วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

เหยี่ยว ภาษาตะวันตก พูดว่าอย่างไร

ข้อมูลโดย Wikipedia และ oknation.net

เหยี่ยว มีลักษณะคล้ายกับนกอินทรี ซึ่งเป็นนกล่าเหยื่อเช่นเดียวกัน แต่เหยี่ยวมีขนาดเล็กกว่า คือมีจะงอยปากที่งองุ้ม มีกรงเล็บที่แหลมคมและแข็งแรง บินได้อย่างรวดเร็ว กางปีกได้กว้างและยาว สามารถบินหรือเหินได้สูง และมีสายตาที่ดีมาก อาหารโดยทั่วไปของเหยี่ยว คือ สัตว์ขนาดเล็กกว่าต่าง ๆ เช่น สัตว์ฟันแทะ , สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่าง ๆ , สัตว์เลื้อยคลาน , สัตว์น้ำ เช่น ปลา หรือกุ้ง หรือแม้แต่สัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ เช่น กวาง เป็นต้น จากความที่เป็นนกล่าเหยื่อ และมีขนาดลำตัวที่ไม่ใหญ่นัก เหยี่ยวจึงถูกมนุษย์ใช้เลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงมาแล้วนานกว่า 2,000 ปี เพื่อใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น  ล่าสัตว์ , เพื่อความเพลิดเพลิน หรือแม้แต่ใช้ในการไล่นกชนิดอื่น ๆ ในสนามบินหรือชุมชนเมืองบางแห่ง

ภาษาสเปน                           Halcón (อัลก้อน)
ภาษาโปรตุเกส                    Falcão (ฟัลกาว)
ภาษาอิตาลี                          Falco (ฟั้ลโกะ)
ภาษาฝรั่งเศส                      Faucon (โฟกง)
ภาษาเยอรมัน                      Falke (ฟัลเค่อ)
ภาษารัสเซีย                        Ястреб (ยาสเตร็บ)
ภาษากรีก                            Γεράκι (เยร้ากิ)


เปิดกะลาสนทนา : "เหยี่ยวนักล่า" เป็นสัตว์เลี้ยงเหมือน "หมา-แมว" จริงหรือ ???
 

