ข้อมูลโดย manager.co.th
1. ระบบการศึกษาของประเทศบราซิล : - การศึกษาก่อนวัยเรียนจะมีเนิร์สเซอรี่สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 3 ปี และโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กวัย 4-6 ปี - การศึกษาพื้นฐานภาคบังคับฟรีสำหรับเด็กอายุ 6-14 ปี หรือการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรืออายุระหว่าง 15-18 ปี ก็ยังฟรีอยู่ แต่ไม่บังคับ - การศึกษาในระดับอุดมศึกษามีให้เลือกทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐบาล และเอกชน นอกจากนั้นยังมีทุนเรียนฟรีในระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐบาลอีกด้วย |
||||||
3. ในประเทศบราซิลมีการสอบวัดระดับเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา “IDEB” หรือ “อีเด็ป” คล้ายกับการสอบ “O-Net” หรือ “โอเน็ต” ในประเทศไทย แตกต่างตรงที่เป็นการประเมินโดยไม่ได้นำไปเทียบเคียงกับคนอื่น เป็นการสู้กับตัวผู้เรียนเอง บราซิลจะมีการจัดระเบียบสำมะโนประชากรเด็กไว้ เพื่อทำเป็นข้อมูลพื้นฐานของเด็กแต่ละคนคล้ายกับการเก็บข้อมูลของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) |
||||||
|
||||||
|
||||||
ซึ่งในปี 2543 บราซิลมีผลทดสอบทักษะการอ่านอยู่ที่ 396 คะแนน, คณิตศาสตร์ 356 คะแนน และวิทยาศาสตร์ 390 คะแนน ในขณะที่ประเทศไทยมีคะแนนการอ่าน 431 คะแนน, คณิตศาสตร์ 432 คะแนน และวิทยาศาสตร์ 436 คะแนน แต่เมื่อผ่านทศวรรษแห่งการปฏิรูปไปแล้ว (2543-2552) ปรากฏว่าในปี 2552 บราซิลขยับคะแนนการอ่านเป็น 412 คะแนน, คณิตศาสตร์เพิ่ม 30 คะแนน เป็น 386 คะแนน และวิทยาศาสตร์ เพิ่ม 15 คะแนน เป็น 405 คะแนนในขณะที่ประเทศไทยกลับลดลงทุกทักษะ จะเห็นได้ ว่าในระยะเวลา 10 ปี บราซิลเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการพัฒนาการศึกษา ทำคะแนนสูงเป็นอันดับหนึ่ง จากประเทศที่เข้าร่วมประเมินทั้งหมด 65 ประเทศ |
||||||
- เฝ้าระวังเป็นพิเศษ บราซิลเป็นประเทศที่มีคดีอาชญากรรมสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้ที่ไปเยือนสามารถเห็นชุมชนแออัดเกิดขึ้นได้ทั่วไป ซึ่งผู้คนในพื้นที่เหล่านี้มีฐานะยากจน ไม่สามารถส่งบุตรหลานเข้าศึกษาได้เต็มที่ แน่นอนว่าเมื่อไม่ได้รับการศึกษา โอกาสในชีวิตก็น้อยลง ผลคือมักจะกลายเป็นอาชญากร ประกอบอาชีพต่างๆ ที่ผิดกฎหมายได้ ดังนั้นทางการบราซิลจึงเฝ้าระวังเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ มีระบบติดตามเก็บข้อมูลการเข้าเรียน-ขาดเรียน ร่วมกับโรงเรียนในท้องที่ เพื่อหาทางสนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนครบหลักสูตร - ให้ความสำคัญกับครูในพื้นที่ยากลำบาก มี การให้เบี้ยเลี้ยง ค่าครองชีพ หรือสวัสดิการพิเศษต่างๆ แก่ครูที่ต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉลี่ยแล้วรัฐบาลบราซิลจะเพิ่มรายได้ให้ครูในพื้นที่เหล่านี้ ตั้งแต่ร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 60 ตามความยากง่ายของปัญหาในแต่ละพื้นที่ ยิ่งเป็นจุดที่มีอุปสรรคมาก ค่าตอบแทนก็จะยิ่งสูงมากไปด้วย เป็นการจูงใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถ เลือกที่จะไปทำงานในพื้นที่เหล่านี้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกันทั้งประเทศ - ช่วยเหลือครอบครัวของเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง บราซิล นั้นมีปัญหาที่ไม่ต่างจากไทย คือครอบครัวระดับรากหญ้า มักจะให้บุตรหลานออกจากโรงเรียนกลางคัน เพื่อให้ไปทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว ยิ่งหากเป็นครอบครัวที่มีลูกหลายคนก็แทบจะหมดโอกาสที่จะได้เรียนในระดับสูงๆ เพราะต้องส่งน้องเรียน เป็นต้น ดังนั้นรัฐบาลบราซิลจึงจัดงบช่วยเหลือแก่ผู้ปกครองกลุ่มนี้ เพื่อให้ไม่ต้องดึงเด็กออกจากโรงเรียน ทำให้เด็กแต่ละคนสามารถศึกษาเล่าเรียน เท่าที่ศักยภาพของเขาจะเป็นไปได้ |
||||||
10. การวัดผลการศึกษาในประเทศบราซิลจะมีหลากหลายระบบแต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ระบบการให้คะแนน เป็นเปอร์เซ็นต์ (0%-100%), ระบบการให้คะแนนเป็นช่วงสเกล 0-10 (“0” หมายถึงต่ำสุด และ “10” หมายถึงสูงสุด) และระบบการให้คะแนนเป็นเกรด มักจะใช้เป็นตัวอักษร A (ดีที่สุด) ไปจนถึง E (แย่ที่สุด) ตัวอย่างระบบการวัดผลของประเทศบราซิล "A" 90%-100% (Excellent) "B" 80%-89% (Very good) "C" 70%-79% (Good) "D" 60%-69% (Satisfactory) "E" < 50% or < 60% (Failing grade)
โดยปกติ
เกรดต่ำสุดที่ผ่านในประเทศบราซิลคือ 5 (หมายถึง 5 จาก 10 / 50% / E )
แต่บางมหาวิทยาลัยจะใช้ 7 หรือ 70% เป็นเกณฑ์เฉลี่ยขั้นต่ำ
ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยมีอิสระในการเลือกระบบการให้คะแนน
Participe do grupo do Facebook "Clube de línguas ocidentais da Universidade deRamkhamhaeng" ao https://www.facebook.com/groups/365756166805480/
สมัครเข้ากลุ่มเฟส "ชมรมภาษาตะวันตกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/365756166805480/ จอมณรงธร (ตี๋) สมาชิกชมรมภาษาตะวันตก ปีการศึกษา 2557-58 กลุ่ม "Fanclub FS"
2 กรกฎาคม 2014
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น