009  




2.España (เอสปั้นยา -
ประเทศสเปน) มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยรัฐสภาอันมีกษัตริย์เป็นประมุข มาตั้งแต่ปี 1978 หลังจากที่ถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยจอมพล Francisco Franco (ฟรานซิสโก ฟรังโก) มา 36 ปี 

 

กษัตริย์คนปัจจุบันของประเทศสเปนคือ Felipe de Borbón y Grecia (ฟิลีเป เด โบร์โบน อี เกรเซีย) หรือ Felipe VI (ฟิลีเปที่ 6) 

 

เมื่อประเทศสเปนเปลี่ยนการปกครองมาใช้ระบอบประชาธิปไตย ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น คือ รัฐธรรมนูญฉบับปี 1978 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน บริหารราชการแผ่นดินผ่าน Presidente del Gobierno (เปรซีเด้นเต เดล โกเบียร์โน - นายกรัฐมนตรี) 
 

นายกรัฐมนตรีของประเทศสเปนคนปัจจุบันคือนาย Mariano Rajoy Brey (มาเรียโน ราโฆย เบรย์) มาจากพรรคการเมืองที่ชื่อ El Partido Popular (PP - เอล ปาร์ตีโด โปปูลาร์ - พรรคประชาชน) ซึ่งในปัจจุบันมีพรรคการเมืองในประเทศสเปน 10 พรรค 

 

โดยมีคำเรียกเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นภาษาสเปนว่า Excelentísimo Señor (เอ็กเซเลนตีซิโม เซนโยร์ - ฯพณฯ ท่าน) ส่วนที่ทำงานของนายกรัฐมนตรีของประเทศสเปนคือ Palacio de la Moncloa (ปาลาเซียว เด ลา โมงโกลอา - พระราชวังโมงโกลอา) 

 

3.Président de la République française (เปรซีดง เดอ ลา เรปูบลิก ฟรองแซส - ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส) เป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหารของประเทศฝรั่งเศสโดยมาจากการเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ 

 

ตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1748 ในสมัยของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 ซึ่งทำให้ระบอบประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสเป็นระบอบที่มีความเป็นมายาวนานที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป จวบจนปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวทั้งสิ้น 23 คน ซึ่งทุกคนได้พำนักใน Palais de l'Élysée (ปาแล เดอ เลลีเซ - ทำเนียบประธานาธิบดี) มาแล้ว


รัฐธรรมนูญในแต่สาธารณรัฐนั้น ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานาธิบดีแตกต่างกันไป ตั้งแต่ปี 1959 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสอยู่ในยุคสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 เป็นระบอบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันคือนาย François Hollande (ฟร็องซัว ออล็องด์) จากพรรค Parti socialiste (ปาร์ตี โซเซียลิส - พรรคสังคมนิยม ย่อว่า "PS") ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ปี 2012
 

ตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสมีอำนาจมากพอสมควรซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าโดยส่วนมากการควบคุมดูแลและบัญญัติกฎหมายเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐสภา แต่ประธานาธิบดีก็มีอิทธิพลด้วย อำนาจสูงสุดของประธานาธิบดีนั้นคือการแต่งตั้ง Premier Ministre (เปรอมิเยร์ มินิสเตรอ - นายกรัฐมนตรี) แต่อย่างไรก็ตามรัฐสภาฝรั่งเศสก็มีอำนาจที่จะปลดคณะรัฐมนตรีได้ ทำให้ประธานาธิบดีเหมือนกับถูกบังคับให้เลือกนายกรัฐมนตรีที่รัฐสภาให้การสนับสนุน โดยนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนปัจจุบันคือนาย Jean-Marc Ayrault (ฌ็อง-มาร์ก เอโคร) จากพรรคเดียวกัน



เมื่อไหร่ที่เสียงส่วนมากในรัฐสภามีความเห็นทางการเมืองตรงข้ามกับประธานาธิบดี ซึ่งจะทำให้เกิดการบริหารร่วมกัน เมื่อนั้นอำนาจประธานาธิบดีจะลดน้อยลง เนื่องจากอำนาจส่วนมากจะไปขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีและรัฐสภาแทน และอาจจะไม่สนับสนุนการแต่งตั้งของประธานาธิบดีอีกด้วย เมื่อไหร่ที่เสียงส่วนมากในรัฐสภาสนับสนุนประธานาธิบดี ประธานาธิบดีก็จะมีบทบาทมากขึ้น และมีอิทธิพลต่อนโยบายการบริหารของรัฐบาล บทบาทของนายกรัฐมนตรีจึงลดลง และอาจถูกปลดออกจากตำแหน่งหรือเปลี่ยนคณะผู้บริหารถ้าไม่เป็นที่นิยม

โดยตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐสภามีวาระ 5 ปี และการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้งจะใกล้กัน ทำให้ความเป็นไปได้ของการบริหารร่วมกันนั้นมีความน้อยลง