       ก่อนจะเปิดกะลาพูดถึงเหยี่ยวนักล่า ว่า เป็นนกเลี้ยงเหมือนหมาเหมือนแมว หรือไม่ อย่างไร ลองมาพิจารณาถึงสถานภาพและสวัสดิภาพของนกล่าเหยื่อในปัจจุบันกันก่อนว่า อยู่ดีกินดี หรือตกทุกข์ได้ยากประการใด
เหยี่ยวแดง (Brahminy Kite)
       หนังสือ "คู่มือเหยี่ยวและนกอินทรีในประเทศไทย (A Photographic Guide to the Raptors of Thailand)" โดยไชยยันต์ เกษรดอกบัว ชัยวัฒน์ ชินอุปราวัฒน์และชูเกียรติ นวลศรี ระบุว่า นกล่าเหยื่อ (Raptors) เช่น เหยี่ยว นกอินทรี และอีแร้ง มีรายงานการพบในประเทศไทยอย่างเป็นทางการจำนวน 55 ชนิด ทั้งที่มีสถานภาพเป็นนกอพยพและนกประจำถิ่น
       จัดแบ่งกลุ่มตามสถานภาพการอยู่อาศัยในประเทศไทย
        1. ชนิดอพยพ (Migratory species) รวมถึงชนิดที่พลัดหลงเข้ามานาน ๆ ครั้ง (vagrant)
        2. ชนิกประจำถิ่น (Resident species)
        3. เหยี่ยวที่มีสถานสภาพเป็นทั้งเหยี่ยวอพยพและประจำถิ่น แล้วแต่ชนิดย่อยหรือประชากรในแต่ละพื้นที่หรือภูมิภาค เช่น เหยี่ยวนกเขาชิครา และเหยี่ยวรุ้ง เป็นเหยี่ยวประจำถิ่น แต่ประชากรนกบางส่วน(คาดว่าในภาคใต้ของจีนและภาคเหนือของไทย ) อพยพลงไปอาศัยช่วงฤดูหนาวที่ภาคใต้ และคาบสมุทรมลายู ซึ่งยืนยันจากการอพยพผ่านจุดนับเหยี่ยวอพยพ ณ จุดนับเหยี่ยวอพยพที่เขาเรดาห์ จังหวักประจวบคีรีขันธ์
เหยี่ยวรุ้ง (Crested Serpent Eagle)
       สถานภาพด้านการอนุรักษ์ระดับโลก ของนกล่าเหยื่อแต่ละชนิด เพื่อชี้ให้เห็นถึงสภาวะถูกคุกคาม และอาจนำไปสู่การสูญพันธุ์ในอนาคต หากไม่มีมาตรการแก้ไขและป้องกันที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ เป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ด้วยการจัดลำดับความสำคัญของนกล่า เหยื่อที่มีสถานภาพถูกคุกคามเป็นลำดับขั้นเรียงจากความเสี่ยงต่อการสูญ พันธุ์ต่ำไปสูง ...
       1. น่าเป็นห่วงน้อยที่สุด (Least Concern ,LC)  เนื่องจากประชากรของนกยังมีอยู่จำนวนหนึ่งในถิ่นอาศัยที่เหมาะสม แต่อาจจะถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องจากการถูกล่า หรือพื้นที่สำหรับทำรังวางไข่ถูกทำลาย แม้ว่าในระดับโลก นกล่าเหยื่อนบางชนิดจัดอยู่ในสถานภาพระดับโลกว่าน่าเป็นห่วงน้อยที่สุด
       แต่ในระดับภูมิภาคที่มีการล่า การลักลอบจับมาเลี้ยงในกรงขังด้วยการซื้อ-ขายอย่างผิดกฎหมาย อาจจะมีอยู่มากและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสถานภาพของประชากรชนิดนั้นให้เสี่ยง ต่อการสูญพันธุ์ในขั้นที่สูงกว่า จึงควรมีการเฝ้าติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และรณรงค์เพื่อป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
       2. ใกล้ถูกคุกคาม (Near -Threatened ,NT)  มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากมีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัดในถิ่นอาศัยปกติ เช่น ถูกล่า หรือถิ่นอาศัยในฤดูผสมพันธุ์ลดน้อยลง
       3. มีแนวโน้มจะสูญพันธุ์ (Vulnerable, VU)  มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกคุกคามในธรรมชาติในอนาคต
       4. ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered, EN)  มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้
       5. ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered,CR)  มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ภานในระยะเวลาไม่กี่ปี หากไม่มีการดำเนินการอนุรักษ์ใด ๆ เพื่อแก้ไขหรือป้องกันภาวะคุกคาม
       6. สูญพันธุ์แล้ว (Extinct, EX)  ไม่มีรายงานการพบในถิ่นอาศัยและมีหลักฐานยืนยันว่านกตัวสุดท้ายตายไปจากธรรมชาติแล้ว
