วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

แร้ง ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร

ข้อมูลโดย Wikipedia

นกแร้ง หรือ อีแร้ง อยู่ในกลุ่มนกล่าเหยื่อเช่นเดียวกับ เหยี่ยว อินทรี หรือนกเค้าแมว โดยที่แร้งถือว่าเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้ แต่แร้งจะแตกต่างจากไปนกในกลุ่มนี้คือ จะไม่ล่าเหยื่อหรือกินสัตว์เป็น ๆ แต่จะกินเฉพาะซากสัตว์ที่ตายแล้ว อันเนื่องจากอุ้งเท้าของแร้งนั้นไม่แข็งแรงพอที่จะขย้ำเหยื่อได้ แร้งมีรูปร่างโดยรวมคือ ปีกกว้าง หางสั้น มีคอที่ยาว หัวเล็ก บริเวณต้นคอมีขนสีขาวรอบเหมือนสวมพวงมาลัย มีลักษณะเด่นคือ ขนที่หัวและลำคอแทบไม่มีเลยจนดูเหมือนโล้นเลี่ยน สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะพฤติกรรมการกินซากสัตว์ จึงไม่มีขนเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเพื่อความสะดวกในการในการมุดกินซากด้วย แต่แร้งก็ยังสามาถจับสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า จิ้งจก หรือไข่นกชนิดอื่น กินเป็นอาหารในบางครั้งได้อีกด้วย

 

ภาษาสเปน                                  Buitre (บุ้ยเตระ)
ภาษาโปรตุเกส                           Vulture (วุลตู้รี)
ภาษาอิตาลี                                 Vulture (วุลตู้เหระ)
ภาษาฝรั่งเศส                             Vautour (โวตูครฺ)
ภาษาเยอรมัน                             Geier (ไกเยอร์)
ภาษารัสเซีย                               Стервятник (เซตรียเวียนิก)
ภาษากรีก                                   Γύπας (ยี้ปาส)

 ในวัฒนธรรมและความเชื่อของนกแร้ง 
 
นกแร้งในความเชื่อของมนุษย์ แทบทุกวัฒนธรรมจะถือว่าเป็นนกที่อัปมงคล เพราะพฤติกรรมที่กินซากศพและรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดน่ากลัว ในความเชื่อของคนไทย แร้งเป็นนกที่นำมาซึ่งความอัปมงคลเช่นเดียวกับนกแส เมื่อสมัยอดีต ประเพณีการปลงศพในบางพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญหรือในบางวัฒนธรรม บางครั้งจะทิ้งซากศพไว้กลางแจ้ง มักจะมีแร้งมาเกาะคอยรอกินศพอยู่บริเวณรอบ ๆ นั้นเสมอ ๆ และเมื่อครั้งที่เกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างร้ายแรง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในพระนคร การเผาศพทำไม่ทัน จนต้องมีศพกองสุมกันที่วัดสระเกศ มีแร้งลงมาจิกกินเป็นที่น่าสังเวชแก่ผู้พบเห็น จนมีคำกล่าวว่า "แร้งวัดสระเกศ" คู่กับ "เปรตวัดสุทัศน์


แต่ในบางวัฒนธรรม แร้งก็มีความหมายที่แตกต่างออกไป เช่น ในสมัยอียิปต์โบราณ อักษรเฮียโรกริฟฟิกที่เป็นอักษรภาพตัวหนึ่ง (ในภาพ) หมายถึง "แม่" ในวัฒนธรรมของทิเบต มีพิธีศพที่เรียกว่า "การฝังศพกับฟากฟ้า" ที่ญาติผู้ตายจะให้สัปเหร่อนำร่างผู้ตาย ไม่ใส่โลง ไม่ใส่เสื้อผ้า ทำพิธีสวดมนต์ส่งวิญญาณ ก่อนที่สัปเหร่อจะหามร่างของผู้ตายขึ้นไปบนภูเขาสูง พร้อมใช้มีดแล่เนื้อของผู้ตายเป็นชิ้น ๆ แล้วให้แร้งกิน เชื่อว่าแร้งจะเป็นผู้นำทางวิญญาณผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์

ปัจจุบัน แร้งแทบทุกชนิดตกอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์และหายาก เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ประเพณีการปลงศพก็ไม่ได้ทำอย่างในอดีต ทำให้แร้งจำนวนหนึ่งต้องตายลงเนื่องจากไม่มีอาหารกิน และในอนุทวีปอินเดีย แร้งหลายตัวต้องตายลงเนื่องจากไปกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ


จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
4 มีนาคม 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น