4.Portugal (โปรตุกัล - ประเทศโปรตุเกส) ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีสภาเดียวเรียกว่า Assembleia da Republica (อัสเซมเบลีย ดา เครปูบลิกา - สมัชชาสาธารณรัฐ) มีสมาชิก 230 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละไม่เกิน 4 ปี เป็นการเลือกตั้งระบบพรรค รวมถึงให้มีการเลือกตั้งนอกประเทศและการออกเสียงทางไปรษณีย์ด้วย

 

มี Presidente (เปรซิเดนตี - ประธานาธิบดี) เป็นประมุขของประเทศ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน มีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และยุบสภาของรัฐบาล หากเห็นว่ากระทำผิดรัฐธรรมนูญ กฎหมายทุกฉบับต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี ซึ่งมีสิทธิยับยั้งร่างกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วน Primeiro-ministro (ปริเมย์รู-มินิสตรู - นายกรัฐมนตรี) ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล มาจากผู้นำพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด ตามประเพณีปฏิบัติจะไม่ดำรงตำแหน่งเกิน 2 สมัยติดต่อกัน

 
 

ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ นาย Anibal Cavaco Silva (อานีบัล กาวัสกู ซิลวา) จากพรรค Partido Social Democrata (ปาร์ตีดู โซเซียล เดโมกร๊าตา - พรรคสังคมประชาธิปไตย ย่อว่า "PSD") รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2006 ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนาย Pedro Passos Coelho (เปดรู ปัสซูส โกเอยู) ซึ่งมาจากพรรคเดียวกัน รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2011

 

สถานที่ทำการคือ Palácio Nacional de Belém (ปาล้าเซียว นาเซียวนัล ดี เบเลง - ทำเนียบแห่งชาติเบเลง)


5.Ελλάδα (เอลล้าดา - ประเทศกรีซ) มีการปกครองสาธารณรัฐแบบรัฐสภา หลังจากที่ประชาชนลงมติให้เลิกล้มการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 1974 และวันประกาศอิสรภาพของกรีซคือวันที่ 25 มีนาคม 1821 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของประเทศกรีซประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 1975 แก้ไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง คือ เดือนมีนาคม 1986 และเดือนเมษายน 2001
 

ระบบกฎหมายของกรีซมีพื้นฐานมาจากหลักกฎหมายของโรมัน ประเทศกรีซมี πρόεδρος (โปรเอโดรส - ประธานาธิบดี) เป็นประมุขของรัฐ ซึ่งได้มาจากการเลือกตั้งของรัฐสภา อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีที่ได้มาจากการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรี สมาชิกนิติบัญญัติได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไป อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

 

ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศกรีซคือนาย Κάρολος Παπούλιας (กาโรลอส ปาโปอีเลียส) มาจากพรรค Πανελλήνιο Σοσιαλιστικό Κίνημα (ปาเนลลีเนียว โซเซียลีสตีโก กีนีมา - คณะสังคมนิยมชาวกรีก) ส่วนนายกรัฐมนตรีของประเทศกรีกคือนาย Αντώνης Σαμαράς (อันโตนีส ซามาปาส) มาจากพรรค Νέα Δημοκρατία (เน้อา ดีโมกราเตีย - ประชาธิปไตยใหม่) ส่วนที่ทำการคือ Μέγαρο Μαξίμου (เมกาโร มาซีมู - คฤหาสน์ชั้นสูง)

6.Россия (รัสซียา - ประเทศรัสเซีย) หลังจากวิกฤติทางการเมืองในปี 1993 ประเทศรัสเซียมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชามติในวันที่ 12 ธันวาคม 1993 และเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคมปีเดียวกัน 

 

ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประเทศรัสเซียเป็นสหพันธรัฐซึ่งมี Президент (ปรีซีเดียนต์ - ประธานาธิบดี) เป็นประมุข ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 4 ปี และอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย และมีอำนาจในการเลือก Председатель Правительства (ปรีดซีดาติล ปราวีติลสตวา - นายกรัฐมนตรี) ขึ้นมาเป็นหัวหน้ารัฐบาล และรัฐบาลคือผู้ที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ

 

ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนาย Владимир Путин (วลาดีมีร์ ปูติน) จากพรรค Коммунистическая партия Советского Союза (กอมมูนิสตีเชสกายา ปาร์เตีย ซาเวียตสกาวา ซายูซา - พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต) ซึ่งได้รับการเลือกตั้งในสมัยแรกเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2000 เป็นประธานาธิบดีในสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2004 และสมัยที่ 3 ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2012 

 

และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนาย Дмитрий Медведев (ดมีตรีย์ เมียดวีเดฟ) มาจากพรรค Единая Россия (ยีดินายา รัสซียา - สหภาพรัสเซีย) 
 

ส่วนรัฐสภาของประเทศรัสเซียชื่อ Госуда́рственная ду́ма (กาซูด๊าร์สเตวนนายา ดู๊มา - รัฐสภาดูมา) ตั้งอยู่ที่ Манежная площадь (มาเนียชนายา โปลชีด - จตุรัสมาเนียช) ในกรุง Москва (มาสกว้า - มอสโคว์)

 สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ 

 จอมณรงธร (ตี๋)
สมาชิกชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2557-58
กลุ่ม "Fanclub FS"
13 มิถุนายน 2014






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น