เหยี่ยวดำหูดำ (Black-eared Kite)
       เหยี่ยว นกอินทรี และอีแร้ง ทุกชนิดในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามมีเลี้ยงไว้ในครอบครองส่วนบุคคล การซื้อเหยี่ยวหรือนกล่าเหยื่อชนิดอื่น ๆมาเลี้ยงไว้ในกรงขัง "เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕"
       และ "ยังเป็นการส่งเสริมขบวนการลักลอกจับและขายสัตว์ป่าให้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง"
        ดังนั้น ประชาชนคนไทย รวมทั้งนกดูนกและนักนิยมธรรมชาติไม่ควรส่งเสริมการลักลอบซื้อขายนกล่าเหยื่อหรือนกในธรรมชาติ
นกอินทรีปีกลาย (Greater Spotted Eagle) ; วัยเด็ก
# เหยี่ยวเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนหมาเหมือนแมว จริงหรือ ???
       ตั้งแต่ครั้งอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เหยี่ยวนักล่าถูกระบุสถานภาพว่าเป็นสัตว์ป่าในธรรมชาติ เกือบทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ประชากรเหยี่ยวในธรรมชาติทั่วโลกถูกคุกคามอย่างหนัก จนหลายชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากปัญหาหลักๆ ได้แก่ ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกทำลาย และถูกคนจับจากป่าธรรมชาติมาขายในเมือง
       ส่วนหมาและแมวเมื่อก่อนเป็นสัตว์ป่า แต่ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงอย่างยาวนาน มีการปรับปรุงสายพันธุ์ จนสิ้น "สภาพสัตว์ป่า" กลายเป็น "สัตว์เลี้ยง"
       ในเมืองไทย การเลี้ยงเหยี่ยวนอกจากมีใบอนุญาตเพื่อเพาะพันธุ์หรือวิจัยแล้ว ร้อยทั้งร้อยเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากเป็นนกที่ถูกลักลอบจับมาจากป่าแทบทั้งสิ้น ถือเป็นการทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติด้วย
       ส่วนที่บอกว่า ไม่ผิดกฎหมาย เพราะ เป็นเหยี่ยวนำเข้าจากต่างประเทศ กฎหมายไซเตสอนุญาตให้เลี้ยงได้ ก็อยากจะตั้งคำถามกลับว่า รู้ได้อย่างไรว่าเหยี่ยวที่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศไม่ใช่เหยี่ยวที่ตกเป็น เหยื่อขบวนการค้าสัตว์ป่า
       แล้วรู้หรือไม่ว่า ในต่างประเทศ มีการวิจารณ์กฎหมายไซเตสว่า เปิดช่องให้มีการลักลอบค้าสัตว์ป่ามากขึ้น !!!
       เหยี่ยวนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงมาก บางชนิดเป็นแสนเป็นล้านบาท หากว่ากิจกรรมการเลี้ยงเหยี่ยวขยายตัวออกไป แน่นอนว่า เหยี่ยวจากธรรมชาติจะถูกจับมาขายมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นแล้ว มิใช่หรือ ???
เหยี่ยวนกเขาชิครา (Shikra); วัยเด็ก
       ต่างประเทศก็เลี้ยงเหยี่ยวกัน ทำไมเมืองไทยทำบ้างไม่ได้ ??? ถ้าคิดได้แค่นี้ คำตอบก็ง่ายมากครับ ให้ย้ายบ้านไปอยู่ในประเทศที่อนุญาตให้ซื้อ-ขายเหยี่ยวมาเลี้ยง เลี้ยงกันอย่างเปิดเผย ไม่ต้องมาทำลับ ๆ ล่อ ๆ หลบ ๆ ซ่อน ทรมานสัตว์มันเปล่า ๆ
       ถ้ายังไม่เข้าใจอีกให้กลับไปอ่านประโยคด้านบนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย !!!
       การเลี้ยงสัตว์ป่า ยังเป็นการทรมานสัตว์ และเป็นการทำบาป ลองนึกดูว่า หากคุณถูกจับขังกรงแล้วป้อนข้าวป้อนน้ำ จะรู้สึกอย่างไร สัตว์ป่าก็มีหัวใจไม่ต่างกับคน เพียงแต่พูดภาษาคนไม่ได้เท่านั้น
       หากหัวใจไม่ถูกบดบังด้วยโลภ โกรธ หลง ก็คงพอจะเข้าใจว่า การเลี้ยงเหยี่ยวมันต่างไปจากการเลี้ยงและหมาเลี้ยงแมว ตรงไหนบ้าง !!!

จอมณรงธร (ตี๋)
ประธานชมรมภาษาตะวันตก
ปีการศึกษา 2555-56
กลุ่ม "รวมบาป"
5 มีนาคม 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น